พบผลลัพธ์ทั้งหมด 427 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7878/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จร่วมกันในคดีแพ่ง: การกระทำความผิดกรรมเดียว และความสัมพันธ์ระหว่างตัวการร่วม
การที่จำเลยทั้งสองต่างเบิกความในคดีหมายเลขแดงที่ 4304/2548 ของศาลแพ่งธนบุรี เป็นการเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดี แม้จำเลยทั้งสองต่างเบิกความเป็นพยาน แต่พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกให้โจทก์ลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญาจะซื้อขายที่ดินหรือสัญญาวางมัดจำที่ยังไม่ได้กรอกข้อความแล้วร่วมกันนำไปกรอกข้อความเท็จและนำมาฟ้องโจทก์ เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองเบิกความเท็จโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อสนับสนุนคำฟ้องของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 ชนะโจทก์ในคดีดังกล่าว มีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กัน จึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด
จำเลยที่ 2 เบิกความ 2 ครั้งต่างวันกันก็โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยที่ 1 ชนะโจทก์ในคดีก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยที่ 2 เบิกความ 2 ครั้งต่างวันกันก็โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยที่ 1 ชนะโจทก์ในคดีก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมาย การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว แต่ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า คำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากโจทก์เพื่อประโยชน์ในการติดต่อซื้อขายเสื้อผ้ากับต่างประเทศโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เข้าข้อยกเว้นของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ว่า เว้นแต่เพื่อการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่เกิน 5 ปี จึงไม่ขาดอายุความ เป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ควรจะฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อุทธรณ์ อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากโจทก์เพื่อประโยชน์ของจำเลยทั้งสองในการติดต่อซื้อขายเสื้อผ้ากับต่างประเทศโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อันนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์มีอายุความ 5 ปี จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6585/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามนำสิ่งของต้องห้ามเข้าเรือนจำ แม้จับกุมก่อนถึงเรือนจำ
จุดด่านตรวจที่จับกุมจำเลยได้อยู่ห่างจากเรือนจำประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นจุดตรวจค้นพบของกลางเท่านั้น ยังไม่ใช่จุดปฏิบัติการบังคับเครื่องบินซึ่งจำเลยเคยมาทดสอบการใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์บังคับด้วยวิทยุมาแล้ว ฉะนั้น เมื่อจำเลยจะปฏิบัติการบังคับเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ส่งโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เข้าเรือนจำจึงอยู่ใกล้เรือนจำซึ่งสามารถกระทำได้ การกระทำของจำเลยถือว่าได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้เสียก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามนำโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ซึ่งเป็นสิ่งของต้องห้ามเข้าไปในเรือนจำ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาจ้าง – การตีความสัญญาและข้อบังคับอนุญาโตตุลาการ
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการว่า สัญญาจ้างมุ่งถึงผลสำเร็จของงานทั้งหมด ผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างมิได้ยึดถือเอาการชำระค่าจ้างตามเนื้องานที่ระบุในแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แม้ผู้คัดค้านไม่ชำระค่าจ้างงานงวดที่ 11 อายุความยังไม่เริ่มนับ อายุความเริ่มนับเมื่อส่งมอบงานทั้งหมดแล้ว ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเพราะสัญญาจ้างระบุงานในแต่ละงวดและระบุค่าจ้างไว้ชัดเจน อายุความย่อมเริ่มนับเมื่อผู้ว่าจ้างไม่ชำระค่าจ้างในแต่ละงวดนั้น อุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นการโต้แย้งการวิเคราะห์พยานหลักฐานและดุลพินิจในการวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนของอนุญาโตตุลาการ และโต้แย้งการให้เหตุผลในการวินิจฉัยตีความข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านของอนุญาโตตุลาการและศาลชั้นต้นโดยไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (2) ที่ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ทำนองว่า อนุญาโตตุลาการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้นานถึงหนึ่งปี ย่อมขัดต่อข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ 27 ที่ต้องทำคำชี้ขาดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการนั้น ข้อบังคับดังกล่าวเป็นเพียงกรอบเวลาที่ได้กำหนดให้ดำเนินการเท่านั้น การที่อนุญาโตตุลาการไม่อาจทำคำชี้ขาดได้เสร็จภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับ ไม่ถึงกับทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1)
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ทำนองว่า อนุญาโตตุลาการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้นานถึงหนึ่งปี ย่อมขัดต่อข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ 27 ที่ต้องทำคำชี้ขาดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการนั้น ข้อบังคับดังกล่าวเป็นเพียงกรอบเวลาที่ได้กำหนดให้ดำเนินการเท่านั้น การที่อนุญาโตตุลาการไม่อาจทำคำชี้ขาดได้เสร็จภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับ ไม่ถึงกับทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของตัวแทน และอำนาจศาลในการแก้ไขฐานความผิดเดิม
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำน้ำมันของโจทก์ร่วมไปขายและรับเงินค่าขายน้ำมันจากลูกค้า ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบเงินดังกล่าวไว้ในครอบครองในฐานะตัวแทนโจทก์ร่วมและมีหน้าที่ส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยที่ 1 เบียดบังเอาไปบางส่วน จึงเป็นการยักยอกเงินค่าขายน้ำมันของโจทก์ร่วม เป็นความผิดฐานยักยอก แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญและจำเลยที่ 1 ไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทนายความในคดีที่มีการฟ้องแย้ง ศาลฎีกาเห็นว่าการคำนวณตามทุนทรัพย์รวมทั้งฟ้องหลักและฟ้องแย้งถูกต้องแล้ว และไม่อาจโต้แย้งดุลพินิจศาลได้
คดีนี้นอกจากโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายแล้ว จำเลยยังได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาท หากบังคับไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหาย ซึ่งศาลชั้นต้นรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกัน การคิดทุนทรัพย์เพื่อใช้เป็นฐานคำนวณในการกำหนดค่าทนายความจึงต้องคิดทั้งฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งตามตาราง 6 ค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราขั้นสูงไว้ที่ร้อยละ 5
ที่จำเลยฎีกาว่าค่าทนายความมีจำนวนสูงเกินไปนั้น เห็นว่า แม้จำเลยจะได้ฎีกาในข้อที่ว่าค่าทนายความมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นของข้อห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 มาแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความรวมถึงให้จำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองในการกำหนดค่าทนายความว่าสูงเกินไปขึ้นมาสู่การพิจารณาในชั้นนี้ได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมีผลเท่ากับยอมให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติดังกล่าวได้
ที่จำเลยฎีกาว่าค่าทนายความมีจำนวนสูงเกินไปนั้น เห็นว่า แม้จำเลยจะได้ฎีกาในข้อที่ว่าค่าทนายความมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นของข้อห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 มาแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความรวมถึงให้จำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองในการกำหนดค่าทนายความว่าสูงเกินไปขึ้นมาสู่การพิจารณาในชั้นนี้ได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมีผลเท่ากับยอมให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21196/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สัญญาจะซื้อขายไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีขับไล่ การเบิกความไม่ตรงกับพยานหลักฐานไม่ถือเป็นความผิด
คดีก่อนที่จำเลยทั้งสองฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินของเจ้ามรดก มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งสองหรือไม่ การที่โจทก์อยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับเจ้ามรดกเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนมรดกต่อมาไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่ต่อไป โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินอีก สัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลให้แพ้ชนะในคดี การที่จำเลยที่ 2 ไม่เบิกความถึงสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในคดีฟ้องขับไล่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การบอกกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยที่ 2 เบิกความแตกต่างจากที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ จึงไม่เป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
ในคดีฟ้องขับไล่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การบอกกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยที่ 2 เบิกความแตกต่างจากที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ จึงไม่เป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20038/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานแสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเท็จ ต้องมีองค์ประกอบการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทฯ มาตรา 42 ที่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้แสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท ก. อันเป็นเท็จว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวแล้ว ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายขาดประโยชน์อันควรได้จากหุ้นเท่านั้น ทั้งที่ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (1) (2) มิได้บัญญัติว่าการแสดงเอกสารอันเป็นเท็จเช่นนี้เป็นความผิดแต่อย่างใด โดยโจทก์กลับไม่บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ที่ลงข้อความอันเป็นเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นหรือยินยอมให้มีการลงข้อความอันเป็นเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นดังกล่าว โดยจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ อันเป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับการกระทำที่จะเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด แม้จะฟังว่าจำเลยแสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเท็จตามฟ้อง การกระทำเช่นนั้นก็ไม่เป็นความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้