คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จักษ์ชัย เยพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 427 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10810/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการสละมรดกที่ดินของลูกหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องทายาท
ส. สละมรดกในขณะที่เป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โดยข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์จะบังคับคดีได้ จึงเป็นการสละมรดกโดยรู้อยู่ว่าจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ กรณีมีเหตุเพิกถอนนิติกรรมสละมรดกที่ดินในส่วนของ ส.
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการสละมรดกที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า ส. สละมรดกที่ดินโดยรู้อยู่ว่าการกระทำเช่นนั้นจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ การกระทำของ ส. จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10672/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาต้องเป็นไปตามข้อกำหนดใน ป.วิ.อ. และต้องเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากความผิดที่ฟ้อง
แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 จะบัญญัติว่า ในกรณีมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคารที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือการใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา และศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แต่การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองได้จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่งและวรรคสาม กล่าวคือ การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ จะต้องเป็นคดีที่พนักงานอัยการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเท่านั้น โจทก์ร่วมไม่อาจไปยื่นคำร้องในคดีความผิดอื่นของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายได้ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการร่วมกันดัดแปลงขึ้นด้วยการต่อเติมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
บนที่ว่างด้านหลังเชื่อมต่ออาคารหลังเดิมให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันดัดแปลงต่อเติมอาคาร แต่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องโดยอ้างว่าได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอันเป็นคนละข้อหากับที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้ยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อเติมอาคารมาในคดีนี้ หากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยทั้งสองจริงก็ต้องยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขคำท้าสาบาน การกระทำไม่สุจริตของคู่กรณี และผลตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 186
ในการท้ากันนั้น โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงให้จำเลยดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าด้วย การดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำท้า ส่วนการที่จำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และผู้อำนวยการฯ ได้ยินด้วยนั้น เป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของคำท้า เมื่อปรากฏว่าจำเลยกล่าวคำสาบานโดยผู้อำนวยการฯ ได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยขณะอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 1 เมตร เมื่อผู้อำนวยการฯ แจ้งให้โจทก์เข้าไปใกล้จำเลยเพื่อจะได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลย ฝ่ายโจทก์กลับปฏิเสธว่าต้องการให้จำเลยพูดเสียงดังเพื่อให้ได้ยินทั่วกัน ถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลทั่วไปได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วย ซึ่งมิใช่เป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของคำท้า และก็ไม่ได้กำหนดให้จำเลยกล่าวสาบานผ่านเครื่องขยายเสียง อันจะแปลเจตนาของคำท้าได้ว่าจำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้บุคคลทั่วไปได้ยิน โจทก์ย่อมสามารถเข้าไปใกล้จำเลยได้ แต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่เข้าไปใกล้เพื่อให้ได้ยินเสียงถ้อยคำสาบาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายเสียเปรียบกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขที่ฝ่ายโจทก์ต้องได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วยนั้นไม่สำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยสาบานตนตรงตามคำท้าครบถ้วน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9284/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีรื้อฟื้นคดีอาญาถือเป็นที่สุด ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
การร้องขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 นั้น มาตรา 8 ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้อง แล้วส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาว่าจะสั่งรับคำร้องนั้นไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาคดีนั้นใหม่หรือไม่ตามมาตรา 9 ซึ่งในการพิจารณาคำร้องของศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" และวรรคสอง บัญญัติว่า "คำสั่งศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" เมื่อคดีอยู่ในชั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นของศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาสั่งรับคำร้องของผู้ร้องทั้งสองหรือไม่ตามมาตรา 10 ดังกล่าว มิใช่กรณีที่มีการพิจารณาคดีใหม่แล้วมีคำพิพากษาตามมาตรา 13 ที่จะฎีกาได้ตามมาตรา 15 (2) ดังนั้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยว่า คำร้องของผู้ร้องทั้งสองไม่มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่และให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาได้ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องทั้งสองมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14861/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาไม่ครบถ้วน ศาลมิอาจสั่งให้โอนกรรมสิทธิ์ได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระบุราคาทรัพย์สินเป็นเงิน 399,000 บาท ผู้ร้องอ้างว่าชำระราคาให้จำเลยครบตั้งแต่ปี 2543 โดยมีสำเนาใบเสร็จรับเงินมาแสดงเป็นหลักฐาน แต่เอกสารดังกล่าวมีรายการชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 27 กันยายน 2541 และมียอดเงินที่ชำระเพียง 64,000 บาท ส่วนที่ผู้ร้องนำสืบว่า ผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทตั้งแต่ปี 2541 ก็เป็นการเข้าครอบครองทรัพย์สินก่อนเวลาที่ผู้ร้องอ้างว่าชำระราคาเสร็จสิ้นเมื่อปี 2543 จึงมิใช่พฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว อีกทั้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ร้องเคยเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท พยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ผู้ร้องชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่จำเลยครบตามสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผู้ร้องยังไม่ชำระหนี้ของตนจึงไม่มีสิทธิขอให้ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระหนี้ตอบแทนด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทตามสัญญา ทั้งกรณีตามคำร้องเป็นการขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายอันเป็นการโอนทรัพย์สินโดยทางนิติกรรม คดีจึงไม่มีประเด็นว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยการครอบครอง ที่ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นเดียวกันแล้ว
การฟ้องหรือร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ดังเช่นการฟ้องคดีแพ่งทั่วไป แต่เป็นการฟ้องหรือร้องขอเพื่อให้มีการจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ ดังนั้น แม้คำร้องของโจทก์ในคดีก่อนจะเป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ส่วนคดีนี้เป็นการยื่นคำฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ก็ได้บัญญัติให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว จึงเห็นได้ว่า การยื่นคำร้องของโจทก์ในคดีก่อน ศาลก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงไปตามหลักเกณฑ์อันเป็นเงื่อนไขของการร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามบทกฎหมายดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 เช่นเดียวกับการพิจารณาคำฟ้องโจทก์ของศาลในคดีนี้ สภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับในคดีก่อนกับในคดีนี้จึงเป็นอย่างเดียวกันคือ เป็นกรณีที่โจทก์ดำเนินคดีเพื่อขอให้มีการจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกันนั่นเอง ซึ่งแม้ว่ามูลหนี้ในคดีก่อนกับในคดีนี้จะเป็นคนละมูลหนี้กันก็ตาม แต่โจทก์ก็เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ของจำเลยที่ 2 มาแต่เพียงผู้เดียว สิทธิเรียกร้องในคดีก่อนกับในคดีนี้ โจทก์ย่อมสามารถฟ้องหรือร้องขอรวมกันมาคราวเดียวกันได้ในคดีก่อน เพราะคู่ความในคดีก่อนกับในคดีนี้ก็เป็นคู่ความเดียวกัน กล่าวคือ เป็นคดีระหว่างบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ผู้ร้องในคดีก่อนซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้ กับ ม. ลูกหนี้ที่ 4 ในคดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า จำเลยที่ 2 กับพวกได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับโจทก์ และได้มีการโอนทรัพย์สินคือ ที่ดินตีชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วบางส่วน และมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งคำสั่งดังกล่าวได้ถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายเป็นคดีนี้อีก จึงถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคำร้องในคดีก่อนที่ศาลได้มีคำสั่งอันถึงที่สุดให้ยกคำร้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 แล้ว คำฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19798/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ระหว่างฟื้นฟูกิจการต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.ล้มละลาย หากขัดแย้งเป็นโมฆะ
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ได้กำหนดข้อจำกัดในการดำเนินกิจการของลูกหนี้หลายประการเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ โดยการห้ามลูกหนี้จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และการทำนิติกรรมใด ๆ ที่ขัดต่อบทบัญญัตินี้ การนั้นเป็นโมฆะ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 วรรคท้าย ข้อจำกัดดังกล่าวย่อมใช้บังคับกับผู้ทำแผนโดยอนุโลม ตามมาตรา 90/25 และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ให้บรรดาสิทธิและอำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนตกเป็นของผู้บริหารแผนตั้งแต่ผู้บริหารแผนได้ทราบคำสั่งศาล ตามมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ข้อจำกัดดังกล่าวย่อมใช้บังคับแก่ผู้บริหารแผนด้วย แต่เนื่องจากในการปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารแผนของลูกหนี้นั้น ผู้บริหารแผนต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผน ตามมาตรา 90/67 และในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผน ผู้บริหารแผนย่อมถูกจำกัด เมื่อปรากฏว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ผู้บริหารแผนได้ดำเนินการขายไปเป็นทรัพย์ที่มีความจำเป็นที่ลูกหนี้จะนำมาพัฒนาและทำกำไรในการฟื้นฟูกิจการ และในแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่ได้กำหนดให้ผู้บริหารแผนสามารถขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกได้ ดังนั้น การที่ผู้บริหารแผนนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ที่จำนองระงับแล้วไปขายต่อให้แก่บุคคลภายนอก จึงมิใช่การกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อได้ตามแผน นิติกรรมการขายดังกล่าวต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ประกอบมาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง จึงตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 90/12 วรรคท้าย ส่วนการขออนุญาตจากศาลล้มละลายกลางในกรณีที่นิติกรรมใด ๆ ตกอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 90/12 (9) จะต้องเป็นการขออนุญาตก่อนการทำนิติกรรม เพราะหากดำเนินการไปแล้วนิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ ศาลไม่อาจอนุญาตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12093/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก ศาลฎีกาพิจารณาอายุความจากวันที่จัดการมรดกเสร็จสิ้น
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง แต่จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งจะต้องฟ้องภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยระบุในคำให้การว่าโจทก์ฟ้องเกินสิบปี จึงขาดอายุความนั้น ถือได้ว่าอายุความที่จำเลยอ้างคือ อายุความมรดกตามมาตรา 1754 จึงไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก ตามมาตรา 1733 วรรคสอง แม้จำเลยร่วมให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกก็ตาม แต่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ถือไม่ได้ว่าจำเลยยกอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกขึ้นต่อสู้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ แม้โจทก์ไม่ฎีกาข้อนี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10786/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากปลอมแปลงเอกสารเป็นใช้เอกสารปลอม ทำให้ข้ออุทธรณ์เกินกรอบฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับและลงลายมือชื่อโจทก์ปลอมในช่องผู้มอบอำนาจ แล้วนำไปใช้หรืออ้างต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 264 วรรคแรก, 268 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ มิได้ร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับและลงลายมือชื่อโจทก์ปลอมในช่องผู้มอบอำนาจดังฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 ไม่ได้ เพราะนอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10577/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารเท็จ-ฉ้อโกง: จำเลยต้องมีเจตนาทุจริตและผู้ถูกหลอกต้องได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันนำโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินมาหลอกลวงโจทก์ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาทั้งสองและคดีแพ่ง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงว่าขอนำที่ดินโฉนดเลขที่ 67633 และ 70225 ตีใช้หนี้โจทก์ โจทก์หลงเชื่อหนังสือรับรองราคาประเมินว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 70225 มีราคาประเมิน 1,302,000 บาท จึงรับโอนที่ดินและถอนคำร้องทุกข์และถอนฟ้องทั้งสามคดี ความจริงที่ดินดังกล่าวมีราคาประเมินเพียง 117,180 บาท ไม่ได้มีราคาประเมินตามหนังสือรับรองดังกล่าว
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับประโยชน์เพียงไม่ถูกดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งเท่านั้น ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ด้วยการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ การถอนฟ้องคดีแพ่งนั้นโจทก์สามารถฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ การที่โจทก์ถอนคำร้องทุกข์คดีอาญาทั้งสองคดีและถอนฟ้องคดีแพ่งก็ไม่ใช่การถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ เพราะคำฟ้องคดีแพ่งและคำร้องทุกข์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341
of 43