คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 165 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าทดรองจ่ายในสัญญาตัวแทน: ใช้มาตรา 164 ไม่ใช่ 165(7)
จำเลยที่ 1 แต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ตามมาตรา 816 วรรคหนึ่งซึ่งในกรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องใช้อายุความสิบปี ตามมาตรา 164(เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ไม่ใช่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองจากจำเลยทั้งสอง ตามมาตรา 165(7)(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, ภูมิลำเนา, อายุความหนี้จากการรับทำงานและชำระหนี้แทนลูกหนี้, ลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี แห่งหนึ่ง และเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 1 ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่ 40 ดังกล่าวไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 355 หมู่ที่ 3แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่355 ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี แห่งหนึ่งและยังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของผู้ใด และจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งย้ายออกไป หรือขอให้ทางราชการแก้ไขจำหน่ายชื่อออก แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะย้ายภูมิลำเนาออกจากบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดปราจีนบุรี ถือได้ว่าบ้านเลขที่ 100 ดังกล่าวตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1อีกแห่งหนึ่งด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการออกบัตรซื้อของเชื่อให้แก่สมาชิกผู้พำนักอยู่ในประเทศไทย เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปได้จากสถานประกอบการต่าง ๆ ในเครือห้างของบริษัททั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญายอมรับบัตรซื้อของเชื่อนั้นเพื่อขายสินค้าและบริการโดยโจทก์จะชำระเงินแทนแล้วโจทก์มาเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ในภายหลัง ในการออกบัตรนี้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อปรากฏว่าการให้บริการของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (7) เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกบัตร จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเสริม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว เช่นกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญา: การนับอายุความเริ่มจากวันเกิดสิทธิเรียกร้อง และผลของการให้การต่อสู้เรื่องอายุความ
จำเลยร่วมให้การว่า อายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด 2 ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2528 โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี และอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมาย คำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว เมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้าน จะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่ คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ถมทรายงวดที่ 4 ที่ 5 เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญา โจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่ 1 ธันวาคม 2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน 3 วัน นับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญา แต่วันครบกำหนดคือวันที่ 4 ธันวาคม 2526 เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 5เป็นวันหยุดราชการ จำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระ โจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่ 17 มกราคม 2529 จึงเกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา คำให้การต่อสู้เรื่องอายุความชอบด้วยกฎหมาย การนับอายุความเริ่มจากวันที่จำเลยไม่ชำระเงิน
จำเลยร่วมให้การว่าอายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด2ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2ธันวาคม2528โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าวฟ้องโจทก์ขาดอายุความดังนี้คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ2ปีและอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดเพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายคำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วเมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้านจะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่คดีมีประเด็นเรื่องอายุความการที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ถมทรายงวดที่4ที่5เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาโจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่1ธันวาคม2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน3วันนับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญาแต่วันครบกำหนดคือวันที่4ธันวาคม2526เป็นวันอาทิตย์วันที่5เป็นวันหยุดราชการจำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่6ธันวาคม2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระโจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่7ธันวาคม2526เป็นต้นไปเมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่17มกราคม2529จึงเกิน2ปีคดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์ต้องเสียค่าบริการพูดโทรศัพท์ตามอัตราที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกำหนด ค่าใช้บริการจึงเป็นสินจ้างและถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าโดยรับทำการงานเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น หนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การจัดบริการเป็น 'การค้า' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) ทำให้อายุความ 2 ปี
โจทก์จัดให้มีบริการพูดวิทยุโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าบริการ โจทก์จึงเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องค่าบริการ จึงมีอายุความ 2 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์: องค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะผู้ค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
แม้โจทก์จะเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฯ แต่การที่โจทก์ให้จำเลยใช้บริการ โทรศัพท์ แล้วคิดค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนดย่อมถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับจากการนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(7) ซึ่งโจทก์จะต้องเรียกร้องเอาค่าบริการ ภายใน 2 ปีเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้บริการเกิน 2 ปี คดีจึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์: โจทก์เป็นผู้ค้าหรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165(7)
โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 มีอำนาจตามมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ดำเนินกิจการได้หลายประการ การที่โจทก์ให้จำเลยใช้บริการโทรศัพท์แล้วคิดค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนด ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ค้ำรับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับจากการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) ซึ่งโจทก์จะต้องเรียกร้องเอาค่าบริการภายใน 2 ปีเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าบริการคดีนี้เกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: ผู้ให้บริการถือเป็นผู้ค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
การที่โจทก์จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าบริการในการพูดโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำงานต่าง ๆ และเรียกร้องเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การตีความฐานะผู้ค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
การที่โจทก์จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าบริการในการพูดโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำงานต่าง ๆ และเรียกร้องเอาสินจ้างอันจะพึง ได้รับในการนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องเช่นนี้มีอายุความ 2 ปี.
of 6