คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 165 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นขาดทุน: สัญญาซื้อขายหุ้นและการทดรองเงิน
ผู้ร้องได้ตกลงสั่งซื้อหุ้นกับบริษัทลูกหนี้โดยวิธีผู้ร้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำไปวางเป็นประกัน ผู้ร้องมีสิทธิสั่งซื้อหุ้นได้เป็นเงินไม่เกิน 3 เท่าของจำนวนเงินที่วางประกัน เมื่อซื้อหุ้นได้แล้วบริษัทลูกหนี้จะออกเงินทดรองค่าซื้อหุ้นให้ผู้ร้องก่อนโดยทำเป็นหนังสือว่าผู้ร้องได้กู้เงินของบริษัทลูกหนี้ไป ต่อมาถ้ามีการขายหุ้นดังกล่าว ก็จะมีการหักทอนบัญชีกัน ถ้า ได้กำไรก็จะนำเข้าบัญชีให้ผู้ร้องแต่ถ้า ขาดทุนจะเรียกให้ผู้ร้องชำระ กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164ไม่ใช่กรณีที่บริษัทลูกหนี้เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปจากผู้ร้อง ตามมาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทการซื้อขายหุ้นและการทดรองเงิน กรณีตัวแทนเรียกเงินคืน อายุความ 10 ปี
การที่ผู้ร้องสั่งซื้อหุ้นกับจำเลยโดยผู้ร้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำไปวางเป็นหลักประกัน ผู้ร้องมีสิทธิสั่งซื้อหุ้นได้เป็นเงินไม่เกิน 3 เท่า ของจำนวนเงินที่วางประกัน เมื่อซื้อหุ้นได้แล้วจำเลยจะออกเงินทดรองค่าซื้อหุ้นให้ผู้ร้องก่อน โดยทำเป็นหนังสือว่าผู้ร้องได้กู้เงินของจำเลยไป ต่อมาถ้ามีการขายหุ้นดังกล่าวก็จะหักทอนบัญชีกัน ถ้าได้กำไรก็จะนำเข้าบัญชีให้ผู้ร้องแต่ถ้าขาดทุนจะเรียกให้ผู้ร้องชำระการเรียกเงินดังกล่าวเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปจากผู้ร้องตามมาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าบริการของรัฐวิสาหกิจ: พิจารณาจากฐานะผู้ค้าบริการตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2497 องค์การโทรศัพท์โจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์และธุรกิจที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกันหรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการโทรศัพท์ และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า เพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวในมาตรา 6 ให้องค์การโทรศัพท์มีอำนาจรวมถึง...(3) กำหนดอัตราค่าเช่า ค่าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ค่าบริหารอื่น ๆ ของกิจการโทรศัพท์และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าต่าง ๆ ดังกล่าว ดังนั้นการที่โจทก์เรียกค่าเช่าค่าบริการที่จำเลยค้างชำระจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ2 ปี ไม่ใช่อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าโทรศัพท์และค่าบริการ: องค์กรโทรศัพท์มีฐานะเป็นผู้ค้า
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์กับค่าใช้บริการโทรศัพท์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่าและเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้าง อันจะพึงได้รับในการนั้น สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์และค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(6),(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าโทรศัพท์: โจทก์เป็นผู้ค้าเช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์กับค่าใช้บริการโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่าและเป็นผู้ค้ำในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6),(7) สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์และค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี มิใช่ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์: การเรียกร้องค่าบริการถือเป็นการรับทำการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
การที่โจทก์คือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เรียกเก็บค่าบริการในการใช้โทรศัพท์ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานและเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (7) มีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับค่าบริการในการใช้โทรศัพท์ของจำเลยเกิดก่อนฟ้องเกินกว่า 2 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ ไม่ใช่เมื่อทวงถาม
แม้โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการให้บริการและการปฏิบัติการด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคมเพื่อความสะดวกแก่ประชาชนก็ตาม แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์จากในประเทศไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าธรรมเนียมก็คือสินจ้าง จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าหรือผู้รับทำการงาน เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165 (7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี และสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ ไม่ใช่เมื่อทวงถาม
แม้โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการให้บริการและการปฏิบัติการด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนก็ตาม แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์จากในประเทศไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าธรรมเนียมก็คือสินจ้าง จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าหรือผู้รับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีและสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5646/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องของผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ตามฟ้องเริ่มวันที่ 1 เมษายน2526 โจทก์ฟ้องเกินกำหนดไม่อาจบังคับจำเลยได้ คำให้การดังกล่าวได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ผู้ใช้บริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์ โดยเครื่องโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์ จะต้องเสียค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าบริการดังกล่าวก็คือสินจ้างนั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เมื่อโจทก์เรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นจากจำเลย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล: การนับวันสุดท้ายเมื่อตรงกับวันหยุดราชการ
ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุของโจทก์ มีลักษณะเป็นสินจ้างโจทก์จึงเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลของโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 2 ปี เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความครบกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ การนับระยะเวลาวันสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย.
of 6