พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิจากครอบครองปรปักษ์ต้องมีส่วนได้เสียในประเด็นที่ฟ้อง และมีคำขอบังคับ
คำร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงร้องขอเข้ามาเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิ์ของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) จึงเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาล โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่คำร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้างทั้งไม่มีคำขอบังคับมาด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดที่อ้างแต่การครอบครองปรปักษ์โดยไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งปลูกสร้างในคดี ไม่มีประโยชน์ จึงไม่ต้องรับ
คำร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงร้องขอเข้ามาเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิ์ของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) จึงเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่คำร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้าง ทั้งไม่มีคำขอบังคับมาด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่คำร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้าง ทั้งไม่มีคำขอบังคับมาด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบฉันทะขอเลื่อนคดี: ต้องทำตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. และการแถลงขอเลื่อนคดีด้วยวาจาต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความ
การมอบฉันทะและการขอเลื่อนคดี ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ คำขอเลื่อนคดีด้วยวาจานั้น ตัวความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเอง มิฉะนั้นจะต้องทำคำขอเลื่อนคดีเป็นลายลักษณ์อักษรและมอบฉันทะให้บุคคลใด บุคคลหนึ่งนำมายื่นต่อศาล ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ไม่มีอำนาจแถลงด้วยวาจาขอเลื่อนคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่ความต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล คณะบุคคลไม่สามารถเป็นคู่ความได้
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้จะต้องเป็นบุคคลซึ่งได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคณะบุคคลเป็นเพียงกลุ่มบุคคล ไม่ใช่บุคคลธรรมดาและไม่ใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลของการถอนตัวทนายก่อนจำเลยทราบ & การมีอยู่ของทนายในวันนัด
วันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยมาศาลยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอโดยจำเลยไม่มาศาลและไม่ปรากฏว่าได้ทราบคำขอของทนายความแล้วหาได้ไม่ ทั้งเมื่อทนายของจำเลยมาศาลในวันนัดแล้วเช่นนี้ การที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาคดีไปนั้น จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีแต่ละโจทก์แยกกัน และการไม่มีผลเสียจากการไม่เบิกความของจำเลย
คดีที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55. โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลโดยลำพัง. ฉะนั้น แม้โจทก์จะฟ้องมาในคดีเดียวกัน ก็ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคนแยกกัน. เมื่อปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท.และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. โจทก์แต่ละคนจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2511).
การที่จำเลยที่ 2 ไม่เข้าเบิกความเป็นพยาน. ไม่มีกฎหมายตัดสิทธิ.มิให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบ.หรือบัญญัติว่าจะเอาคำเบิกความของพยานนั้นหรือคำเบิกความของจำเลยด้วยกันมาฟังเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้.
การที่จำเลยที่ 2 ไม่เข้าเบิกความเป็นพยาน. ไม่มีกฎหมายตัดสิทธิ.มิให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบ.หรือบัญญัติว่าจะเอาคำเบิกความของพยานนั้นหรือคำเบิกความของจำเลยด้วยกันมาฟังเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์คดีแพ่งแต่ละโจทก์, ข้อจำกัดการฎีกา, การนำสืบพยานจำเลย
คดีที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลโดยลำพัง ฉะนั้น แม้โจทก์จะฟ้องมาในคดีเดียวกัน ก็ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์แต่ละคนจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2511)
การที่จำเลยที่ 2 ไม่เข้าเบิกความเป็นพยาน ไม่มีกฎหมายตัดสิทธิมิให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบหรือบัญญัติว่าจะเอาคำเบิกความของพยานนั้นหรือคำเบิกความของจำเลยด้วยกันมาฟังเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้
การที่จำเลยที่ 2 ไม่เข้าเบิกความเป็นพยาน ไม่มีกฎหมายตัดสิทธิมิให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบหรือบัญญัติว่าจะเอาคำเบิกความของพยานนั้นหรือคำเบิกความของจำเลยด้วยกันมาฟังเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนในคดีที่ฟ้องร่วมกัน และสิทธิในการนำสืบพยานของจำเลย
คดีที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลโดยลำพัง ฉะนั้น แม้โจทก์จะฟ้องมาในคดีเดียวกัน ก็ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์แต่ละคนจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2511)
การที่จำเลยที่ 2 ไม่เข้าเบิกความเป็นพยาน ไม่มีกฎหมายตัดสิทธิ มิให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบหรือบัญญัติว่าจะเอาคำเบิกความของพยานนั้นหรือคำเบิกความของจำเลยด้วยกันมาฟังเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้
การที่จำเลยที่ 2 ไม่เข้าเบิกความเป็นพยาน ไม่มีกฎหมายตัดสิทธิ มิให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบหรือบัญญัติว่าจะเอาคำเบิกความของพยานนั้นหรือคำเบิกความของจำเลยด้วยกันมาฟังเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177-1178/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องเพิ่มเติมและการไม่ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มค่าเสียหายให้โจทก์ได้
เดิม คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงิน 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้เพิ่มเติมฟ้องเฉพาะคำขอข้อนี้ว่า ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงินปีละ 750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คนละ 750 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ. โจทก์มิได้ฎีกา เป็นแต่ยื่นคำแถลงการณ์ว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ไม่ชัดเจนขอให้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามที่โจทก์กล่าวในคำแถลงการณ์ จะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่ได้พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม หากโจทก์ไม่พอใจ ก็ชอบที่จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาย่อมจะแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177-1178/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องและการฎีกา ศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มค่าเสียหายจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้หากไม่ได้ฎีกา
เดิม คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงิน 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ. ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้เพิ่มเติมฟ้องเฉพาะคำขอข้อนี้ว่า ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงินปีละ 750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์. ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว.แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คนละ750 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ. โจทก์มิได้ฎีกา. เป็นแต่ยื่นคำแถลงการณ์ว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ไม่ชัดเจนขอให้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์. ดังนี้ การที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามที่โจทก์กล่าวในคำแถลงการณ์ จะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์. เป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น. แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่ได้พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม. หากโจทก์ไม่พอใจ. ก็ชอบที่จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์. แต่เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา. ศาลฎีกาย่อมจะแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่ได้.