คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 305 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: สภาพหนี้, การผิดนัด, และการคืนเงินมัดจำเมื่อผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
ป.พ.พ. มาตรา 369 บัญญัติว่า ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้...ฯลฯ... หมายความว่า การชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาจะต้องมีความพร้อมในการชำระหนี้ทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ตอบแทนอีกฝ่ายจะไม่ยอมชำระหนี้ก็ได้ ที่ดินพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2541 และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 แจ้งให้โจทก์ไปรับโฉนดที่ดินพิพาทคืนเนื่องจากมีการถอนการยึด แสดงว่าในวันที่ 10 เมษายน 2541 ที่โจทก์จำเลยนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้น ที่ดินพิพาทยังถูกยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะโอนให้โจทก์ เพราะการโอนทรัพย์ที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้วไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 305 (1) เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องทำให้ที่ดินพิพาทพ้นสภาพจากการถูกยึดก่อนนำมาโอนและรับชำระราคาจากโจทก์ หากที่ดินพิพาทยังไม่พ้นจากสภาพดังกล่าว จำเลยก็มิอาจเรียกร้องให้โจทก์ชำระราคาได้ เพราะจำเลยไม่อยู่ในสภาพจะชำระหนี้ตอบแทนได้ทันที จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินที่โจทก์ชำระไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และถอนการยึดที่ดินพิพาทแล้วนำมาโอนให้โจทก์ได้
จำเลยไม่พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทเพราะที่ดินถูกยึด โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระราคาดังกล่าว และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะที่ดินพิพาทถูกยึดไม่พร้อมจะโอนให้โจทก์อันเป็นเหตุที่เกิดจากฝ่ายจำเลย จำลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ และเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
โจทก์จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 10 เมษายน 2541 เมื่อจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนด ถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2541 เป็นต้นไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2541 จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน น.ส.3 ก. และการจดทะเบียนโอนที่ดินหลังยึดทรัพย์ – สิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด
แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) อ้างว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สูญหาย เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ประกาศการขอรับใบแทนแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน และต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนให้แก่ผู้ขอแล้วก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้สูญหายแต่อย่างใด กรณีต้องถือว่าการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าว ตาม ป.ที่ดินมาตรา 61
พฤติการณ์ของโจทก์ตั้งแต่โจทก์ทราบว่า ส.ทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ก็ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนี-ประนอมยอมความและอายัดที่ดิน แต่เมื่อ ส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ ต่อมา ส.ผิดนัด โจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมา แม้ขณะที่โจทก์นำยึดที่ดินพิพาท หากจำเลยเห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส.แล้ว จำเลยชอบที่จะร้องขัดทรัพย์ แต่จำเลยก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด กรณีฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อน และจำเลยซึ่งจดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังการโอนทรัพย์สินยึด: ศาลไม่สามารถสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายจากผู้โอนได้ หากเจ้าหนี้ไม่ได้ขอให้บังคับคดีต่อทรัพย์สินที่โอน
การดำเนินกระบวนพิจารณาในกรณีที่มีการโอนไปซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายหลังการยึดนั้นเป็นกรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305(1) ซึ่งบัญญัติไว้ความว่า การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิด โอนหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมาสอบถามถึงการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ที่ศาลมีคำสั่งยึดและได้โอนไปยังนายดนัยแล้วเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไป จึงเป็นการไม่ถูกต้องและหาเป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์แต่อย่างใดไม่โจทก์ชอบที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ที่ศาลมีคำสั่งยึดไว้แล้วดังกล่าวให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่อไป การที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งให้องค์การโทรศัพท์ผู้คัดค้านชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็เป็นการสั่งนอกเหนือไปจากคำขอท้ายคำร้องของโจทก์อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดินตาม น.ส.3 ต้องแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้มีผลผูกพันกับบุคคลภายนอก ผู้รับจำนองสุจริตอาจมีสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 วรรคแรกการยึดที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จะถือเป็น การยึดตามกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งการยึดต่อ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอผู้มี หน้าที่เกี่ยวกับที่ดินนั้นเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนควบคุมมิให้มีการโอน เปลี่ยนแปลง หรือก่อให้เกิดสิทธิอย่างอื่นในที่ดินที่ถูกยึดดังกล่าวและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305 (1) หมายความถึงการโอนเปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิดสิทธิแก่ที่ดินหรือทรัพย์สินที่ถูกยึดหลังจากทำการยึดไว้โดยชอบแล้วเท่านั้น
ผู้ร้องได้รับจำนองที่ดินซึ่งยังไม่ถูกยึดโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305 (1) หากผู้ร้อง ไม่ทราบว่าที่ดินถูกยึดและรับจำนองโดยสุจริตก็มีผลบังคับใช้ยันโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากับ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดินตาม น.ส.3 และผลกระทบต่อผู้รับจำนองโดยสุจริต หากเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้แจ้งการยึดต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 วรรคแรกการยึดที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จะถือเป็น การยึดตามกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งการยึดต่อ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอผู้มี หน้าที่เกี่ยวกับที่ดินนั้นเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนควบคุมมิให้มีการโอน เปลี่ยนแปลง หรือก่อให้เกิดสิทธิอย่างอื่นในที่ดินที่ถูกยึดดังกล่าวและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305(1) หมายความถึงการโอนเปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิดสิทธิแก่ที่ดินหรือทรัพย์สินที่ถูกยึดหลังจากทำการยึดไว้โดยชอบแล้วเท่านั้น ผู้ร้องได้รับจำนองที่ดินซึ่งยังไม่ถูกยึดโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 305(1) หากผู้ร้อง ไม่ทราบว่าที่ดินถูกยึดและรับจำนองโดยสุจริตก็มีผลบังคับใช้ยันโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากับ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายฝากที่ถูกยึดก่อนยึดทรัพย์ หนี้ไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันยังผูกพัน
การตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดิน โดยถือเอาหนี้เงินกู้เป็นราคาที่ขายฝากเป็นการแปลงหนี้ใหม่
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ขายฝากไว้ก่อนขายฝาก ผู้ขายฝากไม่มีสิทธินำไปขายฝากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305(1) การขายฝากจึงมิได้เกิดมีขึ้น หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับสิ้นไปผู้ค้ำประกันยังต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกันอยู่
การที่ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์แล้วเจ้าหนี้มิได้ดำเนินการเพื่อให้ได้เข้าเฉลี่ยหนี้นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เจ้าหนี้เสียสิทธิที่จะฟ้องผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายฝากที่ดินหลังถูกยึด: หนี้ไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันยังผูกพัน
การตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดิน โดยถือเอาหนี้เงินกู้เป็นราคาที่ขายฝากเป็นการแปลงหนี้ใหม่
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ขายฝากไว้ก่อนขายฝาก ผู้ขายฝากไม่มีสิทธินำไปขายฝากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305(1) การขายฝากจึงมิได้เกิดมีขึ้น หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับสิ้นไปผู้ค้ำประกันยังต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกันอยู่
การที่ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์แล้วเจ้าหนี้มิได้ดำเนินการเพื่อให้ได้เข้าเฉลี่ยหนี้นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เจ้าหนี้เสียสิทธิที่จะฟ้องผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ก่อนการโอนกรรมสิทธิ์: การโอนหลังการยึดไม่ผูกพันโจทก์
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องโดยสุจริตก่อนโจทก์นำยึดที่พิพาทนี้ หลังจากโจทก์นำยึดที่พิพาทแล้วจำเลยจึงไปทำนิติกรรมโอนที่พิพาทให้ผู้ร้อง ดังนี้ ย่อมถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังไม่โอนไปยังผู้ร้องในขณะที่ถูกยึด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ก่อนโอนกรรมสิทธิ์: นิติกรรมหลังยึดใช้ยันโจทก์ไม่ได้
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องโดยสุจริตก่อนโจทก์นำยึดที่พิพาทนี้ หลังจากโจทก์นำยึดที่พิพาทแล้วจำเลยจึงไปทำนิติกรรมโอนที่พิพาทให้ผู้ร้อง ดังนี้ย่อมถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังไม่โอนไปยังผู้ร้องในขณะที่ถูกยึด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องเงินวางประกัน: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอน เจ้าหนี้จำเลยไม่มีสิทธิอายัด
จำเลยวางเงินจำนวนหนึ่งเป็นประกันในการรับเหมา ทำการปลูกสร้างตึกแถวให้บุคคลหนึ่ง แล้วจำเลยได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในการรับเงินรายนี้ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้แจ้งการโอนสิทธิรายนี้แก่บุคคลนั้นก่อนมีการอายัดเงินที่วางประกันดังกล่าวแล้ว สิทธิที่จะได้รับเงินวางประกันคืนก็ตกมาเป็นของผู้ร้องขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้ว เจ้าหนี้ของจำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะทำการยึดหรืออายัดได้
of 2