คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 988

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
แม้ พ. จะเป็นภรรยาเจ้าหนี้ แต่หนี้ที่ลูกหนี้มีต่อ พ. กับหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้เป็นหนี้ต่างรายกัน และเป็นเจ้าหนี้คนละคน ฉะนั้น การนำเอาหนี้ที่มีต่อ พ. มาแถลงเป็นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ซึ่งต้องบังคับตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา349 วรรคท้ายแต่คู่กรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวฉะนั้น การแปลงหนี้ตามเช็คในส่วนของพ. มาเป็นหนี้เงินกู้ของเจ้าหนี้ จึงไม่สมบูรณ์ เจ้าหนี้จะนำเอาหนี้จำนวนนี้มารวมกับหนี้ของเจ้าหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ด้วยไม่ได้
หนี้ตามเช็คที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ แม้ว่าเช็คจะไม่ได้ลงวันที่ แต่ลูกหนี้ก็เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงเมื่อมีหนี้ต่อกันแล้วคู่กรณีก็อาจแปลงหนี้ให้เป็นหนี้เงินกู้ได้ หนี้ตามสัญญากู้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้จึงมีผลสมบูรณ์
คดีพิพาทกันด้วยเรื่องคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งมีบัญญัติไว้เป็นกฎหมายพิเศษอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 มาตรา 11 ฉะนั้นค่าขึ้นศาลชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจึงต้องเสียอัตราครั้งละสองร้อยบาท จะเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และศาลฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไม่ได้และจะเรียกเพียง 50 บาทอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ก็ไม่ได้ เพราะกรณีไม่ใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คโดยชอบ แม้ผู้สั่งจ่ายไม่มีเงินฝาก ผู้สลักหลัง/อาวัลร่วมรับผิด แม้มีการถอนฟ้องคดีอาญา
ผู้สั่งจ่ายเช็คไม่มีเงินฝากธนาคาร แต่ออกเช็คโดยใช้แบบพิมพ์เช็คของบุคคลอื่นเมื่อทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะที่บัญญัติไว้ในมาตรา 987, 988 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมเป็นเช็คโดยชอบหากผู้ทรงนำไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังหรือผู้รับประกันด้วยอาวัลย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
การที่ผู้ทรงเช็คเคยฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นคดีอาญา แล้วถอนฟ้องเสีย โดยยอมผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้สลักหลังหรือรับประกันด้วยอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
(ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คที่ออกโดยไม่มีเงินฝากแต่มีรายการครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังต้องรับผิดร่วมกันต่อผู้ทรง
ผู้สั่งจ่ายเช็คไม่มีเงินฝากธนาคาร แต่ออกเช็คโดยใช้แบบพิมพ์เช็คของบุคคลอื่นเมื่อทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะที่บัญญัติไว้ในมาตรา 987,988 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมเป็นเช็คโดยชอบหากผู้ทรงนำไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังหรือผู้รับประกันด้วยอาวัลย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
การที่ผู้ทรงเช็คเคยฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นคดีอาญา แล้วถอนฟ้องเสีย โดยยอมผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้สลักหลังหรือรับประกันด้วยอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง (ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คโดยชอบแม้ไม่มีเงินฝาก ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังร่วมรับผิดต่อผู้ทรง
ผู้สั่งจ่ายเช็คไม่มีเงินฝากธนาคาร. แต่ออกเช็คโดยใช้แบบพิมพ์เช็คของบุคคลอื่นเมื่อทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะที่บัญญัติไว้ในมาตรา 987, 988 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมเป็นเช็คโดยชอบ.หากผู้ทรงนำไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้. ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังหรือผู้รับประกันด้วยอาวัลย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง.
การที่ผู้ทรงเช็คเคยฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นคดีอาญา แล้วถอนฟ้องเสีย โดยยอมผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น. ไม่เป็นเหตุให้ผู้สลักหลังหรือรับประกันด้วยอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง. (ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738-740/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เกิดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์/เช็คไม่ใช่หลักฐานกู้ยืม: เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
การพิจารณาของศาลตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น อาจพิจารณาได้จากสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องออกนั่งพิจารณาฟังพยานหลักฐานอะไรอีกก็ได้
เจ้าหนี้ให้เงินตามจำนวนในเช็คแก่ลูกหนี้ไปแลกกับเช็คที่ลูกหนี้ออกให้ลงวันออกล่วงหน้าไว้ แต่วันที่ลงในเช็คเป็นวันภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เช็คนี้จึงเพิ่งเกิดมูลหนี้ขึ้นภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในฐานเป็นผู้ทรงเช็คหาได้ไม่และจะขอรับชำระหนี้จำนวนนี้ในฐานเป็นหนี้กู้ยืมในเมื่อไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมต่อกัน เพียงแต่ลูกหนี้ออกเช็คให้เจ้าหนี้ไว้เป็นหลักฐานเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเช็คไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม (อ้างฎีกาที่ 1595/2503) จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา94 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันออกเช็คตามกฎหมายคือวันลงในเช็ค แม้จะเขียนเช็คล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2499 จำเลยออกเช็คไม่มีเงิน ขอให้ลงโทษชั้นพิจารณาตัวโจทก์เบิกความว่า วันที่ 20 ส.ค. 2499 จำเลยเขียนเช็คและเอามาแลกเงินสดจากโจทก์ไป ในเช็คนั้นลงวันสั่งจ่าย วันที่ 29 ส.ค. 2499 เช่นนี้จะถือว่า ทางพิจารณาได้ความว่า ทำผิดวันที่ 20 ต่างกับฟ้องซึ่งระบุว่า จำเลยออกเช็ควันที่ 29 และยกฟ้องเสียเลย หาได้ไม่เพราะในกรณีเช่นนี้ถือว่าวันที่ 29 ส.ค. 2499 เป็นวันที่จำเลยออกเช็คส่วนวันที่ 20 ส.ค. 2499 นั้นเป็นเพียงวันเขียนเช็คและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้เพราะจำเลยรับว่า ได้ออกเช็คจริงแต่เป็นวันอื่น
(อ้างฎีกาที่ 415/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันออกเช็คตามกฎหมายคือวันลงในเช็ค แม้จะเขียนเช็คล่วงหน้า ก็ไม่ถือเป็นวันทำผิด
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2499 จำเลยออกเช็คไม่มีเงิน ขอให้ลงโทษชั้นพิจารณาตัวโจทก์เบิกความว่า วันที่ 20 ส.ค.2499 จำเลยเขียนเช็คและเอามาแลกเงินสดจากโจทก์ไป ในเช็คนั้นลงวันสั่งจ่าย วันที่ 29 ส.ค. 2499 เช่นนี้ จะถือว่า ทางพิจารณาได้ความว่า ทำผิดวันที่ 20 ต่างกับฟ้องซึ่งระบุว่า จำเลยออกเช็ควันที่ 29 และยกฟ้องเสียเลย หาได้ไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ถือว่า วันที่ 29 ส.ค. 2499 เป็นวันที่จำเลยออกเช็คส่วนวันที่ 20 ส.ค. 2499 นั้น เป็นเพียงวันเขียนเช็คและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้เพราะจำเลยรับว่า ได้ออกเช็คจริงแต่เป็นวันอื่น
(อ้างฎีกาที่ 415/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันล่วงหน้าใช้ได้, เช็คสั่งจ่ายเงินสด/ผู้ถือไม่โมฆะ, ผู้สั่งจ่ายงดจ่าย ผู้รับฟ้องบังคับได้
เช็คลงวันล่วงหน้านั้นย่อมมีผลใช้บังคับกันได้
การออกเช็คจ่ายเงินสดหรือแก่ผู้ถือนั้นใช้ได้ไม่จำต้องระบุชื่อผู้รับ
เมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คสั่งธนาคารงดจ่ายเงินตามเช็คเสียเองแล้วผู้รับเงินตามเช็คย่อมมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายขอให้ศาลบังคับได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันล่วงหน้ามีผลผูกพันผู้ออกเช็ค ผู้จัดการมรดกผู้ทรงเช็คมีสิทธิเรียกร้องได้
การออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้เขาไปนั้นเท่ากับผู้ออกเช็คสัญญาว่าตนจะรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นเมื่อถึงวันที่ลงไว้ผู้ทรงตั๋วนั้นโดยชอบก็ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วนั้น แม้หนี้นั้นจะยังไม่ถึงกำหนดและแม้ผู้ทรงตั๋วนั้นจะตายก่อนถึงวันที่ลงในเช็คผู้จัดการมรดกของผู้ทรงตั๋วนั้นก็ย่อมเข้าสวมสิทธิของผู้ทรงได้สิทธิที่ผู้ทรงมีอยู่ เป็นการโอนโดยผลของกฎหมายซึ่งย่อมเป็นเช่นเดียวกับการโอนโดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ซึ่งผู้ออกเช็คอาจยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะผู้ออกเช็คกับผู้ทรงตั๋วขึ้นต่อสู้ผู้จัดการมรดกของผู้ทรงตั๋วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันล่วงหน้า: สิทธิของผู้ทรงตั๋วและการโอนสิทธิให้แก่ผู้จัดการมรดก
การออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้เขาไปนั้น เท่ากับผู้ออกเช็คสัญญาว่าตนจะรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้น เมื่อถึงวันที่ลงไว้ ผู้ทรงตั๋วนั้นโดยชอบก็ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้ ตามตั๋วนั้น แม้หนี้นั้นจะยังำม่ถึงกำหนดและแม้ผู้ทรงตั๋วนั้นจะตายก่อนถึงวันที่ลงในเช็ค ผู้จัดการมรดกของผุ้ทรงตั๋วนั้นก็ย่อมเข้าสรวมสิทธิของผู้ทรงได้สิทธิที่ผู้ทรงมีอยู่ เป็นการโอนโดยผลของกฎหมาย ซึ่งย่อมเป็นเช่นเดียวกับการโอนโดยรูปการและด้วยแลอย่างการโอนสามัญ ซึ่งผู้ออกเช็คอาจยกข้อต่อสู้อาศัยความเกี่ยวพนัธ์เฉพาะผู้ออก เช็คกับผู้ทรงตั๋วขึ้นต่อสู้ ผู้จัดการมรดกของผู้ทรงตั๋วได้
of 6