พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373-1375/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และผลกระทบต่อสิทธิลูกจ้าง
จำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับโดยพลการ มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย แม้ข้อบังคับใหม่จะเป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยส่วนรวมยิ่งกว่าข้อบังคับเดิม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จไม่เป็นคุณแก่โจทก์ ดังนั้น ข้อบังคับส่วนที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และการลาออกโดยสมัครใจที่ไม่เข้าข่ายการเลิกจ้าง
สัญญาจ้างเดิมไม่มีข้อตกลงที่นายจ้างจะปรับลูกจ้างผู้ลาออกระหว่างปีการศึกษาและไม่มีข้อกำหนดให้ลูกจ้างต้องมีผู้ค้ำประกัน การที่นายจ้างเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นใหม่และเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ฝ่ายเดียว อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานโดยแท้ จึงเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและการเลิกจ้างโดยอ้างเงื่อนไขใหม่ที่ลูกจ้างไม่ยินยอม
สัญญาจ้างเดิมไม่มีข้อตกลงที่นายจ้างจะปรับลูกจ้างผู้ลาออกระหว่างปีการศึกษา และไม่มีข้อกำหนดให้ลูกจ้างต้องมีผู้ค้ำประกัน การที่นายจ้างเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นใหม่และเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ฝ่ายเดียว อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานโดยแท้ จึงเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง
ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง
นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง
ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงาน, อายุความการทำงานต่อเนื่อง, ค่าชดเชยและบำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง
บริษัท ม. กับจำเลยเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่บริษัท ม. ออกคำสั่งชี้แจงแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ศ. ก่อนมีการโอนพนักงานว่า เงินเดือนให้รับในอัตราและวิธีการเดิมไปพลางก่อนจนกว่าบริษัท ม. จะปรับปรุงระเบียบข้อบังคับใหม่ จึงหาผูกพันจำเลยไม่ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจำเลยบัญญัติว่า ให้ดำเนินการรับบรรจุแต่งตั้งพนักงานของบริษัทม. เป็นพนักงานของจำเลย และคณะกรรมการจำเลยมีมติว่าให้พนักงานรับเงินเดือนเช่นเดิมจนกว่าจะพิจารณาจัดแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งแล้ว จึงหมายความว่าเมื่อแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งเสร็จ เงินเดือนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยให้โจทก์รับเงินเดือนตามตำแหน่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบถ้วน แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ. และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม. และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกันดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ. จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้วการที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงาน-อายุงานต่อเนื่อง-ค่าชดเชย-เงินบำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
บริษัท ม. กับจำเลยเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่บริษัท ม.ออกคำสั่งชี้แจงแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ศ. ก่อนมีการโอนพนักงานว่า เงินเดือนให้รับในอัตราและวิธีการเดิมไปพลางก่อนจนกว่าบริษัท ม. จะปรับปรุงระเบียบข้อบังคับใหม่ จึงหาผูกพันจำเลยไม่ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจำเลยบัญญัติว่า ให้ดำเนินการรับบรรจุแต่งตั้งพนักงานของบริษัทม. เป็นพนักงานของจำเลย และคณะกรรมการจำเลยมีมติว่า ให้พนักงานรับเงินเดือนเช่นเดิมจนกว่าจะพิจารณาจัดแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งแล้ว จึงหมายความว่าเมื่อแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งเสร็จ เงินเดือนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยให้โจทก์รับเงินเดือนตามตำแหน่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบถ้วน
แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ.และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม.และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกัน ดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ.
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว
แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ.และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม.และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกัน ดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ.
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างตัดค่าจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงสภาพการจ้าง หากไม่มีข้อตกลงรองรับ การตัดค่าจ้างเป็นโมฆะ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างไม่มีข้อตกลงเรื่องตัดค่าจ้างของลูกจ้างในกรณีลูกจ้างขาดงาน มีแต่กำหนดว่า ถ้าลูกจ้างละทิ้งงานติดต่อกัน 3 วัน ให้พ้นจากการเป็นลูกจ้าง การที่นายจ้างกำหนดมาตรการการลงโทษลูกจ้างที่ละทิ้งการงานติดต่อกัน 3 วันเป็นว่าให้ตัดค่าจ้าง จึงเป็นการกำหนดมาตรการลงโทษขึ้นใหม่แม้ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 แต่การเพิ่มเติมสภาพการจ้าง เช่นนี้ ไม่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างว่านายจ้างมีอำนาจทำได้ตามมาตรา 11(7) ดังนั้นการที่นายจ้างใช้อำนาจตัดค่าจ้างลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างตัดค่าจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อบังคับหรือกฎหมาย หากไม่มีข้อความกำหนดไว้ชัดเจน การกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างไม่มีข้อตกลงเรื่องตัดค่าจ้างของลูกจ้างในกรณีลูกจ้างขาดงาน มีแต่กำหนดว่า ถ้าลูกจ้างละทิ้งงานติดต่อกัน 3 วัน ให้พ้นจากการเป็นลูกจ้างการที่นายจ้างกำหนดมาตรการการลงโทษลูกจ้างที่ละทิ้งการงานติดต่อกัน 3 วัน เป็นว่าให้ตัดค่าจ้าง จึงเป็นการกำหนดมาตรการลงโทษขึ้นใหม่ แม้ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 20 แต่การเพิ่มเติมสภาพการจ้าง เช่นนี้ ไม่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างว่านายจ้างมีอำนาจทำได้ตามมาตรา 11(7) ดังนั้นการที่นายจ้างใช้อำนาจตัดค่าจ้างลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197-3198/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างตามคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน นายจ้างแก้ไขเพิ่มเติมมิได้
เมื่อคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมีผลใช้บังคับ โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องผูกพันตามคำชี้ขาดนั้นหากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานต้องยื่นข้อเรียกร้องดำเนินการตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ กำหนดไว้นายจ้างจะดำเนินการไปฝ่ายเดียวโดยลูกจ้างไม่ยินยอมด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197-3198/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้าง นายจ้างแก้ไขเงื่อนไขมิได้ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
เมื่อคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมีผลใช้บังคับ โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องผูกพันตามคำชี้ขาดนั้น หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานต้องยื่นข้อเรียกร้องดำเนินการตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ กำหนดไว้นายจ้างจะดำเนินการไปฝ่ายเดียวโดยลูกจ้างไม่ยินยอมด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้าง แม้จะยังไม่มอบหมายงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าครองชีพตามตกลง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเมื่อนายจ้างตกลงเปิดงาน กำหนดว่านายจ้างจะให้ประโยชน์ ค่าจ้างและสวัสดิการแก่ ลูกจ้างที่กลับเข้าทำงานเช่นที่ลูกจ้างเคยได้รับ ไม่มีข้อใดให้อำนาจนายจ้างที่จะยังไม่ให้ลูกจ้างบางส่วนเข้าทำงาน นายจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะไม่ให้ประโยชน์ดังกล่าว แก่ลูกจ้างที่ได้รายงานตัวต่อนายจ้างเพื่อเข้าทำงานแล้วแต่ นายจ้างยังไม่เรียกเข้าทำงาน แม้โดยทั่วไปนายจ้างอาจจะไม่มอบงานให้ลูกจ้างทำได้เพราะไม่เป็นที่เสียหายแก่ ลูกจ้าง แต่นายจ้างหามีสิทธิที่จะยกเหตุที่ลูกจ้างไม่ ทำงานเพราะนายจ้างไม่มอบงานให้ทำมาปฏิเสธไม่ให้ ประโยชน์แก่ลูกจ้างได้ไม่นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าครองชีพ ให้แก่ลูกจ้างที่อยู่ระหว่างรอคำสั่งเรียกกลับเข้าทำงาน ด้วย และแม้นายจ้างจะมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขในการ จ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างได้ก็ตามนายจ้างก็หามีอำนาจ กำหนดเงื่อนไขการจ่ายค่าครองชีพให้ขัดกับบันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้วไม่
การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องและนายจ้างปิดงาน ถ้าต่างได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว หาอาจอ้างเป็นความผิดของฝ่ายใดไม่
การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องและนายจ้างปิดงาน ถ้าต่างได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว หาอาจอ้างเป็นความผิดของฝ่ายใดไม่