คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,754 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำโดยมีเหตุอันสมควรจากความประมาทเลินเล่อ และสิทธิในการได้รับโบนัส
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ไม่ว่าการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนั้นจะต้องด้วยระเบียบว่าด้วยวินัยส่วนใดและมีโทษเป็นประการใดจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีระเบียบการจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างที่มีความดีความชอบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นประโยชน์แก่จำเลย ไม่เป็นผู้ที่ได้รับการลงโทษจากจำเลยไม่ว่าสถานใดสถานหนึ่ง เมื่อโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยสูญหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับโบนัสตามระเบียบ และการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวในระหว่างวันที่21-25 กุมภาพันธ์ 2529 แต่จำเลยเพิ่งออกคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530 เพราะต้องใช้เวลาสอบสวนความจริง ก็ถือได้ว่าโจทก์ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยระหว่างวันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ 2529 โจทก์จึงเป็นผู้ได้รับโทษจากจำเลยตามระเบียบการจ่ายโบนัสดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์กระทำผิด นับแต่นั้นมาจำเลยย่อมไม่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหาย และสิทธิในการรับโบนัส
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ไม่ว่าการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนั้นจะต้องด้วยระเบียบว่าด้วยวินัยส่วนใดและมีโทษเป็นประการใดจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีระเบียบการจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างที่มีความดีความชอบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นประโยชน์แก่จำเลย ไม่เป็นผู้ที่ได้รับการลงโทษจากจำเลยไม่ว่าสถานใดสถานหนึ่ง เมื่อโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยสูญหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับโบนัสตามระเบียบ และการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวในระหว่างวันที่ 21 - 25 กุมภาพันธ์ 2529 แต่จำเลยเพิ่งออกคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530 เพราะต้องใช้เวลาสอบสวนความจริง ก็ถือได้ว่าโจทก์ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยระหว่างวันที่ 21 - 25 กุมภาพันธ์ 2529 โจทก์จึงเป็นผู้ได้รับโทษจากจำเลยตามระเบียบการจ่ายโบนัสดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์กระทำผิด นับแต่นั้นมาจำเลยย่อมไม่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการจ้างและภาษีเงินได้: จำเลยต้องจ่ายเต็มจำนวนตามสัญญา แม้โจทก์ต้องเสียภาษี
ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่โจทก์แม้โจทก์จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดให้จำเลยต้องออกภาษีเงินได้นั้นแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินดังกล่าวเต็มจำนวนโดยไม่หักภาษีเงินได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างกำหนดให้จำเลยออกภาษีให้โจทก์ แม้โจทก์ต้องเสียภาษีเอง ก็ต้องจ่ายเต็มจำนวน
ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่โจทก์แม้โจทก์จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดให้จำเลยต้องออกภาษีเงินได้นั้นแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินดังกล่าวเต็มจำนวนโดยไม่หักภาษีเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการจ่ายโบนัสพิเศษของนายจ้างตามระเบียบและข้อตกลง สิทธิลูกจ้างขึ้นอยู่กับเกณฑ์ประเมินผล
โบนัสพิเศษเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจะจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็แล้วแต่นายจ้างจะกำหนดหรือตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างโจทก์ได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสพิเศษไว้ในระเบียบว่าด้วยการจ่ายเบี้ยกรรมการและโบนัส ข้อ 10 ว่า 'การจ่ายเงินโบนัสสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้มีความชอบพิเศษ ฯลฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้พิจารณาจ่ายให้สำหรับผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา ส่วนที่เหลือให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา (จำเลยที่ 2) เป็นผู้พิจารณาจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ชั้นรองลงมาตามที่เห็นสมควร โดยอนุมัติคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภา ฯลฯ' ซึ่งตามระเบียบดังกล่าว การจ่ายโบนัสพิเศษให้โจทก์เป็นอำนาจของจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ผลการปฏิบัติงานของโจทก์อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปานกลางและจำเลยที่ 2 เห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับโบนัสพิเศษโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาโดยชอบด้วยระเบียบดังกล่าว จึงหาใช่จำเลยที่ 2 กระทำตามอำเภอใจโดยไม่ได้กระทำตามกรอบข้อบังคับที่วางไว้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระเบียบสหกรณ์จ่ายเงินบำเหน็จทดแทนค่าชดเชยได้ และการใช้ดุลพินิจไม่จ่ายโบนัสเมื่อเลิกจ้างเพราะผิดวินัย
ระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างของจำเลยกำหนดว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ หากลูกจ้างผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จซึ่งมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชย จึงให้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่สูงกว่าค่าชดเชยเท่านั้น โดยลูกจ้างผู้นั้นยังคงได้รับเงินค่าชดเชยเต็มจำนวนตามสิทธิของตนที่พึงได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อยู่นั่นเอง ระเบียบดังกล่าวจึงหาได้หลีกเลี่ยงที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย หรือ ขัดต่อกฎหมายแรงงาน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็แล้วแต่นายจ้างจะกำหนด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะกระทำผิดวินัยจำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจตามระเบียบที่จะใช้ดุลพินิจไม่จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานและการฟ้องเรียกค่าเสียหายก่อนสิทธิเกิด: โจทก์ต้องดำเนินการให้สิทธิเกิดก่อนจึงฟ้องได้
โจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริต และปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และถูกดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่ง จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลของคดี สำหรับคดีอาญา ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ส่วนคดีแพ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ดังนี้ โจทก์จึงเป็นผู้สุจริตและไม่มีมลทินมัวหมองการสอบสวนเป็นอันสิ้นสุดเพราะตามข้อบังคับ ฯ จำเลยไม่มีอำนาจพักงานเพื่อรอฟังผลในคดีแพ่ง โจทก์จึงมีสิทธิกลับเข้าทำงานดังเดิม มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างพักงานมีสิทธิขอลาออกและมีสิทธิขอให้จำเลยพิจารณาการลาออก แต่ขณะที่พิพาทเป็นคดีนี้โจทก์หาได้กลับเข้าทำงานไม่ และยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ลาออก ก็กลับมาฟ้องเสียก่อนว่าโจทก์ได้กลับเข้าทำงานแล้ว และได้รับอนุมัติให้ลาออกแล้ว มีสิทธิได้รับเงินต่าง ๆ ในระหว่างถูกพักงาน และเงินต่าง ๆ ที่จะได้หลังจากลาออกแล้ว ซึ่งเป็นการฟ้องก่อนสิทธิเกิดขึ้น ชั้นนี้โจทก์พึงดำเนินการตามสิทธิต่าง ๆ นั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงาน-สิทธิลูกจ้าง-การกลับเข้าทำงาน-ลาออก: จำเลยไม่มีอำนาจพักงานรอผลคดีแพ่ง ลูกจ้างมีสิทธิกลับเข้าทำงานหรือลาออก
โจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริต และปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และถูกดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่ง จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีคำสั่งพักงานโจทก์ เพื่อรอฟังผลของคดี สำหรับคดีอาญา ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดส่วนคดีแพ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาดังนี้ โจทก์จึงเป็นผู้สุจริตและไม่มีมลทินมัวหมอง การสอบสวนเป็นอันสิ้นสุดเพราะตามข้อบังคับฯ จำเลยไม่มีอำนาจพักงานเพื่อรอฟังผลในคดีแพ่ง โจทก์จึงมีสิทธิกลับเข้าทำงานดังเดิม มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างพักงานมีสิทธิขอลาออกและมีสิทธิขอให้จำเลยพิจารณาการลาออก แต่ขณะที่พิพาทเป็นคดีนี้ โจทก์หาได้กลับเข้าทำงานไม่ และยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ลาออก ก็กลับมาฟ้องเสียก่อนว่าโจทก์ได้กลับเข้าทำงานแล้ว และได้รับอนุมัติให้ลาออกแล้ว มีสิทธิได้รับเงินต่าง ๆ ในระหว่างถูกพักงาน และเงินต่าง ๆ ที่จะได้หลังจากลาออกแล้ว ซึ่งเป็นการฟ้องก่อนสิทธิเกิดขึ้น ชั้นนี้โจทก์พึงดำเนินการตามสิทธิต่าง ๆ นั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางเรื่องการงดสืบพยาน เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อนุญาตอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแรงงาน และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ให้คืนเงินประกัน
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 176