คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,754 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036-9262/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกจ้างไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงจ่ายโบนัส แม้มีการระงับกิจการแต่ต้องจ่ายโบนัสตามข้อตกลง
จำเลยอุทธรณ์ว่า การเลิกจ้างพนักงานของจำเลย เป็นการเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดเพราะจำเลยได้รับคำสั่งจากกระทรวงการคลังให้ระงับการดำเนินกิจการเป็นการถาวร เมื่อจำเลยถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการแล้วก็ไม่มีเหตุจำต้องจ้างพนักงานทั้งหมด หากจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตเหตุใดเมื่อเลิกจ้างพนักงานแล้วจึงไม่จ้างพนักงานให้กลับเข้ามาทำงานทั้งหมด แต่จำเลยเลือกจ้างเพียงบางตำแหน่งเพื่อให้เข้ามาจัดการส่งมอบงานให้แก่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำตามคำสั่งของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน จึงเป็นการเลิกจ้างโดยสุจริต คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองร้อยยี่สิบเจ็ด ก่อนถึงวันจ่ายค่าจ้างและเงินโบนัสเพียง 1 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัส ในวันเดียวกันนั้นเองหลังจากเลิกจ้างแล้วจำเลยยังว่าจ้างพนักงานรวมทั้งโจทก์บางคนกลับเข้าทำงานอีก พฤติการณ์และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองร้อยยี่สิบเจ็ดโดยไม่สุจริต อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดเป็นนโยบายเอาไว้ว่าจะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานภายในสิ้นปีของทุก ๆ ปีเพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงาน ทั้งนี้พนักงานจะต้องมีสภาพเป็นพนักงานอยู่จนถึงวันจ่ายเงินโบนัส โดยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยฉบับนี้มิได้มีเงื่อนไขระบุว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานต่อเมื่อจำเลยดำเนินกิจการมีกำไร ดังนี้ การจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวจึงหมายถึงจำเลยตกลงจ่ายเงินแก่พนักงานเพื่อเป็นรางวัลหรือความดีความชอบที่พนักงานนั้น ๆ อยู่ทำงานกับจำเลยจนถึงวันจ่ายเงินโบนัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966-6971/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: เงินจากโครงการเกษียณอายุถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย หากรวมแล้วสูงกว่าตามกฎหมาย นายจ้างไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า ถ้าผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับตามโครงการเกษียณอายุก่อนเวลาปกติน้อยกว่าค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานกรณีการเลิกจ้างตามปกติ บริษัทจะจ่ายเงินส่วนที่ขาดอยู่นั้นให้ และจำนวนเงินทั้งหมดที่ลูกจ้างได้รับจากโครงการเกษียณอายุก่อนเวลาปกติให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจ่าย ค่าชดเชยการเลิกจ้างนั้นด้วย ดังนั้น เงินผลประโยชน์ตามโครงการดังกล่าวที่จำเลยจ่ายไปจึงมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว เงินผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจึงมี ค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว และเงินผลประโยชน์ดังกล่าวก็มีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างรายวันเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุว่า "จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวันตามอายุงานดังนี้ อายุงานครบ 15 ปี ไม่ครบ 20 ปี เพิ่มให้ 2 เดือน อายุงานครบ 20 ปี ไม่ครบ 25 ปี เพิ่มให้ 3 เดือน อายุงานครบ 25 ปี ไม่ครบ 30 ปี เพิ่มให้ 4 เดือน อายุงานครบ 30 ปี เพิ่มให้ 5 เดือน" เห็นได้ว่า จำเลยตกลง จ่ายเงินทั้ง 2 ประเภท คือ ค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษ ให้แก่ลูกจ้าง เฉพาะค่าชดเชยเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการ จ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชย จำเลยตกลงจ่ายเงินเพิ่ม เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุ และถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ มิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับ เงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลทางธุรกิจและความจำเป็นในการลดกำลังคน
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่ง การเลิกจ้างหรือไม่ และมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ เป็นสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อน หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงอยู่ต่อไป โดยหวังว่า กิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่ย่อม เป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ระเบียบข้อบังคับกำหนดว่า จำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไปโดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ซึ่งหมายความว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย วันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงานนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่ง อธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิ คิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างโบนัส: การผูกพันตามสัญญาเฉพาะเจาะจงเหนือกว่าระเบียบข้อบังคับ
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง และตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ 4 เดือน จึงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวตลอดเวลาที่โจทก์และจำเลยยังเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันอยู่ ตามสัญญาจ้างดังกล่าวมิได้ระบุกำหนดข้อยกเว้นในกรณีที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปี ลดเงินโบนัสประจำปีหรือจำกัดการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตลอดทั้งปี จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้าง
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่าการจ่ายโบนัส จำเลยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาทำงาน ความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในรอบปีที่ผ่านมา การจ่ายเงินโบนัสตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่แน่นอนว่าลูกจ้างแต่ละคนจะได้เงินโบนัสประจำปีจำนวนเท่าใด ทั้งแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากันซึ่งถ้านำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ โจทก์อาจจะได้เงินโบนัสประจำปีในแต่ละปีไม่แน่นอนและอาจจะได้ไม่ถึงปีละ 4 เดือน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง และถ้าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสประจำปีมากน้อยตามผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานความประพฤติ และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ก็สามารถนำระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ เช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว หาจำต้องตกลงจ่ายเงินโบนัสไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างให้ผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกไม่ การที่โจทก์จำเลยตกลงการจ่ายเงินโบนัสประจำปีไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้ผูกพันกันในกรณีการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว
สัญญาจ้างระบุไว้เพียงว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี4 เดือน โดยมิได้ระบุว่าจำเลยตกลงจ่ายให้เฉพาะปีแรก เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติงานในปีที่เกิดกรณีพิพาท โจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน จำเลยจึงมีความผูกพันต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้างนั้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างระบุโบนัส 4 เดือน มีผลผูกพัน แม้ระเบียบบริษัทจะกำหนดหลักเกณฑ์อื่น
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง และตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ 4 เดือน จึงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวตลอดเวลาที่โจทก์และจำเลยยังเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันอยู่ ตามสัญญาจ้างดังกล่าวมิได้ระบุกำหนดข้อยกเว้นในกรณีที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีลดเงินโบนัสประจำปีหรือจำกัดการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตลอดทั้งปี จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้าง แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่า การจ่ายโบนัส จำเลยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาทำงาน ความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในรอบปี ที่ผ่านมา การจ่ายเงินโบนัสตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่แน่นอนว่าลูกจ้างแต่ละคนจะได้เงินโบนัสประจำปีจำนวนเท่าใด ทั้งแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากันซึ่งถ้านำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ โจทก์อาจจะได้เงินโบนัสประจำปีในแต่ละปีไม่แน่นอนและอาจ จะได้ไม่ถึงปีละ 4 เดือน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง และถ้า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสประจำปีมากน้อยตาม ผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานความประพฤติ และการปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับเช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ก็สามารถนำ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ แก่โจทก์ เช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว หากจำต้องตกลง จ่ายเงินโบนัสไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างให้ผิดแผก ไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกไม่ การที่โจทก์จำเลยตกลงการจ่ายเงินโบนัสประจำปีไว้ โดยเฉพาะในสัญญาจ้างเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้ผูกพันกันในกรณีการจ่ายเงินโบนัส ประจำปีให้โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว สัญญาจ้างระบุไว้เพียงว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน โดยมิได้ระบุว่าจำเลยตกลงจ่ายให้เฉพาะปีแรก เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติงานในปีที่เกิดกรณีพิพาท โจทก์ มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน จำเลยจึงมี ความผูกพันต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้างนั้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงส่วนแบ่งกำไรผูกพันนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามตกลง การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต้องได้รับความยินยอม
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้
คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่าผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายส่วนแบ่งกำไรโดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นการผิดสัญญา
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลย ตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยจำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจาก โจทก์ก่อนได้ คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่า ผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับค่าจ้างของลูกจ้างรายเดือน แม้ขาดงาน นายจ้างต้องมีสิทธิหักค่าจ้างตามข้อตกลงหรือระเบียบชัดเจน
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนของจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเดือน เมื่อไม่มีข้อตกลงหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สิทธิแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่มาทำงานหรือขาดงานโดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขาดงานและทำงานไม่ครบเวลาในเดือนมีนาคมและเมษายน 2540 ก็ตาม ก็มิใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 และ 421จำเลยย่อมไม่มีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ขาดงานโดยมิชอบนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้าง: นายจ้างหักค่าจ้างโดยไม่ชอบ
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนของจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเดือน เมื่อไม่มีข้อตกลงหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สิทธิแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่มาทำงานหรือขาดงานโดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขาดงานและทำงานไม่ครบเวลาในเดือนมีนาคมและเมษายน 2540 ก็ตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ขาดงานโดยมิชอบนั้นได้
of 176