พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,754 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ชกต่อย ธ.ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันเพราะไม่พอใจธ.เป็นเหตุให้ ธ. ได้รับอันตรายแก่กาย เหตุเกิดในบริเวณที่ทำการของจำเลยระหว่างที่ ธ. ปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้ เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดวินัยร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว เนื่องจากจำเลยดำเนินธุรกิจด้านโรงแรมให้บริการแก่ลูกค้า การทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกันของพนักงานในบริเวณโรงแรมขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยเป็นอย่างมากจำเลยจึงมีอำนาจปลดโจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้ทั้งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 อีกด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย ค่าชดเชยตลอดทั้งสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าพาหนะเดินทางของลูกจ้างเมื่อมีการบรรจุและส่งไปประจำต่างท้องถิ่น มิได้เริ่มจ้างที่ต่างท้องถิ่น
ตามระเบียบของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่เดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นหรือเดินทางกลับท้องถิ่นที่เริ่มจ้างเมื่อออกจากงานมีสิทธิเบิกค่าพาหนะสำหรับครอบครัวและคนใช้ จำเลยมีคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นพนักงานควบคุมผู้บ่มอิสระสำนักงานไร่ยาสูบเชียงรายตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2491 และมีหนังสือถึงผู้จัดการไร่ยาสูบ เชียงรายส่งตัวโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวในเดือนเดียวกันนั้นเช่นนี้โจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในตำแหน่งนั้นตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งดังกล่าวแล้วจำเลยมิได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานของจำเลยในกรุงเทพมหานครก่อนแล้วมีคำสั่งให้โจทก์ไปประจำการที่จังหวัดเชียงรายอันเป็นการประจำการต่างท้องถิ่นแต่อย่างใดไม่โจทก์จึงมิใช่พนักงานที่เดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นที่เริ่มจ้างอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าพาหนะเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพมหานครตามระเบียบของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าพาหนะเดินทางของลูกจ้างที่ถูกบรรจุและส่งไปประจำต่างท้องถิ่น ต้องเป็นการเดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นที่เริ่มจ้าง
ตามระเบียบของจำเลยกำหนดว่า พนักงานที่เดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นหรือเดินทางกลับท้องถิ่นที่เริ่มจ้างเมื่อออกจากงาน มีสิทธิเบิกค่าพาหนะสำหรับครอบครัวและคนใช้ จำเลยมีคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นพนักงานควบคุมผู้บ่มอิสระสำนักงานไร่ยาสูบเชียงรายตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2491 และมีหนังสือถึงผู้จัดการไร่ยาสูบ เชียงรายส่งตัวโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวในเดือนเดียวกันนั้น เช่นนี้โจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในตำแหน่งนั้นตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งดังกล่าวแล้วจำเลยมิได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานของจำเลยในกรุงเทพมหานครก่อนแล้วมีคำสั่งให้โจทก์ไปประจำการที่จังหวัดเชียงรายอันเป็นการประจำการต่างท้องถิ่นแต่อย่างใด ไม่โจทก์จึงมิใช่พนักงานที่เดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นที่เริ่มจ้าง อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าพาหนะเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพมหานครตามระเบียบของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ลูกจ้างออกจากงานฐานประพฤติผิดวินัยร้ายแรง แม้ก่อนหน้านี้จะสั่งพักงานฐานเกษียณอายุ
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนพนักงานรถไฟซึ่งปฏิบัติงานในเขตสถานีรถไฟซึ่งโจทก์ประจำอยู่ด้วยทั้งหมดโดยมิได้ ระบุตัวผู้ถูกกล่าวหา ต่อมาจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุ (อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์) ตามระเบียบของจำเลยหลังจากนั้นคณะกรรมการรายงานผลการสอบสวนว่าโจทก์กระทำผิดโดยเรียกเก็บเงินค่ากรรมกรขนของขึ้นตู้สินค้าเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด ดังนี้ จำเลยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุเป็นให้ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการพิจารณาถึงที่สุดได้และต่อมาเมื่อผู้ว่าการของจำเลยทราบผลการสอบสวนแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบของจำเลยก็ย่อมมีอำนาจที่จะออกคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ลูกจ้างออกจากงานฐานประพฤติผิดวินัยร้ายแรงหลังเกษียณอายุ – อำนาจจำเลยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนพนักงานรถไฟซึ่งปฏิบัติงานในเขตสถานีรถไฟซึ่งโจทก์ประจำอยู่ด้วยทั้งหมดโดยมิได้ระบุตัวผู้ถูกกล่าวหา ต่อมาจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุ(อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์) ตามระเบียบของจำเลยหลังจากนั้นคณะกรรมการรายงานผลการสอบสวนว่าโจทก์กระทำผิดโดยเรียกเก็บเงินค่ากรรมกรขนของขึ้นตู้สินค้าเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด ดังนี้จำเลยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุเป็นให้ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการพิจารณาถึงที่สุดได้และต่อมาเมื่อผู้ว่าการของจำเลยทราบผลการสอบสวนแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบของจำเลยก็ย่อมมีอำนาจที่จะออกคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาตในโรงงานและการลงโทษตักเตือน
ตามระเบียบและข้อบังคับในการทำงานของนายจ้างระบุห้ามเปิดประชุมในบริเวณโรงงานก่อนได้รับอนุญาตจากนายจ้าง ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นกรรมการลูกจ้างได้ร่วมกันถือโอกาสแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประชุมกันระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงาน สรุปว่าพนักงานบางส่วนถูกกลั่นแกล้งไม่ได้รับความเป็นธรรม มีคนข่มขู่และใช้อิทธิพลขอให้ผนึกกำลัง ร่วมกันต่อสู้ โดยกล่าวต่อพนักงานที่กำลังรับประทานอาหารในโรงอาหารในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน ดังนี้แม้การรับประทานอาหารในช่วงเวลาที่พักมิใช่การมาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือกันก็ตาม แต่ก็เป็นการชุมนุมอย่างหนึ่งอันอยู่ในความหมายของการประชุมด้วย เมื่อมีการประชุมแล้วผู้คัดค้านทั้งสามถือโอกาสกระทำการดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการเปิดประชุมต้องตามระเบียบ ฯ ของนายจ้างแล้ว ผู้คัดค้านทั้งสามกระทำโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อนย่อมเป็นการผิดระเบียบ ฯ ดังกล่าวชอบที่นายจ้างจะลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามระเบียบ ฯ นั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การกำหนดเวลาทำงานวันละ 24 ชั่วโมง และสิทธิค่าล่วงเวลา
บริษัทจำเลยกำหนดให้พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลางเข้าทำงานวันละ24 ชั่วโมง หยุดพักวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง ต่อมาจำเลยดำริ ให้เปลี่ยนเป็นทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานขับรถยนต์ของจำเลยขอให้กำหนดเวลาทำงานเช่นเดิม โดยอ้างว่าต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นซึ่งจำเลยก็ได้ตกลงยินยอมกำหนดเวลาทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยในภายหลัง ก็ย่อมต้องถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว การทำงานของโจทก์จึงมิใช่เป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติอันจะมีสิทธิเรียกเอาค่าล่วงเวลาจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องเป็นธรรมและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปีเกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปี เกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13 ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษเลิกจ้างจากไล่ออกเป็นให้ออกมีผลนับแต่วันใด สิทธิการได้รับเงินสงเคราะห์
เดิมจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม2524 โจทก์ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งมีความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติว่าการลงโทษโจทก์รุนแรงเกินไป จึงให้ยกเลิกคำสั่งเดิมเสียทั้งสิ้นและให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2527ดังนี้ ข้อความในคำสั่งฉบับหลังเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ไล่โจทก์ออกจากงานนั้นทั้งหมด ไม่ให้มีผลบังคับต่อไปโดยกำหนดโทษเป็นให้ออกจากงาน เมื่อคำสั่งเดิมได้กำหนดวันเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจึงต้องถือว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่เลิกจ้างนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลยนับแต่วันนั้น.