พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,754 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายโบนัสพิจารณาจากผลงานย้อนหลัง การกระทำผิดหลังประเมินผลไม่เป็นเหตุให้ไม่จ่ายโบนัส
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสกำหนดให้การประเมินผลพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยคิดจากผลงานตั้งแต่วันที่1พฤศจิกายน2536ถึงวันที่30ตุลาคม2537ซึ่งระหว่างวันเวลาดังกล่าวไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือมีเหตุอื่นอันสมควรที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสจำเลยจะนำเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดโดยเล่นการพนันเมื่อวันที่17พฤศจิกายน2537ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากการคิดประเมินผลพนักงานดังกล่าวแล้วมาอ้างเป็นเหตุว่าโจทก์ไม่ควรมีสิทธิได้รับเงินโบนัสไม่ได้ ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปีศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสพนักงาน: เหตุผลการไม่จ่ายต้องอ้างอิงช่วงเวลาประเมินผล
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสกำหนดให้การประเมินผลพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยคิดจากผลงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน2536 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2537 ซึ่งระหว่างวันเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย หรือมีเหตุอื่นอันสมควรที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับเงินโบนัส จำเลยจะนำเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดโดยเล่นการพนันเมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากการคิดประเมินผลพนักงานดังกล่าวแล้วมาอ้างเป็นเหตุว่าโจทก์ไม่ควรมีสิทธิได้รับเงินโบนัสไม่ได้
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปี ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปี ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับเงื่อนไขรัฐวิสาหกิจที่ดีมีผลผูกพันตลอดสัญญา - เงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860บาทคูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำนาญที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้วโจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับเงื่อนไขการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และผลกระทบต่อการคำนวณเงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860 บาท คูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำเหน็จที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกเอง vs. การเลิกจ้าง และดุลพินิจการจ่ายโบนัส
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในข้อ46วรรคแรกว่า"ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง"หมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างดังนี้การที่โจทก์ลูกจ้างมีหนังสือถึงจำเลยนายจ้างอ้างถึงสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยและมีข้อความตอนหนึ่งว่า"ผม(หมายถึงโจทก์)จะไม่ต่อสัญญาผมจึงพร้อมที่จะไปจากที่ทำงานในวันหมดอายุของสัญญา"ซึ่งข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จะไม่ทำงานให้จำเลยต่อไปเมื่อครบอายุสัญญาถือได้ว่าโจทก์ขอลาออกเองจำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์แม้ในหนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยนั้นจะได้เรียกร้องค่าชดเชยด้วยก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด เงินโบนัสมิใช้เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปีซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงานจึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวการที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปีและปี2536ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้นเมื่อการประเมินผลงานในปี2537ปีที่พิพาทกันโจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมากการที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือนในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนจึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกเอง vs. การเลิกจ้าง และดุลพินิจการจ่ายโบนัส
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในข้อ 46 วรรคแรกว่า "ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง..." หมายความว่า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ดังนี้ การที่โจทก์ลูกจ้างมีหนังสือถึงจำเลยนายจ้างอ้างถึงสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย และมีข้อความตอนหนึ่งว่า "ผม (หมายถึงโจทก์)จะไม่ต่อสัญญา ผมจึงพร้อมที่จะไปจากที่ทำงานในวันหมดอายุของสัญญา..."ซึ่งข้อความดังกล่าวแสดงว่า โจทก์จะไม่ทำงานให้จำเลยต่อไปเมื่อครบอายุสัญญาถือได้ว่าโจทก์ขอลาออกเอง จำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แม้ในหนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยนั้นจะได้เรียกร้องค่าชดเชยด้วย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด
เงินโบนัสมิใช่เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้ เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงาน จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2536 ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้น เมื่อการประเมินผลงานในปี 2537 ปีที่พิพาทกัน โจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมาก การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือน ในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
เงินโบนัสมิใช่เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้ เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงาน จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2536 ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้น เมื่อการประเมินผลงานในปี 2537 ปีที่พิพาทกัน โจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมาก การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือน ในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตระเบียบการลาศึกษาและการชดใช้เงิน กรณีการฝึกอบรมที่ไม่ใช่การศึกษาเพื่อปริญญาที่สูงขึ้น
ระเบียบของโจทก์ที่กำหนดว่าพนักงานที่ลาไปศึกษาเมื่อได้ศึกษาสำเร็จแล้วจะต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าเท่าของเวลาที่ได้ลาไปมิฉะนั้นต้องชดใช้เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้และค่าความเสียหายในระหว่างหรือเนื่องจากการลานั้นหมายถึงกรณีที่พนักงานลาไปศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียนต่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรีเท่านั้นแต่กรณีจำเลยเป็นการไปรับฝึกอบรมในหลักสูตรเทคนิคอลเพาเวอร์ดิสตริบิวชั่นออฟอีเลคทริคเพาเวอร์เนทเวิร์คที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดยได้รับทุนจากรัฐบาลประเทศดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายบางส่วนและโจทก์จ่ายสมทบให้อีกบางส่วนโดยจำเลยไม่ได้ทำสัญญาผูกพันกับโจทก์ว่าจำเลยจะกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินจำนวนใดๆให้แก่โจทก์การไปฝึกอบรมของจำเลยจึงไม่ใช่เพื่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรีอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีความผูกพันต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามระเบียบดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตระเบียบการลาศึกษาต่อ: การฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคอลไม่ผูกพันการชดใช้
ระเบียบของโจทก์ที่กำหนดว่า พนักงานที่ลาไปศึกษาเมื่อได้ศึกษาสำเร็จแล้วจะต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าเท่าของเวลาที่ได้ลาไป มิฉะนั้นต้องชดใช้เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้และค่าความเสียหายในระหว่างหรือเนื่องจากการลานั้น หมายถึง กรณีที่พนักงานลาไปศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียนต่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรีเท่านั้นแต่กรณีจำเลยเป็นการไปรับการฝึกอบรมในหลักสูตรเทคนิคอล เพาเวอร์ดิสตริบิวชั่น ออฟ อีเลคทริค เพาเวอร์ เนทเวิร์ค ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐ-เยอรมัน โดยได้รับทุนจากรัฐบาลประเทศดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายบางส่วนและโจทก์จ่ายสมทบให้อีกบางส่วน โดยจำเลยไม่ได้ทำสัญญาผูกพันกับโจทก์ว่าจำเลยจะกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ การไปฝึกอบรมของจำเลยจึงไม่ใช่เพื่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรี อันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีความผูกพันต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามระเบียบดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126-5127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา การคืนเงินประกัน การปฏิเสธโดยไม่ยกเงื่อนเวลา
ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคท้าย (ที่ตรวจชำระใหม่) ไม่ได้บัญญัติว่า การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาจะต้องทำโดยชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น เมื่อมีพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้วก็บังคับได้ตามนั้น
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างหลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยภายในสามสิบวัน เป็นเงื่อนเวลาในการที่ลูกจ้างของจำเลยจะเรียกเงินประกันคืนซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นขึ้นปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ลูกจ้างของจำเลยได้เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนดดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนด จำเลยก็หาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่ จำเลยกลับปฏิเสธว่าโจทก์ก่อความเสียหายให้แก่จำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้สละเสียซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างหลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยภายในสามสิบวัน เป็นเงื่อนเวลาในการที่ลูกจ้างของจำเลยจะเรียกเงินประกันคืนซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นขึ้นปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ลูกจ้างของจำเลยได้เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนดดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนด จำเลยก็หาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่ จำเลยกลับปฏิเสธว่าโจทก์ก่อความเสียหายให้แก่จำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้สละเสียซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014-3018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการเงินตอบแทนพิเศษ: มติคณะกรรมการไม่ใช่เงื่อนไขการจ่าย แต่เป็นวิธีดำเนินการ นายจ้างต้องจ่ายเมื่อลูกจ้างไม่ผิดวินัย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างระบุว่า"บริษัทให้เงินตอบแทนพิเศษแก่พนักงานที่ทำงานครบ5ปีแล้วลาออกให้เงินตอบแทน50วันของค่าแรงขณะนั้นทำงานเกิน10ปีแล้วลาออกให้เงินตอบแทนไม่น้อยกว่า300วันของค่าแรงขณะนั้นแต่ต้องผ่านมติของคณะกรรมการผู้ที่ทำผิดถูกไล่ออกเงินตอบแทนนี้ไม่จ่ายให้เลย"การจ่ายเงินตอบแทนพิเศษนี้เป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งซึ่งนายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างทุกคนอันถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยตามถ้อยคำนายจ้างประสงค์จะให้สวัสดิการอันมีลักษณะเป็นการจูงใจพนักงานให้ทำงานอยู่กับบริษัทของนายจ้างเป็นเวลานานปีและหากพนักงานดังกล่าวได้ทำงานครบห้าปีหรือครบสิบปีแล้วลาออกจากงานก็จะได้เงินตอบแทนพิเศษตามอัตราที่กำหนดไว้ทุกคนนายจ้างจะไม่จ่ายเงินตอบแทนพิเศษดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่กระทำผิดและถูกไล่ออกเท่านั้นสำหรับถ้อยคำที่นายจ้างกำหนดไว้ว่าแต่ต้องผ่านมติของคณะกรรมการนั้นเป็นเพียงวิธีดำเนินการของนายจ้างฝ่ายเดียวเท่านั้นมิใช่เป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินตอบแทนพิเศษเพราะหากเป็นเงื่อนไขก็จะทำให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปตามความพอใจของนายจ้างหรือการพิจารณาของคณะกรรมการเป็นรายๆไปอันเป็นช่องทางก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นได้เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างทำผิดถูกไล่ออกตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้างต้นนายจ้างก็ต้องจ่ายเงินตอบแทนพิเศษให้แก่ลูกจ้างนั้น