พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีปล้นทรัพย์โดยเด็กวัยรุ่น ศาลฎีกาแก้ไขโทษ ลดมาตราส่วนโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์
จำเลยที่ 5 มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ แม้ในท้องที่ของศาลชั้นต้นจะมีศาลคดีเด็กและเยาวชนเปิดดำเนินการแล้วก็ตามแต่เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 เป็นความผิดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 8(1) ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ จำเลยที่ 5 ยืนยังไม่ให้คนอื่นเห็นการชิงทรัพย์ของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 จึงเป็นการร่วมกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 5 เป็นตัวการร่วมในความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในขณะแต่ละคนอายุไม่เกิน 20 ปีโดยมิได้ใช้กำลังประทุษร้ายมิได้ใช้อาวุธหรือพูดว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพียงแต่ใช้กิริยาท่าทีในการขู่บังคับ พฤติการณ์แห่งความผิดไม่ร้ายแรงนัก เป็นการกระทำของเด็กวัยคะนอง สมควรลงโทษสถานเบาและลดมาตราส่วนโทษให้ด้วย ปัญหาการกำหนดโทษและการไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยทั้งห้า สำหรับความผิดในลักษณะนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่มีบิดามารดาให้ความยินยอม: อำนาจศาลและประมวลกฎหมายแพ่ง
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า "ศาล" ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่ง เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/21 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา: อำนาจศาลและขั้นตอนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า 'ศาล' ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2796/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานในคดีตัวแทนที่ดิน และการฟ้องคดีผู้เยาว์ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์โดย ถ. ผู้มีชื่อในโฉนดที่พิพาทลงชื่อในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ส่วนหนึ่งนั้น มิใช่เป็นการนำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่เป็นการนำสืบพยานในข้อพิพาท ระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทน จึงมิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ โจทก์นำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนมรดกของจำเลยและให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งนั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 7 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้เยาว์คดีนี้ก็มิใช่คดีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน มาตรา 8(3) แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 63 พ.ศ. 2515 ข้อ 1
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนมรดกของจำเลยและให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งนั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 7 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้เยาว์คดีนี้ก็มิใช่คดีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน มาตรา 8(3) แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 63 พ.ศ. 2515 ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากละเมิด ไม่ใช่ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมายเฉพาะ
ทำละเมิดให้บิดาตาย บุตรฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูตาม มาตรา443 ไม่ใช่เรียกตาม มาตรา1564 ไม่อยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีฟ้องหย่าและการขออำนาจปกครองบุตร: คดีต้องอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน
สามีฟ้องภรรยาเป็นจำเลยขอหย่าต่อศาลแพ่ง จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรของโจทก์ให้เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ดังนี้ แม้ศาลแพ่งซึ่งพิพากษาคดีฟ้องหย่าจะมีอำนาจชี้ขาดว่าใครเป็นผู้สมควรปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1502 วรรค 2 ด้วยก็จริง แต่ฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1538(6) นั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ข้อ 1 บัญญัติให้คดีแพ่งที่ฟ้องศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ ซึ่งจะต้องบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลแพ่งไม่มีอำนาจรับฟ้องแย้งไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีฟ้องหย่าและการขออำนาจปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สามีฟ้องภรรยาเป็นจำเลยขอหย่าต่อศาลแพ่ง จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรของโจทก์ให้เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ดังนี้ แม้ศาลแพ่งซึ่งพิพากษาคดีฟ้องหย่าจะมีอำนาจชี้ขาดว่าใครเป็นผู้สมควรปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1502 วรรค 2 ด้วยก็จริง แต่ฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1538(6) นั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ข้อ 1บัญญัติให้คดีแพ่งที่ฟ้องศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ ซึ่งจะต้องบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลแพ่งไม่มีอำนาจรับฟ้องแย้งไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษเด็กและเยาวชน – ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลไม่ลงโทษจำคุกเกิน 1 ปี หรือปรับเกิน 1,000 บาท
ในกรณีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 อันเป็นบทหนักโดยจำคุก 5 ปี แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกโดยให้ส่งตัวไปฝึกอบรมณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปีแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ความผิดจำเลยปรับด้วยมาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 และให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดา โดยวางข้อกำหนดให้ระวังจำเลยมิให้ก่อเหตุร้าย มิฉะนั้นต้องชำระเงินหนึ่งพันบาทต่อการที่จำเลยก่อเหตุร้ายแต่ละครั้ง และให้จำเลยมารายงานตัวต่อสถานพินิจและคุ้มครองเด็กทุก 6 เดือนนั้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทลงโทษและวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยเช่นนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขมาก แต่เนื่องจากศาลทั้งสองได้เปลี่ยนแปลงโทษจำคุกเป็นอย่างอื่น ซึ่งถือว่าศาลทั้งสองมิได้พิพากษาจำคุกเกิน 1 ปี หรือปรับเกินพันบาทกรณีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากศาลเปลี่ยนแปลงโทษเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ทำให้เกินขอบเขตการฎีกาตามกฎหมาย
ในกรณีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 อันเป็นบทหนักโดยจำคุก 5 ปี แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกโดยให้ส่งตัวไปฝึกอบรม ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปีขั้นสูง 3 ปีแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดจำเลยปรับด้วยมาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 และให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดา โดยวางข้อกำหนดให้ระวังจำเลยมิให้ก่อเหตุร้าย มิฉะนั้นต้องชำระเงินหนึ่งพันบาทต่อการที่จำเลยก่อเหตุร้ายแต่ละครั้ง และให้จำเลยมารายงานตัวต่อสถานพินิจและคุ้มครองเด็กทุก 6 เดือนนั้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทลงโทษและวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยเช่นนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขมาก แต่เนื่องจากศาลทั้งสองได้เปลี่ยนแปลงโทษจำคุกเป็นอย่างอื่น ซึ่งถือว่าศาลทั้งสองมิได้พิพากษาจำคุกเกิน 1 ปี หรือปรับเกินพันบาทกรณีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า มีผลบังคับใช้ได้ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่รับบุตรไปเลี้ยง
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)