พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,754 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าผูกพันลูกจ้างที่เข้ามาทำงานภายหลังการบังคับใช้ หากลาออกก่อนกำหนดสิทธิจะสิ้นสุด
บริษัทจำเลยได้วางระเบียบเงื่อนไขในการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าให้แก่พนักงานขายไว้ว่าจะจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงานขายต่อเมื่อยังคงเป็นพนักงานขายของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินรางวัลให้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และโจทก์ทั้งสองเข้ามาเป็นลูกจ้างของจำเลยภายหลังที่เงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดยโจทก์ทั้งสองตกลงเข้ามาเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยและประสงค์จะได้รับเงินรางวัลดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อปรากฏว่าในวันกำหนดการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้านั้น โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยโดยการลาออกแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงหมดสิทธิได้รับเงินรางวัล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้จัดการ: การมอบหมายงานนโยบายและการกระทำละเมิดของผู้ช่วย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ตามข้อบังคับของโจทก์ข้อ 53 ระบุว่า หากผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้จัดการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องทำให้เกิดความเสียหาย ผู้จัดการต้องรับผิดชอบด้วย แต่ในการแต่งตั้งจำเลยที่ 1 นั้นจำเลยที่1 ขอรับหน้าที่เฉพาะงานนโยบายเท่านั้นซึ่งคณะกรรมการของโจทก์ตกลงยินยอมด้วย ส่วนการบริหารงานร้านโจทก์นั้นปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานของโจทก์แต่ผู้เดียวตลอดมา ดังนี้จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่บริหารงานของโจทก์ และการบริหารงานของจำเลยที่ 2 มิใช่การทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับข้อ 53 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงจะอาศัยข้อบังคับดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อผู้ช่วยฯ กระทำละเมิด โดยผู้จัดการมีหน้าที่จำกัดเฉพาะงานนโยบาย
จำเลยที่1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์จำเลยที่ 2เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ตามข้อบังคับของโจทก์ข้อ 53 ระบุว่าหากผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้จัดการ ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องทำให้เกิดความเสียหายผู้จัดการต้องรับผิดชอบด้วย แต่ในการแต่งตั้ง จำเลยที่1 นั้นจำเลยที่1 ขอรับหน้าที่เฉพาะงานนโยบายเท่านั้นซึ่งคณะกรรมการของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยส่วนการบริหารงาน ร้านโจทก์นั้นปรากฏว่าจำเลยที่2 เป็น ผู้บริหารงานของโจทก์ แต่ผู้เดียวตลอดมาดังนี้จำเลยที่ 1ไม่มีหน้าที่บริหารงานของโจทก์ และการบริหารงานของจำเลยที่2 มิใช่การทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับข้อ 53 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับ จำเลย ที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงจะอาศัยข้อบังคับดังกล่าว ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ละทิ้งหน้าที่' ในข้อบังคับบริษัท และอำนาจการบังคับชำระหนี้ของนายจ้าง
คำว่าละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วันติดต่อกันตามข้อบังคับ ฯ นั้น หมายถึงวันทำงานและวันหยุดรวมกัน เพราะหากแปลงว่าหมายถึงเฉพาะวันทำงานแล้วข้อบังคับนี้ย่อมไร้ผล เนื่องจากในสัปดาห์หนึ่งหยุดวันเสาร์วันอาทิตย์ การทำงานติดต่อกันจึงมีได้อย่างมาก 5 วันเท่านั้น
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย มีผลเท่ากับเป็นทวงถามให้ชำระหนี้เท่านั้น เพราะจำเลยไม่มีอำนาจบังคับชำระหนี้โดยลำพังได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลย
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย มีผลเท่ากับเป็นทวงถามให้ชำระหนี้เท่านั้น เพราะจำเลยไม่มีอำนาจบังคับชำระหนี้โดยลำพังได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานเกินเวลาและค่าจ้าง: สัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันและรับค่าจ้างรายเดือนไม่ขัดกฎหมาย หากได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน
กรณีที่อธิบดีกรมแรงงานอนุญาตให้นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายได้นั้น นายจ้างกับลูกจ้างย่อมทำสัญญาให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาและจ่ายค่าจ้างกันเท่าใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยรับค่าจ้างเป็นรายเดือนอันมิใช่เป็นกรณีที่นายจ้างเพิ่มชั่วโมงทำงานในภายหลังและไม่ปรากฏว่าค่าจ้างต่ำกว่าอันตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ข้อตกลงนี้ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและผูกพันลูกจ้างกับนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแทนค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งรถไฟ
จำเลยให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นนายสถานีหรือผู้ช่วยทำงานวันละ 12 ชั่วโมงมานานแล้ว โดยจำเลยจ่ายแต่เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มให้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เพราะงานที่ทำเป็นงานขบวนการจัดงานรถไฟและงานขนส่ง ดังนี้ ลูกจ้างต้องผูกพันได้รับเพียงค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำเกินวันละ 8 ชั่วโมงอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: สัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว ไม่ต้องขออนุญาตเลิกจ้างตามมาตรา 52 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
นายจ้างยื่นคำร้องขอเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าตามคำร้องเป็นเรื่องสัญญาจ้างแรงงานระหว่างผู้ร้องกับลูกจ้างสิ้นสุดลงก่อนแล้ว การสั่งยกคำร้องดังกล่าวโดยยังมิได้สืบพยานหรือมิได้วินิจฉัยตามประเด็นข้อต่อสู้ของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางยกเรื่องอำนาจฟ้องของผู้ร้องมาวินิจฉัยก่อนว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องไม่ใช่เหตุซึ่งจะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 ซึ่งศาลแรงงานกลางมีอำนาจกระทำ ได้ ไม่ใช่เป็นกรณีที่ดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาคำร้องเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว
นายจ้างยื่นคำร้องขอเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าตามคำร้องเป็นเรื่องสัญญาจ้างแรงงานระหว่างผู้ร้องกับลูกจ้างสิ้นสุดลงก่อนแล้ว การสั่งยกคำร้องดังกล่าวโดยยังมิได้สืบพยานหรือมิได้วินิจฉัยตามประเด็นข้อต่อสู้ของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางยกเรื่องอำนาจฟ้องของผู้ร้องมาวินิจฉัยก่อนว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องไม่ใช่เหตุซึ่งจะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 52 ซึ่งศาลแรงงานกลางมีอำนาจกระทำ ได้ ไม่ใช่เป็นกรณีที่ดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอยู่ในความอุปการะของผู้อื่นเพื่อสิทธิประโยชน์ทางบำเหน็จบำนาญ พิจารณาจากพฤติการณ์และฐานะทางเศรษฐกิจ
บ. ผู้ตายซึ่งเป็นปู่ของโจทก์ได้เลี้ยงดูช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์มาตั้งแต่โจทก์อายุ 7 เดือน จน บ. ถึงแก่กรรม บ. มีอำนาจส่งโจทก์ไปอยู่กับผู้อื่น ณ ที่ใดก็ได้ ยามใดมีโอกาสเลี้ยงดูโจทก์ด้วยตนเองก็รับโจทก์มาอยู่ด้วย ไม่เคยส่งโจทก์ไปอยู่กับบิดาโจทก์ถือได้ว่าโจทก์อยู่ในอุปการะของ บ. ตลอดมา โดยโจทก์จำเป็นต้องมีผู้อุปการะเพราะบิดาโจทก์ฐานะไม่ดี มารดาก็ทอดทิ้งมิได้เหลียวแล ความตายของ บ. ทำให้โจทก์เดือดร้อนเพราะขาดอุปการะโจทก์จึงเป็นผู้อยู่ในอุปการะของ บ. ผู้ตายตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 4 และมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตาม มาตรา 44 โดยอนุโลม
โจทก์ขอรับเงินสงเคราะห์ตกทอด จำเลยปฏิเสธการจ่าย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
โจทก์ขอรับเงินสงเคราะห์ตกทอด จำเลยปฏิเสธการจ่าย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการอนุมัติลาของนายจ้างเป็นดุลยพินิจ ไม่ผูกมัดต้องอนุมัติทุกครั้ง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีข้อความว่า "บริษัทฯยินดีพิจารณาให้กรรมการและอนุกรรมการบริหารสหภาพฯลาเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ โดยประธานสหภาพ ฯ ทำหนังสือยื่นต่อฝ่ายจัดการเพื่ออนุมัติเป็นคราวๆไป โดยบริษัท ฯ จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่" นั้นแสดงว่า กรณีที่กรรมการขอลาไปประกอบกิจกรรมของสหภาพ ฯ บริษัทนายจ้างมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ตามที่เห็นสมควร