คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,754 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องกระทบสิทธิผู้ฟ้องจึงมีอำนาจฟ้องได้
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า เดิมมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนอยู่แล้ว ต่อมาจำเลยประกาศใช้ระเบียบใหม่ปรับปรุงอัตราเงินเดือนโดยแบ่งครึ่งของแต่ละลำดับโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์เนื่องจากจำเลยสามารถพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้โจทก์เพียงครึ่งขั้นในรอบปีได้ ซึ่งปกติโจทก์ควรจะได้รับการพิจารณาเลื่อน 1 ขั้นเป็นอย่างน้อย ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำบัญชีอัตราเงินเดือนที่ได้ประกาศใช้ใหม่มาใช้บังคับกับ โจทก์แล้ว จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนบัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องมีผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว จึงจะฟ้องได้
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า เดิมมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนอยู่แล้ว ต่อมาจำเลยประกาศใช้ระเบียบใหม่ปรับปรุงอัตราเงินเดือนโดยแบ่งครึ่งของแต่ละลำดับโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์เนื่องจากจำเลยสามารถพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์เพียงครึ่งขั้นในรอบปีได้ ซึ่งปกติโจทก์ควรจะได้รับการพิจารณาเลื่อน 1 ขั้นเป็นอย่างน้อย ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำบัญชีอัตราเงินเดือนที่ได้ประกาศใช้ใหม่มาใช้บังคับกับโจทก์แล้ว จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนบัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการซื้อหุ้นโดยใช้เงินทุนสะสมของพนักงาน และเงื่อนไขการคืนหุ้นกรณีออกจากงานเนื่องจากทุจริต
เงินทุนสะสมไม่ใช่เงินที่หักจากเงินเดือนของโจทก์แต่เป็นเงินที่ธนาคาร ฯ จำเลยจ่ายเข้าบัญชีเงินทุนสะสมของโจทก์ตามระเบียบของธนาคาร ฯ ธนาคาร ฯ จำเลยให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ฯ จำเลยโดยนำเงินทุนสะสมของโจทก์ดังกล่าวชำระเป็นค่าหุ้นโดยมีข้อตกลงในหนังสือส่งมอบใบหุ้นว่าให้ธนาคาร ฯ จำเลยยึดใบหุ้นไว้จนกว่าโจทก์จะพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และหากโจทก์ถูกออกจากงานเพราะทุจริตต่อหน้าที่แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับใบหุ้น ยินยอมให้นำหุ้นทั้งหมดออกจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนเงินทุนสะสม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขของการได้สิทธิในหุ้นประการหนึ่งที่มีผลใช้บังคับได้ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการซื้อหุ้นโดยใช้เงินทุนสะสมของพนักงาน และผลกระทบต่อสิทธิในหุ้นกรณีทุจริต
เงินทุนสะสมไม่ใช่เงินที่หักจากเงินเดือนของโจทก์แต่เป็นเงินที่ธนาคาร ฯ จำเลยจ่ายเข้าบัญชีเงินทุนสะสมของโจทก์ตามระเบียบของธนาคาร ฯ ธนาคาร ฯ จำเลยให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ฯ จำเลยโดยนำเงินทุนสะสมของโจทก์ดังกล่าวชำระเป็นค่าหุ้นโดยมีข้อตกลงในหนังสือส่งมอบใบหุ้นว่าให้ธนาคาร ฯ จำเลยยึดใบหุ้นไว้จนกว่าโจทก์จะพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และหากโจทก์ถูกออกจากงานเพราะทุจริตต่อหน้าที่แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับใบหุ้น ยินยอมให้นำหุ้นทั้งหมดออกจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนเงินทุนสะสม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขของการได้สิทธิในหุ้นประการหนึ่งที่มีผลใช้บังคับได้ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่ารักษาพยาบาลในระเบียบสวัสดิการ: รถพยาบาลไม่ใช่ค่าบำบัดโรคโดยตรง
เมื่อระเบียบของนายจ้างมีข้อจำกัดวงเงินค่ารักษาพยาบาลและ ระบุ ชื่อโรงพยาบาลที่ลูกจ้างและครอบครัวจะไปรักษาไว้ การที่ลูกจ้างป่วย โดยมิได้เกิดจากประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงยกบทคำนิยามของค่ารักษาพยาบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ แต่ต้องพิจารณา จากระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของนายจ้างและเมื่อระเบียบไม่มีบทนิยาม คำว่าค่ารักษาพยาบาลไว้ จึงต้องแปลคำว่าค่ารักษาพยาบาล ตามความเข้าใจของคนทั่วไปว่า หมายถึงค่าบำบัดโรคโดยตรงเท่านั้น ดังนี้ ค่ารถพยาบาลซึ่งระเบียบมิได้กำหนดให้เบิกได้จึงมิใช่ค่าบำบัดโรค อันลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่ารักษาพยาบาลในระเบียบสวัสดิการนายจ้าง: รถพยาบาลไม่ใช่ค่าบำบัดโรคโดยตรง
เมื่อระเบียบของนายจ้างมีข้อจำกัดวงเงินค่ารักษาพยาบาลและ ระบุ ชื่อโรงพยาบาลที่ลูกจ้างและครอบครัวจะไปรักษาไว้ การที่ลูกจ้างป่วย โดยมิได้เกิดจากประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงยกบทคำนิยามของค่ารักษาพยาบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ แต่ต้องพิจารณา จากระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของนายจ้างและเมื่อระเบียบไม่มีบทนิยาม คำว่าค่ารักษาพยาบาลไว้ จึงต้องแปลคำว่าค่ารักษาพยาบาล ตามความเข้าใจของคนทั่วไปว่า หมายถึงค่าบำบัดโรคโดยตรงเท่านั้น ดังนี้ ค่ารถพยาบาลซึ่งระเบียบมิได้กำหนดให้เบิกได้จึงมิใช่ค่าบำบัดโรค อันลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องเงินเพิ่มพิเศษในการรับโอนพนักงาน: ความยินยอมเป็นผลผูกพัน
จำเลยรับโอนโจทก์จากหน่วยงานอื่นมาเป็นลูกจ้าง โดยจะให้โจทก์ได้รับอัตราเงินเดือนในขั้นใกล้เคียงที่ต่ำกว่าแต่ไม่เกินอัตราขั้นสูงสุดของแต่ละตำแหน่ง ส่วนเงินจำนวนที่ขาดไปนั้นจำเลยจะจ่ายให้เท่าที่เคยได้รับมาก่อน ซึ่งเรียกว่า "เงินเพิ่มพิเศษ" โดยมีหลักเกณฑ์ว่าจะจ่ายให้เป็นการชั่วคราวในระยะเวลาเพียง 6 เดือนโจทก์ตกลงยินยอมตามนั้น ความยินยอมของโจทก์จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อครบ 6 เดือนแล้วภายหลังจากนั้นโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องเงินเพิ่มพิเศษมีผลผูกพันลูกจ้างได้ หากลูกจ้างยินยอมรับข้อตกลงนั้นโดยชัดแจ้ง
จำเลยรับโอนโจทก์จากหน่วยงานอื่นมาเป็นลูกจ้างโดยจะให้โจทก์ได้รับอัตราเงินเดือนในขั้นใกล้เคียงที่ต่ำกว่าแต่ไม่เกินอัตราขั้นสูงสุดของแต่ละตำแหน่งส่วนเงินจำนวนที่ขาดไปนั้นจำเลยจะจ่ายให้เท่าที่เคยได้รับมาก่อน ซึ่งเรียกว่า "เงินเพิ่มพิเศษ"โดยมีหลักเกณฑ์ว่าจะจ่ายให้เป็นการชั่วคราวในระยะเวลาเพียง 6 เดือน โจทก์ตกลงยินยอมตามนั้น ความยินยอมของโจทก์จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อครบ 6 เดือนแล้ว ภายหลังจากนั้นโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460-4462/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นัดหยุดงาน-สิทธิค่าจ้าง-บำเหน็จความดีความชอบ: นายจ้างมีสิทธิพิจารณาขึ้นค่าจ้างตามหลักเกณฑ์
ในระหว่างนัดหยุดงานลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเพราะมิได้ปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง แต่ก็ไม่ถือว่าลูกจ้างที่นัดหยุดงานตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายนั้นได้ขาดงานตามหลักเกณฑ์ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกมาเป็นเหตุที่จะพิจารณาไม่ขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ได้ อย่างไรก็ตามการให้บำเหน็จความดีความชอบโดยการขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นสิทธิของนายจ้าง ซึ่งจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่นายจ้างได้กำหนดไว้ ในชั้นนี้จึงไม่อาจบังคับจำเลยขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ได้โดยชอบที่จะบังคับเพียงให้จำเลยพิจารณาความดีความชอบของโจทก์เสียใหม่ตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยมิให้ถือว่าการนัดหยุดงานของโจทก์เป็นการขาดงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460-4462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานตามสิทธิและผลต่อการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง นายจ้างมิอาจถือเป็นการขาดงานได้
ในระหว่างนัดหยุดงานลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเพราะมิได้ปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง แต่ก็ไม่ถือว่าลูกจ้างที่นัดหยุดงานตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายนั้นได้ขาดงานตามหลักเกณฑ์ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกมาเป็นเหตุที่จะพิจารณาไม่ขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ได้ อย่างไรก็ตามการให้บำเหน็จความดีความชอบโดยการขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นสิทธิของนายจ้าง ซึ่งจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่นายจ้างได้กำหนดไว้ ในชั้นนี้จึงไม่อาจบังคับจำเลยขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ได้โดยชอบที่จะบังคับเพียงให้จำเลยพิจารณาความดีความชอบของโจทก์เสียใหม่ตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยมิให้ถือว่าการนัดหยุดงานของโจทก์เป็นการขาดงาน
of 176