พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากมีการสมรสก่อนและไม่จดทะเบียนหย่า แม้ทะเบียนสมรสไม่มีตรานายทะเบียนก็ไม่เป็นเหตุให้โมฆะ
แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียน ก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะไม่ เพราะ พ.ร.บ.การจดทะเบียนครอบครัวฯ กำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้มีบทบัญญัติว่าต้องประทับตรานายทะเบียนแต่อย่างใด เมื่อจำเลยและ ก. จดทะเบียนสมรสในปี 2534 ขณะที่โจทก์และ ก. จดทะเบียนสมรสอยู่ก่อนแล้ว และยังมิได้มีการจดทะเบียนหย่า การสมรสระหว่างจำเลยกับ ก. จึงตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของคู่สมรส และความสมบูรณ์ของเอกสารมหาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม (แก้ไขใหม่มาตรา 1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้นไม่ได้บังคับว่าคู่สมรสจะต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบันทึกด้านหลัง ค.ร.13 ตามคำร้องให้ความยินยอมของคู่สมรสไว้ว่าคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอมแล้วการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารมหาชน เมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3306/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อจดทะเบียนสมรสและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมีชื่อว่า นายกีเหวี้ยน แต่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนสมรสว่าโจทก์ชื่อนายสง่า แสงจันทร์โดยมีเจตนาจะให้เจ้าพนักงานและบุคคลทั่วไปหลงผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีสัญชาติไทยอันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้โจทก์จะขอให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแก้ไขทะเบียนสมรสว่าโจทก์ชื่อนายกีเหวี้ยนย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3306/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อจดทะเบียนสมรส และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมีชื่อว่า นายกี เหวี้ยน แต่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนสมรสว่าโจทก์ชื่อนายสง่า แสงจันทร์ โดยมีเจตนาจะให้เจ้าพนักงานและบุคคลทั่วไปหลงผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีสัญชาติไทยอันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ดังนี้โจทก์จะขอให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแก้ไขทะเบียนสมรสว่าโจทก์ชื่อนายกี เหวี้ยน ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3306/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อจดทะเบียนสมรสและใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมีชื่อ ว่านายกีเหวี้ยน แต่โจทก์แจ้งต่อพนักงานผู้จดทะเบียนสมรสว่าโจทก์ชื่อ นายสง่า แสงจันทร์ โดยมีเจตนาจะให้เจ้าพนักงานและบุคคลทั่วไปหลงผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีสัญชาติไทยอันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ โจทก์จะขอให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแก้ไขทะเบียนสมรสว่าโจทก์ชื่อ นายกีเหวี้ยน ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายทะเบียนต้องรับจดทะเบียนสมรสหากไม่ขัดเงื่อนไขตามกฎหมาย แม้หญิงต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว
เมื่อมีการร้องขอให้จดทะเบียนสมรส นายทะเบียนต้องจดทะเบียนสมรสให้ตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 10จะไม่รับจดทะเบียนต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ตาม มาตรา 13 เฉพาะในกรณีที่การสมรสมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ถึง 1454 เท่านั้นจะนำคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยที่ห้ามจดทะเบียนสมรสให้คนไทยกับหญิงต่างด้าวที่ยังไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปอย่างเช่นกฎหมายหาไม่ได้
ผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว ฮ.คนญวนอพยพและไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ผู้คัดค้านซึ่งเป็นนายทะเบียนครอบครัวต้องรับจดทะเบียนสมรสให้ จะอ้างคำสั่งกระทรวงมหาดไทยไม่รับจดทะเบียนไม่ได้
ผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว ฮ.คนญวนอพยพและไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ผู้คัดค้านซึ่งเป็นนายทะเบียนครอบครัวต้องรับจดทะเบียนสมรสให้ จะอ้างคำสั่งกระทรวงมหาดไทยไม่รับจดทะเบียนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรส: หน้าที่การนำสืบข้อเท็จจริงเรื่องคู่สมรสเดิมของผู้ร้อง
ผู้ร้องขอให้จดทะเบียนสมรส เท่ากับอ้างว่าขณะนี้ต่างไม่มีคู่สมรสนายอำเภอคัดค้านปฏิเสธว่าผู้ร้องต่างมีคู่สมรสอยู่ผิดเงื่อนไขการสมรสในรายงานกระบวนพิจารณาผู้คัดค้านแถลงว่าผู้คัดค้านไม่ทราบว่าผู้ร้องมีคู่สมรสอยู่หรือไม่ ต่างไม่สืบพยาน ดังนี้ ผู้คัดค้านมิได้รับข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องต่างไม่มีคู่สมรส และมิได้ตกลงสละประเด็นข้อนี้ ผู้ร้องยังมีหน้าที่นำสืบอยู่เมื่อผู้ร้องไม่สืบพยานผู้ร้องต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดจากการเป็นสามีภริยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย: การแยกอยู่และการส่งเงินให้ใช้จ่าย
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย การที่หญิงชายจะขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ก็ด้วยการหย่าตามพิธีการ หรือมีพฤติการณ์ต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ฉะนั้น การที่ภริยาเพียงแต่แยกออกไปอยู่กับบิดามารดา แต่สามียังไปมาหาสู่ ทั้งยังส่งเงินให้ใช้จ่ายตลอดมานั้น ยังหาถือว่าได้ขาดจากการเป็นสามีภริยากันไม่ ภริยาจึงยังมีสิทธิรับบำนาญตกทอดของสามีด้วย
คำว่า "ร้าง" แปลว่าทอดทิ้งไว้ หรือ ไปจากเมื่อเอามาผสมกับคำว่า "เลิก" แล้ว ความหมายในเรื่องผัวเมียก็แปลได้ว่า ไม่ได้อยู่ร่วมกันหรือทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไว้เท่านั้น ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย การทิ้งเมียร้างไว้ยังไม่ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ยังจะต้องมีพฤติการณ์อย่างอื่นประกอบอีก
คำว่า "ร้าง" แปลว่าทอดทิ้งไว้ หรือ ไปจากเมื่อเอามาผสมกับคำว่า "เลิก" แล้ว ความหมายในเรื่องผัวเมียก็แปลได้ว่า ไม่ได้อยู่ร่วมกันหรือทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไว้เท่านั้น ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย การทิ้งเมียร้างไว้ยังไม่ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ยังจะต้องมีพฤติการณ์อย่างอื่นประกอบอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกอยู่กับสามีและการรับบำนาญตกทอด: การแยกกันอยู่ไม่ถือเป็นการขาดจากความเป็นสามีภริยา
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย การที่หญิงชายจะขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ก็ด้วยการหย่าตามพิธีการ หรือมีพฤติการณ์ต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ฉะนั้น การที่ภริยาเพียงแต่แยกออกไปอยู่กับบิดามารดา แต่สามียังไปมาหาสู่ ทั้งยังส่งเงินให้ใช้จ่ายตลอดมานั้น ยังหาถือว่าได้ขาดจากการเป็นสามีภริยากันไม่ภริยาจึงยังมีสิทธิรับบำนาญตกทอดของสามีด้วย
คำว่า "ร้าง" แปลว่าทอดทิ้งไว้ หรือ ไปจากเมื่อเอามาผสมกับคำว่า "เลิก" แล้ว ความหมายในเรื่องผัวเมียก็แปลได้ว่า ไม่ได้อยู่ร่วมกันหรือทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไว้เท่านั้น ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียการทิ้งเมียร้างไว้ยังไม่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันยังจะต้องมีพฤติการณ์อย่างอื่นประกอบอีก
คำว่า "ร้าง" แปลว่าทอดทิ้งไว้ หรือ ไปจากเมื่อเอามาผสมกับคำว่า "เลิก" แล้ว ความหมายในเรื่องผัวเมียก็แปลได้ว่า ไม่ได้อยู่ร่วมกันหรือทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไว้เท่านั้น ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียการทิ้งเมียร้างไว้ยังไม่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันยังจะต้องมีพฤติการณ์อย่างอื่นประกอบอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายอำเภอจดทะเบียนสมรส และข้อยกเว้นตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
นายอำเภอมีหน้าที่จดทะเบียนสมรสให้แก่คู่สมรสตามที่เขาร้องขอตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 นายอำเภอจะอ้างเหตุขัดข้อง ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยโดยที่คำสั่งกระทรวงมหาดไทยนั้นมิได้อาศัยอำนาจตามบทกฎหมายนั้นไม่ได้