พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473-474/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ตะเคียนสามพอนจัดเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง
แม้ตามบัญชีใน พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม 2497 มาตรา4 จะได้ระบุชื่อไม้ตะเคียนของจังหวัดสตูลไว้โดยไม่มีชื่อไม้ตะเคียนสามพอนก็ดี ก็ยังถือว่า ไม้ตะเคียนสามพอนอยู่ในประเภทไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ ตามบัญชีอันดับ 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและแปรรูปไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ไม้ต้องถูกริบ
ไม้ที่ทำการแปรรูปเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นของต้องริบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปจากการกระทำผิดป่าไม้เป็นของต้องริบตามกฎหมาย
ไม้ที่ทำการแปรรูปเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นของต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความครบถ้วนของฟ้องอาญาคดีป่าไม้: ไม่จำเป็นต้องบรรยายข้อยกเว้นโทษ หากบรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดไว้ครบถ้วนแล้ว ตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง คือบรรยายได้ความว่าในเขตควบคุมการแปรรูปไม้จำเลยได้แปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปเกิน 0.20 เมตรลูกบาศก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งครบถ้วนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 ม.48 แล้ว ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึง ม.50 อันเป็นข้อยกเว้นไว้ด้วยว่า ไม้แปรรูปนั้นแปรรูปมาจากไม้แปรรูปหรือไม้ซุงไม้ท่อน เพราะมิใช่องค์เกณฑ์ของความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาคดีป่าไม้: ไม่ต้องบรรยายข้อยกเว้นโทษหากบรรยายองค์เกณฑ์ความผิดครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดไว้ครบถ้วนแล้ว ตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง คือบรรยายได้ความว่าในเขตควบคุมการแปรรูปไม้จำเลยได้แปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปเกิน 0.20 เมตรลูกบาศก์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งครบถ้วนเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัตป่าไม้ 2484 มาตรา 48 แล้ว ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึง มาตรา 50 อันเป็นข้อยกเว้นไว้ด้วยว่า ไม้แปรรูปนั้นแปรรูปมาจากไม้แปรรูปหรือไม้ซุงไม้ท่อน เพราะมิใช่องค์เกณฑ์ของความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749-750/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีป่าไม้และการขาดลายมือชื่อผู้เรียงฟ้องส่งผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยให้วางโทษทั้งจำคุกและปรับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเพียงเล็กน้อยในข้อให้ลดโทษฐานปราณีตาม กฎหมายอาญา มาตรา 59 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ โจทก์มิได้อ้าง พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 69,73 คงอ้างมาแต่ พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2494 มาตรา16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69,73 ได้ถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16,17 แล้ว เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง มาตรา 69 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริงจึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้วแต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ1 บาท คืนให้จำเลยนั้นกรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษาเมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเพียงเล็กน้อยในข้อให้ลดโทษฐานปราณีตาม กฎหมายอาญา มาตรา 59 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ โจทก์มิได้อ้าง พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 69,73 คงอ้างมาแต่ พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2494 มาตรา16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69,73 ได้ถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16,17 แล้ว เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง มาตรา 69 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริงจึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้วแต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ1 บาท คืนให้จำเลยนั้นกรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษาเมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749-750/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์-ขาดลายมือชื่อผู้เรียง-บทลงโทษไม้หวงห้าม-ศาลฎีกายกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยให้วางโทษฐานปาณีตาม ก.ม.อาญา ม.59 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ ๆ มิได้อ้าง พ.ร.บ.ป่ไม้ พ.ศ.2484 ม.69,73 คงอ้างมาแต่ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราใน ก.ม.ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม.69,73 ได้ถูกยกเลิกตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.16,17 แล้วเมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง ม.69 และ 73 แห่งพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรรณ์ตาม ป.วิ.อาญา ม.158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ก.ม.หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อ ก.ม.ที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริง จึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ 1 บาท คืนให้จำเลยนั้น กรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษา เมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ๆ จึงไม่วินิจฉัยให้.
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ ๆ มิได้อ้าง พ.ร.บ.ป่ไม้ พ.ศ.2484 ม.69,73 คงอ้างมาแต่ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราใน ก.ม.ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม.69,73 ได้ถูกยกเลิกตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.16,17 แล้วเมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง ม.69 และ 73 แห่งพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรรณ์ตาม ป.วิ.อาญา ม.158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ก.ม.หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อ ก.ม.ที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริง จึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ 1 บาท คืนให้จำเลยนั้น กรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษา เมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ๆ จึงไม่วินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปยังไม่ประกอบเป็นสิ่งก่อสร้าง: เจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ไม้ที่ตีทำนอง เป็นฝาแต่ตีผิดธรรมดา กล่าวคือตีตะปูหัวกระดานและท้ายกระดานข้างละ 1 ตัวไม้ที่ตีก็เหลื่อมยาวออกนอกเสาข้างละศอกเศษ บางด้านทำเป็นฝาซ้อน ฝาก็ตีไม่ชิดหรือซ้อนกัน(ทับเกล็ด) ตีห่างเป็นช่องเล็กบ้างใหญ่บ้างไม่เท่ากันทั้งเป็นไม้ที่ยังใหม่และยังไม่ไสกบเช่นนี้เป็นการกระทำขึ้นชั่วคราวไม่มีเจตนาจะประกอบเป็นสิ่งก่อสร้างจริงจังแต่อย่างใดหากแต่ทำพรางไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมายจะฟังว่าเป็นไม้ที่ประกอบอยู่เป็นสิ่งก่อสร้างยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้โจทก์อ้างมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษตามมาตราที่ถูกต้องได้
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้น โจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองเกินกว่า 0.20 เมตรลูกบาศก์ โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ม. 48,71 ไม่ได้อ้าง ม.73 มาดังนี้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์อ้างมาตราผิดไป ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ม. 73 อันเป็นฐานความผิดที่ถูกได้.
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองเกินกว่า 0.20 เมตรลูกบาศก์ โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ม. 48,71 ไม่ได้อ้าง ม.73 มาดังนี้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์อ้างมาตราผิดไป ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ม. 73 อันเป็นฐานความผิดที่ถูกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้โจทก์ฟ้องผิดมาตรา
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้น โจทก์สืบสมแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองเกินกว่า 0.20เมตรลูกบาศก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตแต่โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48,71 ไม่ได้อ้าง มาตรา 73 มาดังนี้เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์อ้างมาตราผิดไป ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม มาตรา73 อันเป็นฐานความผิดที่ถูกได้(เนื้อฎีกาที่ 1285/92)
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองเกินกว่า 0.20เมตรลูกบาศก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตแต่โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48,71 ไม่ได้อ้าง มาตรา 73 มาดังนี้เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์อ้างมาตราผิดไป ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม มาตรา73 อันเป็นฐานความผิดที่ถูกได้(เนื้อฎีกาที่ 1285/92)