คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 165 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าจ้างจากผู้รับเหมา: 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) และการนับอายุความละเมิด
โจทก์เป็นผู้รับเหมาทำการก่อสร้างให้จำเลย โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างในผลงานก่อสร้างจากจำเลย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างในกิจการนั้น จึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้องในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (7)
ในกรณีมีมติคณะรัฐมนตรีให้ปรับราคาค่างานรายการก่อสร้างตามดัชนีราคาสินค้าที่สูงขึ้นโดยให้คำนวณ ณ วันที่มีการส่งมอบงานเป็นเกณฑ์เงินเพิ่มปรับราคาค่างานรายการก่อสร้างจึงมิใช่ค่าตอบแทนที่มีข้อผูกพันกันตามสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำกันไว้แต่เดิม หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือสินจ้างที่เพิ่มขึ้นจากผลงานที่โจทก์พึงได้รับตามมติคณะรัฐมนตรี การฟ้องเรียกร้องเงินเพิ่มค่างานจึงเสมือนฟ้องเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างจากผู้ว่าจ้าง ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (7)
จำเลยมีหนังสือไปถึงสำนักงบประมาณขอให้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจ่ายเงินเพิ่มค่างานสำหรับงานงวดสุดท้ายให้โจทก์หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือที่จำเลยติดต่อหารือไปยังสำนักงบประมาณเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมจะชำระเงินเพิ่มค่างานให้ตามหนังสือนั้นและจำเลยมิได้มีหนังสือดังกล่าวไปถึงโจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินเพิ่มค่างานนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบงานเป็นต้นไป แม้การหน่วงเหนี่ยวไม่ชำระเงินเพิ่มค่างานอาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายอันเกิดจากการหน่วงเหนี่ยวไม่ยอมชำระเงินเพิ่มค่างาน โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ทันทีอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบงานเป็นต้นไป หาใช่ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเงินเพิ่มตราบนั้นการละเมิดยังคงมีอยู่ต่อเนื่องกันตลอดไปไม่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อเกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องค่าจ้างจากผู้รับเหมา: 2 ปี ตามมาตรา 165(7) และการนับอายุความละเมิด
โจทก์เป็นผู้รับเหมาทำการก่อสร้างให้จำเลย โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างในผลงานก่อสร้างจากจำเลยถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างในกิจการนั้น จึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้องในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)
ในกรณีมีมติคณะรัฐมนตรีให้ปรับราคาค่างานรายการก่อสร้างตามดัชนีราคาสินค้าที่สูงขึ้นโดยให้คำนวณ ณ วันที่มีการส่งมอบงานเป็นเกณฑ์เงินเพิ่มปรับราคาค่างานรายการก่อสร้างจึงมิใช่ค่าตอบแทนที่มีข้อผูกพันกันตามสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำกันไว้แต่เดิม หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือสินจ้างที่เพิ่มขึ้นจากผลงานที่โจทก์พึงได้รับตามมติคณะรัฐมนตรี การฟ้องเรียกร้องเงินเพิ่มค่างานจึงเสมือนฟ้องเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างจากผู้ว่าจ้าง ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)
จำเลยมีหนังสือไปถึงสำนักงบประมาณขอให้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจ่ายเงินเพิ่มค่างานสำหรับงานงวดสุดท้ายให้โจทก์หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือที่จำเลยติดต่อหารือไปยังสำนักงบประมาณเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมจะชำระเงินเพิ่มค่างานให้ตามหนังสือนั้นและจำเลยมิได้มีหนังสือดังกล่าวไปถึงโจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินเพิ่มค่างานนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบงานเป็นต้นไป แม้การหน่วงเหนี่ยวไม่ชำระเงินเพิ่มค่างานอาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายอันเกิดจากการหน่วงเหนี่ยวไม่ยอมชำระเงินเพิ่มค่างาน โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ทันทีอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบงานเป็นต้นไป หาใช่ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเงินเพิ่มตราบนั้นการละเมิดยังคงมีอยู่ต่อเนื่องกันตลอดไปไม่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อเกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์: ความสัมพันธ์ตัวแทน-ตัวการ และการใช้อายุความทั่วไป
การที่โจทก์ซื้อและขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรียกร้องเงินทดรองที่โจทก์ออกแทนจำเลยไปในการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ประกอบการค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่น และเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)เพราะโจทก์จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลย โจทก์หามีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจของตนเองดำเนินการอย่างใดไม่ ดังนี้เป็นการกระทำในฐานะตัวแทนในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นตัวการและเมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีเช่นนี้ไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปตาม มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของวัดต่อหนี้ที่เกิดจากการก่อสร้างโบสถ์ และการให้สัตยาบันโดยผู้แทนวัด
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 1 ระบุฐานะว่าเป็นตัวแทนคณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิตวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่าเป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎหมายมหาเถระสมาคม ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ดอกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 210 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้จากการทำสัญญาโดยตัวแทนเชิด และการชำระหนี้ผ่านตัวแทน
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อ ให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยระบุฐานะว่าเป็นตัวแทน คณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิต วัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่า เป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 6(พ.ศ. 2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ เจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบัน แก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาโฆษณา: การอนุมัติโฆษณา, อายุความ, และการชำระหนี้
ใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าของจำเลยหรือใบแจ้งหนี้ลงวันที่31มกราคม2523มีข้อความระบุให้ชำระหนี้ภายใน45วันคือภายในวันที่16มีนาคม2523ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ให้เวลาจำเลยในการชำระหนี้45วันก่อนครบระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ย่อมจะใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องหนี้รายนี้จากจำเลยยังไม่ได้อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด45วันเป็นต้นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169บัญญัติไว้โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่16มีนาคม2525จึงยังไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าโฆษณาเริ่มต้นเมื่อครบกำหนดชำระ การอนุมัติโฆษณา และการพิสูจน์หลักฐาน
ใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าของจำเลยหรือใบแจ้งหนี้ลงวันที่31มกราคม2523มีข้อความระบุให้ชำระหนี้ภายใน45วันคือภายในวันที่16มีนาคม2523ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ให้เวลาจำเลยในการชำระหนี้45วันก่อนครบระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ย่อมจะใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องหนี้รายนี้จากจำเลยยังไม่ได้อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด45วันเป็นต้นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169บัญญัติไว้โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่16มีนาคม2525จึงยังไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าบริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศ การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องเรียกค่าบริการจากผู้ใช้บริการ ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความ 2 ปี
การสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์ได้วางระเบียบให้ประชาชนสามารถใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์โดยเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการตามอัตราที่ได้กำหนดไว้แสดงว่าโจทก์ได้ให้บริการดังกล่าวประจำเป็นปกติธุระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่างๆจึงเป็นสินจ้างที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยผู้ใช้บริการแม้โจทก์จะเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519ก็ตามโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่างๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)ซึ่งมีอายุความ2ปี.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าบริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ให้บริการและเรียกเก็บค่าบริการ
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่ประชาชนประจำเป็นปกติธุระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่างๆจึงเป็นสินจ้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการเมื่อโจทก์ในฐานะผู้ค้าในการรับทำการงานต่างๆฟ้องเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นจึงต้องอยู่ในอายุความ2ปีตามป.พ.พ.มาตรา165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง, สัญญาตัวแทน, ค่าเสียหายจากการไม่ส่งมอบหุ้น, และอายุความ
แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรก แต่จำเลยก็ไม่เสียเปรียบในเชิงคดีทั้ง มาตรา 87(2) ให้ศาล มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 90 ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นมิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยในการขายหุ้นจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในการจัดทำกิจการที่จำเลยมอบหมาย แม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับดังกล่าวแต่ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวการกับตัวแทนเสียไป จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบหุ้นที่จำเลยสั่งขายให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อภายใน 4 วัน แต่จำเลยไม่ส่งมอบให้ โจทก์จึงต้องเอาหุ้นที่โจทก์มีอยู่ในครอบครองส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแล้วซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนต้องเสียหายเนื่องจากการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเมื่อชำระหนี้แทนจำเลย จึงต้องคิดค่าเสียหายตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์มอบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อ จะถือตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์ซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนหาได้ไม่ โจทก์มิใช่เป็นพ่อค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) หรือ (7) แต่โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามมาตรา 816 วรรคท้าย ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้ถามค้าน ส. พยานโจทก์ แต่จำเลยก็ได้อ้างและนำส. เข้าเบิกความเป็นพยานจำเลย ทั้งเอกสารที่จำเลยประสงค์จะถามค้านก็มิใช่เอกสารสำคัญในการวินิจฉัยคดี จึงไม่จำเป็นต้องให้โอกาสจำเลยถามค้าน ส. อีก
of 6