พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะเข้าใจผิดว่าได้รับอนุญาตแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุให้ชอบด้วยกฎหมายได้
จำเลยเช่าที่ดินแล้วปลูกสร้างอาคารโดยลงเข็มและตั้งเสาทั้งที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ร้องสอดรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยและปลูกสร้างอาคารต่อมาจนเสร็จจะอ้างความเข้าใจผิดคิดว่าจำเลยได้รับอนุญาตแล้วไม่ได้เมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร และภายหลังได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันใช้อาคาร ทางราชการก็มีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยและผู้ร้องสอดก็ต้องรื้ออาคารออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายวิธีสบัญญัติใช้บังคับย้อนหลังในเรื่องรื้อถอนอาคารได้ แม้กฎหมายสารบัญญัติใช้ไม่ได้
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่บัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิรื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิรื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย แม้กฎหมายเปลี่ยน ก็ยังใช้ได้หากเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการ
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่บัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิ รื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิ รื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อมแซมอาคารเดิมไม่ถือเป็นการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การซ่อมแซมบางส่วนของอาคาร คือประตูหลังด้านข้างและผนังตึกบางส่วนเอาลูกกรงเหล็กออกแล้วเปลี่ยนเป็นก่ออิฐโปร่งแทนไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031-1041/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องการปลูกสร้างอาคาร ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำประเภทใด จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 7 แยกเป็นการกระทำได้ 3 อย่างคือ (1) สร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วน (2) ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วในลักษณะอันเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่อาคารนั้นมาก หรือเป็นการเพิ่มหรือขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมาก (3) แปลงอาคารสำหรับบุคคลอาศัยเป็นอาคารเพื่อประโยชน์อย่างอื่นกลับกัน การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ถือว่าทำการปลูกสร้างอาคาร ฉะนั้น โจทก์จะบรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยทำการปลูกสร้างอาคารเท่านั้นก็ไม่ชัดพอจะให้จำเลยเข้าใจฟ้องว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างอาคารอย่างไหนในสามอย่างดังกล่าว
โจทก์ฟ้องบรรยายว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารโดยการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารเดิมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักและขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมากดังนี้ ไม่ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นการสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนหรือไม่ ศาลก็จะลงโทษจำเลยในเรื่องปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
โจทก์ฟ้องบรรยายว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารโดยการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารเดิมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักและขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมากดังนี้ ไม่ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นการสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนหรือไม่ ศาลก็จะลงโทษจำเลยในเรื่องปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมความรื้ออาคารไม่ผูกพันผู้เช่าที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
การที่เจ้าของที่ดินและอาคารได้รับคำสั่งจากเทศบาลให้รื้อและเลิกใช้อาคาร และอัยการได้ฟ้องเจ้าของที่ดินเป็นคดีให้รื้อและเลิกใช้อาคาร เจ้าของที่ดินทำยอมไว้ต่อศาลว่า ตนและบุคคลที่ได้รับสิทธิจากตนยอมรื้อและยอมเลิกใช้อาคาร ดังนี้สัญญายอมความนี้ไม่ผูกพันผู้เช่าอาคารอยู่อาศัย ผู้เช่าอาคารอยู่อาศัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ เป็นปกติ แต่ถ้าอาคารหมดอายุจะเป็นภัย เจ้าหน้าที่ก็ยังมีอำนาจตามพ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมความรื้ออาคาร: ไม่ผูกพันผู้เช่า, คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า, เจ้าหน้าที่ยังมีอำนาจตามกฎหมาย
การที่เจ้าของที่ดินและอาคารได้รับคำสั่งจากเทศบาลให้รื้อและเลิกใช้อาคาร และอัยการได้ฟ้องเจ้าของที่ดินเป็นคดีให้รื้อและเลิกใช้อาคาร เจ้าของที่ดินจึงทำยอมไว้ต่อศาลว่า ตนและบุคคลที่ได้รับสิทธิจากตนยอมรื้อและยอมเลิกใช้อาคาร ดังนี้ สัญญายอมความนี้ไม่ผูกพันผู้เช่าอาคารอยู่อาศัย ผู้เช่าอาคารอยู่อาศัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯเป็นปกติ แต่ถ้าอาคารหมดอายุจะเป็นภัย เจ้าหน้าที่ก็ยังมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5-6/96)