คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาจำกัดเฉพาะผู้ต้องรับโทษหรือผู้เกี่ยวข้อง ไม่รวมโจทก์/ผู้เสียหาย
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 9 วรรคหนึ่งและวรรคสาม บัญญัติให้ศาลที่ได้รับคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า และตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับสำนวนการไต่สวนและความเห็นแล้ว ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับคำร้องและสั่งให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป แต่ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยมิได้ส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 9 วรรคสาม และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 6 บัญญัติเกี่ยวกับบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ คือ บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องรับโทษอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ปรากฏว่า กฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์แต่อย่างใด แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้ร้องได้ใช้สิทธิในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องคดี มีโอกาสนำเสนอพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างตามข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่แล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาตามสิทธิได้ต่อไป มิใช่ว่าเมื่อพบพยานหลักฐานใหม่ก็จะมาใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ กฎหมายมิได้บัญญัติให้สิทธิดังกล่าวแก่ผู้ร้อง มิฉะนั้นแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีของผู้ร้องในฐานะโจทก์ก็ย่อมไม่มีวันจบสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรื้อฟื้นคดีอาญา: สามีขอรื้อฟื้นคดีแทนภรรยาที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่ได้ และอำนาจศาลในการสั่งรับคำร้อง
ผู้ร้องเป็นสามีจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แทนจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขั้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 6 (4)
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (2) เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ มิได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ การมีคำสั่งว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการรื้อฟื้นคดีอาญา: บทบาทของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญา
บทบัญญัติมาตรา 9 และมาตรา 10 ให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 6 (5) ที่ร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องได้ แต่หากเป็นบุคคลตามมาตรา 6 (1) ถึง (4) เป็นผู้ร้องแล้ว ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่งรับคำร้องให้ดำเนินคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือยกคำร้อง ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ดำเนินการตามมาตรา 9 วรรคสอง ทำการไต่สวนคำร้องหรือหากเห็นว่าคำร้องไม่ชอบด้วยมาตรา 5 จะไม่ทำการไต่สวนก็ได้ แต่ศาลชั้นต้นมีสิทธิเพียงทำความเห็นเสนอสำนวนการไต่สวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา การสั่งรับคำร้องให้พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือสั่งให้ยกคำร้องเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง