คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,754 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: ระเบียบข้อบังคับนายจ้างต้องไม่ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ให้ความคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างโดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้... (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว... การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย 3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้น กลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นได้ให้ความคุ้มครองไว้ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากกว่ากฎหมายแรงงาน ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง โดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้นกลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้ความคุ้มครองไว้ ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความระเบียบกองทุนเงินสะสม: สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างลดคน และดุลพินิจนายจ้างในการจ่ายเงินสมทบ
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า ส่วนที่จะได้รับจากบริษัทพนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข"เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินสมทบกองทุนจากนายจ้างเมื่อออกจากงาน ลดคน, ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต: ดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า "ส่วนที่จะได้รับจากบริษัท พนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน 2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข" เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม แม้โรงเรียนมีเจ้าของเดียวกัน การย้ายสถานที่ไม่ใช่การปฏิบัติตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อความว่า "จำเลยยินยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิม อัตราค่าจ้างเดิม และสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม โดยให้นับอายุการทำงานต่อเนื่องจากเดิม โดยจำเลยจะให้โจทก์เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป" ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. ตำแหน่งหน้าที่เดิมที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น คือตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้เป็นครูสอนที่โรงเรียน ท. ซึ่งเป็นคนละโรงเรียนกันกับโรงเรียน ส. หาได้ไม่ แม้โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้จะมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน ใช้ระบบเดียวกัน และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนครูกันอยู่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม แม้มีการโยกย้ายระหว่างโรงเรียน
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อความว่า"จำเลยยินยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมอัตราค่าจ้างเดิม และสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม โดยให้นับอายุการทำงานต่อเนื่องจากเดิม โดยจำเลยจะให้โจทก์เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป" ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. ตำแหน่งหน้าที่เดิมที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น คือตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้เป็นครูสอนที่โรงเรียน ท. ซึ่งเป็นคนละโรงเรียนกันกับโรงเรียน ส. หาได้ไม่แม้โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้จะมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน ใช้ระบบเดียวกัน และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนครูกันอยู่ก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยยังต้องจ่าย แม้มีระเบียบเลิกจ้างได้ เหตุเจ็บป่วยไม่ใช่ความผิด
แม้มีระเบียบของจำเลยให้อำนาจจำเลยปลดลูกจ้างที่ลาป่วยเกินระยะเวลาที่กำหนดออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างดังกล่าวได้เท่านั้นดังนี้การที่ พ. ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของ พ.จึงถือไม่ได้ว่าพ. กระทำการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งของจำเลย แม้จำเลยเลิกจ้าง พ. โดยมีหนังสือตักเตือนก่อนแล้วก็ตาม จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ พ. เมื่อเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ให้ความหมายของ "ค่าชดเชย" ไว้ว่า เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง(บำเหน็จ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ พ. ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้นมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณตามที่ระบุในระเบียบ กำหนดให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และมิได้ออกจากงานเพราะกระทำผิดหรือเหตุอื่น ๆ ที่ระบุในระเบียบดังนี้การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง จึงมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณแตกต่างจากค่าชดเชยและถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียม: ค่าเลนส์เป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานทอผ้ากรุงเทพ ประจำปี 2531 ระบุว่า "ในกรณีที่พนักงานเจ็บป่วยเป็นโรค หรือต้องทำการผ่าตัดโดยเข้าเป็นคนไข้ในโรงพยาบาลของรัฐ ให้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้... ฯลฯดังนั้น เมื่อโจทก์ป่วยเป็นต้อกระจกที่ตาข้างขวาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแพทย์ต้องผ่าตัดเอาเลนส์ แก้วตาที่ขุ่นมัว ออก แล้วใส่เลนส์ แก้วตาเทียมให้แทนเพื่อให้ดวงตาผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ดังเดิมค่าเลนส์ แก้วตาเทียมจึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล: ค่าเลนส์แก้วตาเทียมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาลตามข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานทอผ้ากรุงเทพ ประจำปี 2531 ระบุว่า "ในกรณีที่พนักงานเจ็บป่วยเป็นโรค หรือต้องทำการผ่าตัดโดยเข้าเป็นคนไข้ในโรงพยาบาลของรัฐ ให้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้... ฯลฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ป่วยเป็นต้อกระจกที่ตาข้างขวาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแพทย์ต้องผ่าตัดเอาเลนส์แก้วตาที่ขุ่นมัวออก แล้วใส่เลนส์ แก้วตาเทียมให้แทนเพื่อให้ดวงตาผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ดังเดิม ค่าเลนส์แก้วตาเทียมจึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจ้าง: การคืนเงินประกันเมื่อลาออกระหว่างทดลองงาน ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4 มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4, 5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้
การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่
of 176