พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,754 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานเกินเวลา: การได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน ทำให้ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลเหนือกว่ากฎหมายแรงงานทั่วไป
เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานให้ลูกจ้างของจำเลยทำงานเกินวันละแปดชั่วโมง แล้ว จึงถือว่าการทำงานตามกำหนดเวลาเช่นว่านั้นเป็นเวลาปกติของวันทำงาน โจทก์จะได้รับค่าจ้างค่าครองชีพ และค่าจ้างคำนวณตามระยะทางเดินรถ อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโจทก์หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำงานเกินวันละแปดชั่วโมง อีกไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4217/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างและค่าครองชีพของลูกจ้างรายวันหยุดงาน-วันหยุดตามประเพณี-การจ่ายเบี้ยขยัน-สิทธิการพักผ่อนประจำปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่กำหนดว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเงินจำนวนหนึ่งต่อเดือนนั้น มิได้หมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าครองชีพตามกำหนดเต็มจำนวน ถึงแม้ลูกจ้างมิได้ทำงานให้แก่นายจ้างก็ตาม
โจทก์สามร้อยแปดสิบสามคนเป็นลูกจ้างประจำรายวันของจำเลยมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน โจทก์ทั้งหมดนัดหยุดงานแล้วตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นโดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2529 แต่จะกลับเข้าทำงานตามปกติในวันที่ 8 ธันวาคม 2529 ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้งหมดมิได้ทำงานระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2529 ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างรายวันแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพเฉพาะส่วนที่มิได้ทำงานจากจำเลย และเมื่อวันที่ 5ธันวาคม 2529 เป็นวันหยุดตามประเพณีซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังมิได้ทำงานให้แก่จำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีด้วย
การหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 โดยได้รับอนุมัติจากนายจ้างแล้วมิใช่เป็นการลาหยุด หรือเป็นเรื่องการขาดงานอันเป็นผลต่อหลักเกณฑ์ของการพิจารณาจ่ายเบี้ยขยันตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
โจทก์สามร้อยแปดสิบสามคนเป็นลูกจ้างประจำรายวันของจำเลยมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน โจทก์ทั้งหมดนัดหยุดงานแล้วตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นโดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2529 แต่จะกลับเข้าทำงานตามปกติในวันที่ 8 ธันวาคม 2529 ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้งหมดมิได้ทำงานระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2529 ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างรายวันแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพเฉพาะส่วนที่มิได้ทำงานจากจำเลย และเมื่อวันที่ 5ธันวาคม 2529 เป็นวันหยุดตามประเพณีซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังมิได้ทำงานให้แก่จำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีด้วย
การหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 โดยได้รับอนุมัติจากนายจ้างแล้วมิใช่เป็นการลาหยุด หรือเป็นเรื่องการขาดงานอันเป็นผลต่อหลักเกณฑ์ของการพิจารณาจ่ายเบี้ยขยันตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4217/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพและเบี้ยขยัน: สิทธิลูกจ้างเมื่อหยุดงานและวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่กำหนดว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเงินจำนวนหนึ่งต่อเดือนนั้น มิได้หมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าครองชีพตามกำหนดเต็มจำนวน ถึงแม้ลูกจ้างมิได้ทำงานให้แก่นายจ้างก็ตาม
โจทก์สามร้อยแปดสิบสามคนเป็นลูกจ้างประจำรายวันของจำเลยมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน โจทก์ทั้งหมดนัดหยุดงานแล้วตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นโดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2529 แต่จะกลับเข้าทำงานตามปกติในวันที่ 8 ธันวาคม 2529 ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้งหมดมิได้ทำงานระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2529 ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างรายวันแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพเฉพาะส่วนที่มิได้ทำงานจากจำเลยและเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2529 เป็นวันหยุดตามประเพณีซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังมิได้ทำงานให้แก่จำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีด้วย
การหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 โดยได้รับอนุมัติจากนายจ้างแล้วมิใช่เป็นการลาหยุด หรือเป็นเรื่องการขาดงานอันเป็นผลต่อหลักเกณฑ์ของการพิจารณาจ่ายเบี้ยขยันตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
โจทก์สามร้อยแปดสิบสามคนเป็นลูกจ้างประจำรายวันของจำเลยมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน โจทก์ทั้งหมดนัดหยุดงานแล้วตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นโดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2529 แต่จะกลับเข้าทำงานตามปกติในวันที่ 8 ธันวาคม 2529 ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้งหมดมิได้ทำงานระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2529 ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างรายวันแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพเฉพาะส่วนที่มิได้ทำงานจากจำเลยและเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2529 เป็นวันหยุดตามประเพณีซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังมิได้ทำงานให้แก่จำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีด้วย
การหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 โดยได้รับอนุมัติจากนายจ้างแล้วมิใช่เป็นการลาหยุด หรือเป็นเรื่องการขาดงานอันเป็นผลต่อหลักเกณฑ์ของการพิจารณาจ่ายเบี้ยขยันตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้าง: แม้มีเงื่อนไขผลงาน แต่จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างตามสัญญา หากไม่ได้ยกเลิกจ้าง
สัญญาจ้างข้อ 5 กำหนดเงินเดือนโจทก์ไว้เป็นจำนวนแน่นอนข้อ6 กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องทำผลงานขั้นต่ำขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้ได้ 5 เครื่องต่อเดือน และข้อ 9 กำหนดว่าถ้าไม่สามารถทำผลงานได้ตามเงื่อนไขสัญญาจ้างถือเป็นการยกเลิกโดยอัตโนมัติ ดังนี้แม้สัญญาข้อ 6 จะมีเงื่อนไขการทำผลงานไว้แต่ก็มิได้กำหนดว่าหากเดือนใดโจทก์ทำไม่ได้ตามเงื่อนไข จำเลยจะไม่จ่ายเงินเดือนสำหรับเดือนนั้นแก่โจทก์ส่วนความในข้อ 9 นั้น มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ฉะนั้นแม้โจทก์ทำผลงานไม่ได้ตามสัญญา จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างกำหนดผลงานขั้นต่ำ แม้ไม่ทำตามก็ยังต้องจ่ายเงินเดือน หากไม่ได้ยกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างข้อ 5 กำหนดเงินเดือนโจทก์ไว้เป็นจำนวนแน่นอนข้อ 6 กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องทำผลงานขั้นต่ำขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้ได้ 5 เครื่องต่อเดือน และข้อ 9 กำหนดว่าถ้าไม่สามารถทำผลงานได้ตามเงื่อนไขสัญญาจ้างถือเป็นการยกเลิกโดยอัตโนมัติ ดังนี้แม้สัญญาข้อ 6 จะมีเงื่อนไขการทำผลงานไว้แต่ก็มิได้กำหนดว่าหากเดือนใดโจทก์ทำไม่ได้ตามเงื่อนไข จำเลยจะไม่จ่ายเงินเดือนสำหรับเดือนนั้นแก่โจทก์ส่วนความในข้อ 9 นั้น มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ฉะนั้นแม้โจทก์ทำผลงานไม่ได้ตามสัญญา จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จขึ้นอยู่กับสัญญาจ้าง หากลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ
คำสั่งของจำเลยให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์กระทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงานของจำเลยและปฏิบัติผิดสัญญาจ้างตามหนังสือสัญญาจ้างโดยให้ออกจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2527 เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นเรื่องลงโทษให้ออกเพราะโจทก์ทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงาน เมื่อจำเลยได้ดำเนินการและออกคำสั่งถูกต้องตามระเบียบก็เป็นการเลิกจ้างที่สมบูรณ์แล้ว หาต้องแสดงเจตนาแก่โจทก์อีกไม่ สภาพของการเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่จำเลย และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างภายหลังจากวันนั้นอีก
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้อง โดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และผลผูกพันนี้ หมายถึงผลผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาและผลผูกพันที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ฝ่ายใดจะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นมิได้ข้อตกลงนี้จึงมีผลผูกพันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับเท่านั้น ความในมาตรา 20 จึงเป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายคนโดยขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างที่ถูกผูกพันกันอยู่โดยผลของมาตรา 19 เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อระเบียบที่ 28/2522 ของจำเลยเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศขึ้นใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแม้จะถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แต่ก็มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 และมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะทำสัญญาจ้างแรงงานกันให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบที่ 28/2522 ได้
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้อง โดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และผลผูกพันนี้ หมายถึงผลผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาและผลผูกพันที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ฝ่ายใดจะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นมิได้ข้อตกลงนี้จึงมีผลผูกพันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับเท่านั้น ความในมาตรา 20 จึงเป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายคนโดยขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างที่ถูกผูกพันกันอยู่โดยผลของมาตรา 19 เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อระเบียบที่ 28/2522 ของจำเลยเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศขึ้นใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแม้จะถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แต่ก็มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 และมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะทำสัญญาจ้างแรงงานกันให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบที่ 28/2522 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาระบุเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จขัดแย้งกับระเบียบของบริษัท ศาลฎีกาตัดสินตามสัญญา
คำสั่งของจำเลยให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์กระทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงานของจำเลยและปฏิบัติผิดสัญญาจ้างตามหนังสือสัญญาจ้างโดยให้ออกจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม2527 เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นเรื่องลงโทษให้ออกเพราะโจทก์ทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงาน เมื่อจำเลยได้ดำเนินการและออกคำสั่งถูกต้องตามระเบียบก็เป็นการเลิกจ้างที่สมบูรณ์แล้ว หาต้องแสดงเจตนาแก่โจทก์อีกไม่ สภาพของการเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่จำเลย และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างภายหลังจากวันนั้นอีก
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้อง โดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และผลผูกพันนี้ หมายถึงผลผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาและผลผูกพันที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ฝ่ายใดจะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นมิได้ ข้อตกลงนี้จึงมีผลผูกพันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับเท่านั้น ความในมาตรา 20 จึงเป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายคนโดยขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างที่ถูกผูกพันกันอยู่โดยผลของมาตรา19 เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อระเบียบที่ 28/2522 ของจำเลยเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศขึ้นใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้จะถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แต่ก็มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 และมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะทำสัญญาจ้างแรงงานกันให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบที่ 28/2522 ได้
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้อง โดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และผลผูกพันนี้ หมายถึงผลผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาและผลผูกพันที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ฝ่ายใดจะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นมิได้ ข้อตกลงนี้จึงมีผลผูกพันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับเท่านั้น ความในมาตรา 20 จึงเป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายคนโดยขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างที่ถูกผูกพันกันอยู่โดยผลของมาตรา19 เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อระเบียบที่ 28/2522 ของจำเลยเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศขึ้นใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้จะถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แต่ก็มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 และมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะทำสัญญาจ้างแรงงานกันให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบที่ 28/2522 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิจารณาความถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทและการจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ยินยอมมาทำงานในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานนั้น โจทก์ย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยและต้องอยู่ในบังคับของระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำำานของจำเลยด้วย
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยระบุว่า 'บุคคลที่ถูกลงโทษโดยตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเตือนด้วยหนังสือ หรือทำหนังสือทัณฑ์บนได้แก่ผู้ที่กระทำผิดในสถานเบา ผู้ที่ได้รับการลงโทษดังกล่าวรวม 3 ครั้ง บริษัทฯ จะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับและจะพิจารณาลงโทษในสถานหนักตามที่เห็นสมควร' ดังนี้จำเลยจะอาศัยความข้อนี้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการลงโทษด้วยการตักเตือนมาก่อนแล้วรวม 3 ครั้ง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่มาแล้ว 2 ครั้ง และถูกตักเตือนเป็นหนังสือแล้วทั้งสองครั้ง ต่อมาโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งที่ 3ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ด้วยการตักเตือนอีกได้ เช่นนี้ แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จะให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ตาม แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งจำเลยจะต้องถือปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583.
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยระบุว่า 'บุคคลที่ถูกลงโทษโดยตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเตือนด้วยหนังสือ หรือทำหนังสือทัณฑ์บนได้แก่ผู้ที่กระทำผิดในสถานเบา ผู้ที่ได้รับการลงโทษดังกล่าวรวม 3 ครั้ง บริษัทฯ จะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับและจะพิจารณาลงโทษในสถานหนักตามที่เห็นสมควร' ดังนี้จำเลยจะอาศัยความข้อนี้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการลงโทษด้วยการตักเตือนมาก่อนแล้วรวม 3 ครั้ง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่มาแล้ว 2 ครั้ง และถูกตักเตือนเป็นหนังสือแล้วทั้งสองครั้ง ต่อมาโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งที่ 3ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ด้วยการตักเตือนอีกได้ เช่นนี้ แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จะให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ตาม แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งจำเลยจะต้องถือปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่ากะซ้ำซ้อนกับค่าทำงานในวันหยุด และการเรียกร้องเงินคืนจากความผิดพลาดในการคำนวณค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 นั้น หากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่เพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเอง แต่ต้องให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่คู่ความอุทธรณ์ต่อไป
เดิมโจทก์ซึ่งทำงานเป็นกะจะได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเฉพาะที่ทำงานตรงกับวันหยุด ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะ กำหนดอัตราเงินเพิ่มให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกะทุกคนโดยให้ทุกคนมีสิทธิได้รับทุกวันที่มาปฏิบัติงาน แม้จะไม่ตรงกับวันหยุดและโจทก์ได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะจ่ายเงินเพิ่มค่ากะดังกล่าวเป็นค่าทำงานในวันหยุดไปในตัวทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้กำหนดการจ่ายเงินค่ากะโดยให้รวมค่าทำงานในวันหยุดไว้ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลยอีกได้.
โจทก์ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีตามข้อบังคับเดิมจากจำเลยไปแล้วจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะโดยให้มีผลบังคับย้อนหลังไปด้วย และโจทก์ได้รับเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะไปตามข้อบังคับใหม่ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนกับเงินที่ได้รับไปแล้วเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทำงานในวันหยุดที่จ่ายตามข้อบังคับเดิมพร้อมดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ได้.
เดิมโจทก์ซึ่งทำงานเป็นกะจะได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเฉพาะที่ทำงานตรงกับวันหยุด ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะ กำหนดอัตราเงินเพิ่มให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกะทุกคนโดยให้ทุกคนมีสิทธิได้รับทุกวันที่มาปฏิบัติงาน แม้จะไม่ตรงกับวันหยุดและโจทก์ได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะจ่ายเงินเพิ่มค่ากะดังกล่าวเป็นค่าทำงานในวันหยุดไปในตัวทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้กำหนดการจ่ายเงินค่ากะโดยให้รวมค่าทำงานในวันหยุดไว้ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลยอีกได้.
โจทก์ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีตามข้อบังคับเดิมจากจำเลยไปแล้วจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะโดยให้มีผลบังคับย้อนหลังไปด้วย และโจทก์ได้รับเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะไปตามข้อบังคับใหม่ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนกับเงินที่ได้รับไปแล้วเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทำงานในวันหยุดที่จ่ายตามข้อบังคับเดิมพร้อมดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน และสิทธิของนายจ้างในการยุบหอพักหลังเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับโจทก์โดยมีข้อตกลงให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนของจำเลยทั้งสามขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ดังนี้ โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานย่อมมีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นสัญญา ระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างของจำเลยทั้งสามเป็นสมาชิกของโจทก์หรือไม่
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องหอพักของพนักงานระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า โจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทจำเลยทั้งสามได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกไปภายใน 2 เดือนหลังจากตกลงกันได้ เช่นนี้ ความสำคัญของข้อตกลงนี้จึงมีว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างต่อไปอีก ส่วนข้อความว่าจะต้องมีการตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 นั้นเป็นเพียงรายละเอียด ทั้งยังแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ลูกจ้างจะต้องออกไปจากหอพักอย่างช้าที่สุดคือสิ้นปี พ.ศ. 2529 เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยไม่อาจเจรจาทำความตกลงกันได้ภายในเวลาที่กำหนด และเวลาก็ได้ล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529 ไปแล้วจำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักได้.
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องหอพักของพนักงานระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า โจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทจำเลยทั้งสามได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกไปภายใน 2 เดือนหลังจากตกลงกันได้ เช่นนี้ ความสำคัญของข้อตกลงนี้จึงมีว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างต่อไปอีก ส่วนข้อความว่าจะต้องมีการตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 นั้นเป็นเพียงรายละเอียด ทั้งยังแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ลูกจ้างจะต้องออกไปจากหอพักอย่างช้าที่สุดคือสิ้นปี พ.ศ. 2529 เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยไม่อาจเจรจาทำความตกลงกันได้ภายในเวลาที่กำหนด และเวลาก็ได้ล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529 ไปแล้วจำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักได้.