คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,273 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสวัสดิการรักษาพยาบาลของนายจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง และขอบเขตอำนาจการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจำเรืออันเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก็เป็นการจัดสวัสดิการซึ่งเป็นสภาพการจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ไม่ได้บังคับให้ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ แม้จำเลยกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียวและไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็ถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างโดยปริยายแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแต่การจัดพยาบาลประจำเรือดังกล่าวเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่พนักงานนอกเหนือที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในการบริหารกิจการของจำเลยและเกี่ยวกับสวัสดิการและผลประโยชน์อื่น จำเลยย่อมอาศัยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสวัสดิการที่ได้ให้แก่พนักงานนั้นได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่จำเลยจัดให้ใหม่นี้มิได้ทำให้พนักงานของจำเลยได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดจ่ายค่าจ้างโดยปริยายและการบอกกล่าวเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจำตลอดมาย่อมถือได้ว่าจำเลยตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดการจ่ายค่าจ้างโดยปริยาย การที่โจทก์ทั้งสามสิบสามได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า ณ วันสิ้นเดือนจึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนจะกำหนดจ่ายสินจ้าง อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในคราวถัดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและกำหนดจ่ายสินจ้าง การบอกกล่าวล่วงหน้าต้องกระทำก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจำตลอดมา ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดจ่ายค่าจ้างจากวันสิ้นเดือนเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน โดยปริยาย และเป็นกรณีไม่ตกอยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
โจทก์ได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยจำเลยกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในเดือนมิถุนายน 2541 อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในคราวถัดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลเหนือข้อบังคับใหม่ หากลูกจ้างไม่ยินยอมแก้ไข และเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการพิเศษที่ต่างจากค่าชดเชย
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่เจ้าหน้าที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่จำเลยประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมาในปี 2540 จำเลยจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยมีบทเฉพาะกาลว่าพนักงานที่ครบเกษียณอายุแล้วจะได้รับเงินที่จำเลยจ่ายสมทบให้พร้อมผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากคำนวณแล้วยอดเงินที่จะได้รับเมื่อรวมกับค่าชดเชยแล้วได้น้อยกว่าเงินบำเหน็จที่ได้กำหนดไว้ในประกาศเดิม จำเลยจะจ่ายเพิ่มให้ในส่วนที่ขาดอยู่เพื่อให้ได้รับเท่ากับอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับเดิมข้อบังคับดังกล่าวจึงขัดแย้งกับประกาศฉบับเดิม และมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้เงินบำเหน็จ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษ อันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง จึงมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อประกาศมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย จึงไม่อาจถือเอาได้ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้วนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลผูกพัน แม้มีข้อบังคับใหม่ขัดแย้ง หากลูกจ้างไม่ยินยอม
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลผูกพันให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่นายจ้างประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมานายจ้างจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขึ้นใหม่โดยมีบทเฉพาะกาลขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมและมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องการให้เงินบำเหน็จให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดโดยมีหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษแก่ลูกจ้างที่ได้ปฏิบัติงานให้นายจ้างด้วยดีตลอดมาโดยไม่มีความผิดอันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง วัตถุประสงค์และหลักการของการจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จจึงแตกต่างกัน เมื่อประกาศการให้เงินบำเหน็จมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า เงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในกรณีที่ค่าชดเชยมีจำนวนมากกว่าเงินบำเหน็จจึงไม่อาจถือได้ว่าเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากจำเลยตามประกาศการให้เงินบำเหน็จแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง & การแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยและลูกจ้างของจำเลยได้กำหนดระเบียบการขึ้นค่าจ้างไว้โดยระบุว่า การขึ้นค่าจ้างตามเวลาที่กำหนด พนักงานตั้งแต่ระดับหัวหน้าผู้ควบคุมงาน (CHIEF FOREMAN) ลงมาจะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง คือในวันที่ 21 มิถุนายน และวันที่ 21ธันวาคม ของทุกปี แต่ต้องเป็นผู้ที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 6 เดือนขึ้นไปเป็นข้อตกลงที่จำเลยและสหภาพแรงงาน ได้ร่วมกันพิจารณาและตกลงร่วมกันจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทั้งสองฝ่ายคือ นายจ้างและลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เมื่อข้อตกลงไม่มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการพิจารณาขึ้นค่าจ้างตามข้อตกลงในข้อนี้ ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่พนักงานลูกจ้างของจำเลยตามสภาพความเป็นจริงได้จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ หากในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น จำเลยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กิจการขาดทุนและจำเลยต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตาม
แม้ว่าข้อตกลงจะใช้ถ้อยคำว่า "...จะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง" ก็ตาม ถ้อยคำดังกล่าวก็มีความหมายว่าจำเลยจะต้องพิจารณาว่าลูกจ้างคนใดมีผลงานประเมินอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ หากอยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นค่าจ้าง ค่าจ้างที่ปรับขึ้นเป็นจำนวนเท่าใดเท่านั้นมิใช่เป็นการให้อำนาจแก่จำเลยที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายงานและการเลิกจ้าง: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายถือเป็นความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตอักเสบและโจทก์ได้ลาป่วยหลายครั้งเหตุที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากมีปัญหาจากความเจ็บป่วยและสุขภาพของโจทก์ จำเลยชอบที่จะย้ายโจทก์ไปทำงานตามความเหมาะสมได้หากโจทก์เห็นว่างานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ไม่เหมาะกับโจทก์ทั้งงานใหม่ดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างลดลงจากเดิม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ชอบที่จะตกลงกับจำเลยเพื่อขอเปลี่ยนงานใหม่ หรือดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายดังกล่าวในภายหลังดังนี้การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากเหตุดังกล่าว คำสั่งของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเมื่อจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ตามคำสั่ง โจทก์มีความประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปโดยติดต่อกับ ป. เรื่องตำแหน่งงานใหม่ภายหลังรายงานตัวกลับเข้าทำงาน จำเลยยังไม่จัดหาตำแหน่งงานใด ๆ ให้โจทก์ต่อมาโจทก์หายป่วยได้กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานต่อจำเลย แต่จำเลยไม่ได้จัดหาตำแหน่งงานหรือมอบงานใด ๆ ให้โจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ระหว่างโจทก์ลาป่วยจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานประจำที่สำนักงานใหญ่ โจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานที่สำนักงานใหญ่เนื่องจากรายได้ของโจทก์ลดลงจากเดิม โจทก์ติดต่อกับนางเปรมจิตรเกี่ยวกับตำแหน่งงานใหม่ของโจทก์ที่จะทำหลังจากที่โจทก์ได้รายงานตัวกลับเข้าทำงานแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย จึงเป็นความสมัครใจของโจทก์ จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายลูกจ้างเนื่องจากสุขภาพชอบด้วยกฎหมาย การไม่ไปทำงานถือเป็นละทิ้งหน้าที่ มิใช่การเลิกจ้าง
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตอักเสบและโจทก์ได้ลาป่วยหลายครั้งเหตุที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากมีปัญหาจากความเจ็บป่วยและสุขภาพของโจทก์ จำเลยชอบที่จะย้ายโจทก์ไปทำงานตามความเหมาะสมได้ การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากเหตุดังกล่าว คำสั่งของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหากโจทก์เห็นว่างานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ไม่เหมาะกับโจทก์และงานใหม่ดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างลดลงจากเดิม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ก็ชอบที่จะตกลงกับจำเลยเพื่อขอเปลี่ยนงานใหม่ หรือดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายดังกล่าวในภายหลังต่อไป ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ตามคำสั่งโจทก์มีความประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปโดยติดต่อกับ ป.เรื่องตำแหน่งงานใหม่ภายหลังรายงานตัวกลับเข้าทำงาน จำเลยยังไม่จัดหาตำแหน่งงานใดๆให้โจทก์ต่อมาโจทก์หายป่วยได้กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานต่อจำเลยแต่จำเลยไม่ได้จัดหาตำแหน่งงานหรือมอบงานใด ๆ ให้โจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าระหว่างโจทก์ลาป่วย จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานประจำที่สำนักงานใหญ่โจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวแต่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานที่สำนักงานใหญ่เนื่องจากรายได้ของโจทก์ลดลงจากเดิมโจทก์ติดต่อกับป.เกี่ยวกับตำแหน่งงานใหม่ของโจทก์ที่จะทำหลังจากที่โจทก์ได้รายงานตัวกลับเข้าทำงานแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย จึงเป็นความสมัครใจของโจทก์ จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายลูกจ้างชอบด้วยกฎหมาย หากลูกจ้างไม่เห็นด้วยมีสิทธิโต้แย้งหรือฟ้องเพิกถอน การไม่ไปทำงานถือเป็นความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตอักเสบและโจทก์ได้ลาป่วยหลายครั้ง เหตุที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากมีปัญหาจาก ความเจ็บป่วยและสุขภาพของโจทก์ จำเลยชอบที่จะย้ายโจทก์ ไปทำงานตามความเหมาะสมได้ หากโจทก์เห็นว่างานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ไม่เหมาะกับโจทก์ทั้งงานใหม่ดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างลดลงจากเดิม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ชอบที่จะตกลงกับจำเลยเพื่อขอเปลี่ยนงานใหม่หรือดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายดังกล่าว ในภายหลังดังนี้การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจาก เหตุดังกล่าว คำสั่งของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเมื่อจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ตามคำสั่ง โจทก์มีความประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปโดยติดต่อ กับ ป. เรื่องตำแหน่งงานใหม่ภายหลังรายงานตัวกลับเข้าทำงาน จำเลยยังไม่จัดหาตำแหน่งงานใด ๆ ให้โจทก์ต่อมาโจทก์หายป่วยได้กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานต่อจำเลยแต่จำเลยไม่ได้จัดหาตำแหน่งงานหรือมอบงานใด ๆ ให้โจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้ รับค่าจ้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ระหว่างโจทก์ลาป่วยจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานประจำที่สำนักงานใหญ่โจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานที่สำนักงานใหญ่เนื่องจากรายได้ของโจทก์ลดลงจากเดิมโจทก์ติดต่อกับ ป. เกี่ยวกับตำแหน่งงานใหม่ของโจทก์ที่จะทำหลังจากที่โจทก์ได้รายงานตัวกลับเข้าทำงาน แล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย จึงเป็นความสมัครใจของโจทก์ จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงส่วนแบ่งกำไรผูกพันนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามตกลง การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต้องได้รับความยินยอม
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้
คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่าผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 328