คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808-2812/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 1ได้รับคำร้อง ของ โจทก์ทั้งห้าไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 แจ้งแก่ น.ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทั้งห้าว่า ยังไม่สามารถออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งห้าได้ เนื่องจากจะต้องส่งเรื่องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณาก่อนได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป ดังนี้ แสดงว่า จำเลยที่ 2ได้ปฏิบัติตามหน้าที่โดยถูกต้องแล้ว แต่ยังไม่อาจดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งห้าในทันทีได้ ก็เพราะกำลังรอการพิจารณาสั่งการจากทางราชการตามสายงานการบังคับบัญชาก่อนดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าก็ปรากฏแล้วว่า จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และการพิสูจน์สถานะการเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้มีคำสั่งให้นายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองนครพนมแก้ไขสัญชาติของโจทก์ทั้งสองในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ทั้งสองจากสัญชาติไทยเป็นสัญชาติญวนและนายทะเบียนท้องถิ่นได้ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วแม้การออกคำสั่งนั้นจะเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และระเบียบแบบแผนของทางราชการก็ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง บิดามารดาของโจทก์ทั้งสองเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน2483แต่มิได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวภายใน30วันตามความในมาตรา5แห่งพ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าวพุทธศักราช2479จนกระทั่งวันที่22สิงหาคม2488จึงได้ขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเช่นนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นพ.ร.บ.คนเข้าเมืองพุทธศักราช2480มาตรา29ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบิดามารดาของโจทก์ทั้งสองเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าบิดามารดาของโจทก์ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองจึงต้องถือว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นบิดามารดาของโจทก์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ข้อ1(3) โจทก์ที่1เกิดในประเทศไทยในระหว่างที่บิดามารดายังมิได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจึงถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่บิดามารดาของโจทก์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์ที่1จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ส่วนโจทก์ที่2เกิดหลังจากที่บิดามารดาได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วกรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์ที่2จะถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในไทย และผลของการเดินทางออกนอกประเทศโดยใช้แบบ ต.ม.13
ผู้ร้องเกิดในประเทศไทยจากบิดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยมารดาพาออกไปนอกราชอาณาจักรโดยแสดงหลักฐานการแจ้งออกเพื่อกลับเข้ามาตามแบบ ต. มาตรา13 ไม่ใช่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวผู้ร้องไม่เสียสัญชาติไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญชาติ: ผลของกฎหมายสัญชาติฉบับต่างๆ ต่อผู้เกิดในไทยแต่มีบิดาเป็นต่างด้าว
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งขาดจากสัญชาติไทย.หากได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 4. แต่เมื่อภายหลังมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด. ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ขาดจากสัญชาติไทยตามมาตรา 16 ทวิ ดังกล่าว ได้สัญชาติไทยกลับคืนมาตามเดิมโดยอาศัยพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้.(เทียบฎีกาที่ 558/2506).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับคืนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในไทยแต่บิดาเป็นต่างด้าวและเคยได้รับใบสำคัญคนต่างด้าว ตามกฎหมายสัญชาติที่เปลี่ยนแปลง
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งขาดจากสัญชาติไทย.หากได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 แต่เมื่อภายหลังมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ขาดจากสัญชาติไทยตามมาตรา 16 ทวิ ดังกล่าว ได้สัญชาติไทยกลับคืนมาตามเดิมโดยอาศัยพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้ (เทียบฎีกาที่ 558/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับคืนสัญชาติไทยหลังเสียสัญชาติเนื่องจากบิดาเป็นต่างด้าวและมีกฎหมายแก้ไขภายหลัง
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งขาดจากสัญชาติไทย หากได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 4 แต่เมื่อภายหลังมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ขาดจากสัญชาติไทยตามมาตรา 16 ทวิ ดังกล่าว ได้สัญชาติไทยกลับคืนมาตามเดิมโดยอาศัยพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้ (เทียบฎีกาที่ 558/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องต้องเกิดจากการถูกโต้แย้งสิทธิ แม้เป็นคนไทยแต่ไม่มีการโต้แย้งสิทธิจากจำเลย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ฟ้องผู้บังคับกองตำรวจภูธร ในฐานะนายทะเบียนคนต่างด้าวอ้างว่า จำเลยบังคับให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทย ใบสำคัญเป็นโมฆะ ให้ห้ามจำเลยอย่าให้บังคับให้ต่ออายุ เช่นนี้แม้โจทก์จะเป็นคนไทย แต่เมื่อทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้บังคับโจทก์ให้ชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุ หรือได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใด โจทก์ก็ยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษปรับรายปีสำหรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบสำคัญประจำตัว และขอบเขตการลงโทษภายในอายุความ
ความผิดฐานเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อันเป็นผิดตาม พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว 2493 มาตรา 5,20 นั้น ศาลจะลงโทษได้ในปีสุดท้าย(ซึ่งอยู่ในอายุความ)ปีเดียว คือปรับไม่เกิน 500 บาทเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยไม่สิ้นสุดจากการสมรสกับชาวต่างชาติและการรับใบสำคัญคนต่างด้าว
เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเสียสัญชาติไทยโดยการสมรสกับคนต่างด้าว ดังนี้ปัญหาที่ว่าจำเลยยังเป็นคนไทยหรือต่างด้าวนั้นต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.สัญชาติซึ่งใช้อยู่ขณะจำเลยทำการสมรส กล่าวคือ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2456 ม.4เมื่อโจทก์ไม่ได้สืบตาม พ.ร.บ.นี้ให้ปรากฎว่า ก.ม.แห่งสัญชาติสามีบัญญัติให้หญิงไทยถือเอาสัญชาติของสามีได้ ดังนี้ถือว่าจำเลยสละสัญชาติไทยแล้วไม่ได้
พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2479 ม.7 ซึ่งบัญญัติว่า "หญิงซึ่งมีสัญชาติไทย ถ้าต้องสละสัญชาติไทยเพราะสมรสกับคนต่างด้าวให้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว" นั้นหาได้หมายความว่าหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าวและไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วถือว่าสละสัญชาติไทยไม่
เมื่อถือว่าจำเลยไม่ได้สละสัญชาติไทยคือยังเป็นคนไทยอยู่ก็ไม่จำต้องให้จำเลยร้องฟ้องขอให้ได้มาซึ่งสัญชาติหรือฟ้งอร้องผู้โต้แย้งตนว่าไม่ใช่คนไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยไม่สิ้นสุดจากการสมรสกับชาวต่างชาติและการรับใบสำคัญคนต่างด้าว
เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเสียสัญชาติไทยโดยการสมรสกับคนต่างด้าว ดังนี้ปัญหาที่ว่าจำเลยยังเป็นคนไทยหรือต่างด้าวนั้นต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติสัญชาติซึ่งใช้อยู่ขณะจำเลยทำการสมรส กล่าวคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 มาตรา 4 เมื่อโจทก์ไม่ได้สืบตาม พระราชบัญญัตินี้ให้ปรากฏว่ากฎหมายแห่งสัญชาติสามีบัญญัติให้หญิงไทยถือเอาสัญชาติของสามีได้ ดังนี้ถือว่าจำเลยสละสัญชาติไทยแล้วไม่ได้
พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2479 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า "หญิงซึ่งมีสัญชาติไทย ถ้าต้องสละสัญชาติไทยเพราะสมรสกับคนต่างด้าวให้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว"นั้นหาได้หมายความว่าหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าวและไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วถือว่าสละสัญชาติไทยไม่
เมื่อถือว่าจำเลยไม่ได้สละสัญชาติไทยคือยังเป็นคนไทยอยู่ก็ไม่จำต้องให้จำเลยร้องฟ้องขอให้ได้มาซึ่งสัญชาติหรือฟ้องร้องผู้โต้แย้งตนว่าไม่ใช่คนไทย
of 2