พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จขึ้นอยู่กับสัญญาจ้าง หากลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ
คำสั่งของจำเลยให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์กระทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงานของจำเลยและปฏิบัติผิดสัญญาจ้างตามหนังสือสัญญาจ้างโดยให้ออกจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2527 เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นเรื่องลงโทษให้ออกเพราะโจทก์ทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงาน เมื่อจำเลยได้ดำเนินการและออกคำสั่งถูกต้องตามระเบียบก็เป็นการเลิกจ้างที่สมบูรณ์แล้ว หาต้องแสดงเจตนาแก่โจทก์อีกไม่ สภาพของการเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่จำเลย และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างภายหลังจากวันนั้นอีก
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้อง โดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และผลผูกพันนี้ หมายถึงผลผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาและผลผูกพันที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ฝ่ายใดจะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นมิได้ข้อตกลงนี้จึงมีผลผูกพันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับเท่านั้น ความในมาตรา 20 จึงเป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายคนโดยขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างที่ถูกผูกพันกันอยู่โดยผลของมาตรา 19 เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อระเบียบที่ 28/2522 ของจำเลยเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศขึ้นใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแม้จะถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แต่ก็มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 และมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะทำสัญญาจ้างแรงงานกันให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบที่ 28/2522 ได้
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้อง โดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และผลผูกพันนี้ หมายถึงผลผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาและผลผูกพันที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ฝ่ายใดจะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นมิได้ข้อตกลงนี้จึงมีผลผูกพันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับเท่านั้น ความในมาตรา 20 จึงเป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายคนโดยขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างที่ถูกผูกพันกันอยู่โดยผลของมาตรา 19 เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อระเบียบที่ 28/2522 ของจำเลยเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศขึ้นใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแม้จะถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แต่ก็มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 และมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะทำสัญญาจ้างแรงงานกันให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบที่ 28/2522 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและการยินยอมของสหภาพแรงงาน การปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีการโต้แย้งทำให้สิทธิเรียกร้องสูญเสีย
เมื่อจำเลยได้มีคำสั่งกำหนดเงินส่วนแบ่งจากค่าโดยสารให้แก่พนักงานเก็บค่าโดยสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนแบ่งจากคำสั่งเดิม สหภาพแรงงานผู้ปฏิบัติงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ด้วยมิได้ทักท้วง ย่อมมีผลเป็นว่าสหภาพแรงงานฯ ได้เห็นชอบตามคำสั่งของจำเลยและเมื่อโจทก์เข้าเป็นลูกจ้างของจำเลยจนถึงวันฟ้องโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยโดยยอมรับเอาเงินส่วนแบ่งจากรายได้ค่าโดยสารตามอัตราที่กำหนดไว้ตลอดมาโดยมิได้โต้แย้งคัดค้าน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนแบ่งจากรายได้ค่าโดยสารนอกเหนือไปจากที่กำหนดอัตราไว้ในคำสั่งดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยคำสั่งนายจ้าง การไม่โต้แย้งของสหภาพแรงงาน และการยอมรับเงื่อนไขของลูกจ้าง
เมื่อจำเลยได้มีคำสั่งกำหนดเงินส่วนแบ่งจากค่าโดยสารให้แก่พนักงานเก็บค่าโดยสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนแบ่งจากคำสั่งเดิม สหภาพแรงงานผู้ปฏิบัติงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ด้วยมิได้ทักท้วง ย่อมมีผลเป็นว่าสหภาพแรงงานฯ ได้เห็นชอบตามคำสั่งของจำเลยและเมื่อโจทก์เข้าเป็นลูกจ้างของจำเลยจนถึงวันฟ้องโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยโดยยอมรับเอาเงินส่วนแบ่งจากรายได้ค่าโดยสารตามอัตราที่กำหนดไว้ตลอดมาโดยมิได้โต้แย้งคัดค้าน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนแบ่งจากรายได้ค่าโดยสารนอกเหนือไปจากที่กำหนดอัตราไว้ในคำสั่งดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: ต้องมีสมาชิกได้รับผลกระทบโดยตรง จึงจะฟ้องแทนได้
โจทก์เป็นสหภาพแรงงานซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 98 ที่จะกระทำการอันใดอันหนึ่งเพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนระเบียบใหม่ที่ออกมาใช้บังคับซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบเดิม และไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างใหม่โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า ลูกจ้างใหม่ที่จำเลยได้ทำสัญญาจ้างภายหลังวันที่ระเบียบใหม่มีผลใช้บังคับนั้นได้เป็นสมาชิกของโจทก์ด้วยหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนระเบียบฉบับใหม่ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นโทษต่อลูกจ้างที่เข้ามาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: ต้องแสดงสมาชิกภาพของลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ
โจทก์เป็นสหภาพแรงงานซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 98 ที่จะกระทำการอันใดอันหนึ่งเพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนระเบียบใหม่ที่ออกมาใช้บังคับซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบเดิม และไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างใหม่โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า ลูกจ้างใหม่ที่จำเลยได้ทำสัญญาจ้างภายหลังวันที่ระเบียบใหม่มีผลใช้บังคับนั้นได้เป็นสมาชิกของโจทก์ด้วยหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนระเบียบฉบับใหม่ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นโทษต่อลูกจ้างที่เข้ามาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโยกย้ายหน้าที่พนักงาน: สิทธิของนายจ้างเมื่อลูกจ้างปฏิบัติงานบกพร่อง
จำเลยไม่ได้บรรจุโจทก์เป็นพนักงานคุมเครื่องทำความเย็นโดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามมิให้จำเลยโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่โจทก์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยไม่เติมน้ำเครื่องทำความเย็นทำให้เครื่องทำความเย็นดับ เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีสิทธิสั่งสับเปลี่ยนโยกย้ายโจทก์ไปทำหน้าที่พนักงานทั่วไปซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นตำแหน่งต่ำกว่าเดิมหรือทำให้โจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ลดลงโดยโจทก์ยังคงได้ค่าจ้างเท่าเดิม การกระทำของจำเลยไม่เป็นการผิดสภาพการจ้างและไม่เป็นการลงโทษหรือเป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ อันจะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างในการโยกย้ายลูกจ้างเมื่อปฏิบัติงานบกพร่อง และการไม่เข้าข่ายเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
จำเลยมิได้บรรจุโจทก์ให้เป็นพนักงานคุมเครื่องทำความเย็นโดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามมิให้จำเลยโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่โจทก์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยไม่เติม น้ำเครื่องทำความเย็น ทำให้เครื่องทำความเย็นดับ เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีสิทธิสั่งสับเปลี่ยนโยกย้ายโจทก์โดยให้โจทก์ได้ค่าจ้างเท่าเดิมเพื่อไปทำหน้าที่พนักงานทั่วไปได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าตำแหน่งพนักงานทั่วไปเป็นตำแหน่งที่ต่ำกว่าพนักงานคุมเครื่องทำความเย็นหรือโจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ลดลง จึงไม่เป็นการผิดสภาพการจ้างและไม่เป็นการลงโทษหรือเป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ อันจำเลยจะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อนตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโยกย้ายงานลูกจ้าง: สิทธินายจ้างในการปรับเปลี่ยนหน้าที่เมื่อลูกจ้างปฏิบัติงานบกพร่อง และไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
จำเลยไม่ได้บรรจุโจทก์เป็นพนักงานคุมเครื่องทำความเย็นโดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามมิให้จำเลยโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่โจทก์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยไม่เติมน้ำเครื่องทำความเย็นทำให้เครื่องทำความเย็นดับ เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีสิทธิสั่งสับเปลี่ยนโยกย้ายโจทก์ไปทำหน้าที่พนักงานทั่วไปซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นตำแหน่งต่ำกว่าเดิมหรือทำให้โจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ลดลงโดยโจทก์ยังคงได้ค่าจ้างเท่าเดิม การกระทำของจำเลยไม่เป็นการผิดสภาพการจ้างและไม่เป็นการลงโทษหรือเป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ อันจะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จของ อ.ส.ม.ท. สามารถใช้แทนค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานได้ หากไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้ใดตามกฎหมายแรงงานก็ให้จ่ายเงินค่าชดเชยจากกองทุนบำเหน็จ และผู้ปฏิบัติงานไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้อีก เว้นแต่เงินบำเหน็จที่คำนวณตามข้อบังคับนี้มากกว่าเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ก็ให้จ่ายเงินบำเหน็จส่วนที่มากกว่านั้นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้นั้น ข้อบังคับดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับได้แม้จะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ปฏิบัติงานอยู่บ้าง แต่ความในมาตรา 28 แห่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2520 ก็หาได้บัญญัติห้ามจำเลยที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่
แม้โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมาก่อนวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันใช้ข้อบังคับดังกล่าวจำเลยได้เคยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จไว้อันพึงนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์เคยมีสิทธิอย่างไร และข้อบังคับของจำเลยฉบับนี้ตัดสิทธิของโจทก์ประการใด ดังนั้นเมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากวันประกาศใช้ข้อบังคับสิทธิของโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จหรือไม่เพียงใด ก็ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
แม้โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมาก่อนวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันใช้ข้อบังคับดังกล่าวจำเลยได้เคยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จไว้อันพึงนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์เคยมีสิทธิอย่างไร และข้อบังคับของจำเลยฉบับนี้ตัดสิทธิของโจทก์ประการใด ดังนั้นเมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากวันประกาศใช้ข้อบังคับสิทธิของโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จหรือไม่เพียงใด ก็ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จของ อ.ส.ม.ท. สามารถใช้บังคับแทนค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานได้
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้ใดตามกฎหมายแรงงานก็ให้จ่ายเงินค่าชดเชยจากกองทุนบำเหน็จ และผู้ปฏิบัติงานไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้อีก เว้นแต่เงินบำเหน็จที่คำนวณตามข้อบังคับนี้มากกว่าเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ก็ให้จ่ายเงินบำเหน็จส่วนที่มากกว่านั้นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้นั้น ข้อบังคับดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับได้แม้จะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ปฏิบัติงานอยู่บ้าง แต่ความในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 ก็หาได้บัญญัติห้ามจำเลยที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ แม้โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมาก่อนวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันใช้ข้อบังคับดังกล่าวจำเลยได้เคยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จไว้อันพึงนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์เคยมีสิทธิอย่างไร และข้อบังคับของจำเลยฉบับนี้ตัดสิทธิของโจทก์ประการใด ดังนั้นเมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากวันประกาศใช้ข้อบังคับสิทธิของโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จหรือไม่เพียงใด ก็ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง.