พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายส่วนแบ่งกำไรโดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นการผิดสัญญา
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลย ตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยจำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจาก โจทก์ก่อนได้ คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่า ผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532-4617/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานต้องโต้แย้งทันที และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างต้องแจ้งแก้ไขอย่างถูกต้อง
วันนัดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์ คู่ความแถลงยอมรับข้อเท็จจริงกันศาลแรงงานเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา คำสั่งศาลแรงงานที่ให้งดสืบพยานดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากจำเลยเห็นว่าการงดสืบพยานดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31,54 ปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยมีเวลาพอที่จะโต้แย้งได้ แต่จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อจำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง แม้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับจำเลยจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพียงแต่จำเลยประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่า จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสเพียงร้อยละ 50 ของอัตราการจ่ายในปีที่ผ่านมาโดยยึดหลักเกณฑ์เดิม ประกาศดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวและเป็นการที่จำเลยขอความร่วมมือจากลูกจ้างเท่านั้นมิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงย่อมไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เมื่อจำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง แม้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับจำเลยจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพียงแต่จำเลยประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่า จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสเพียงร้อยละ 50 ของอัตราการจ่ายในปีที่ผ่านมาโดยยึดหลักเกณฑ์เดิม ประกาศดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวและเป็นการที่จำเลยขอความร่วมมือจากลูกจ้างเท่านั้นมิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงย่อมไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างและผลของการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ: การคำนวณเงินโบนัส
เดิมจำเลยกับลูกจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับกำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างเป็นจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในหนึ่งเดือน ไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเงินโบนัสตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องคำนวณจากรายได้ของลูกจ้าง ยกเว้นเฉพาะเงินเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จำเลยมิได้คำนวณเงินโบนัสจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว การที่ต่อมาจำเลยได้นำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน มาใช้บังคับแทนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแม้ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยฉบับนี้ ในเรื่องสวัสดิการพนักงานว่าด้วยเงินโบนัสประจำปีจะระบุไว้ว่า จำนวนเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน โดยไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานการคำนวณ และหลังจากจำเลยนำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานมาใช้แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณตลอดมา เช่นนี้ ซึ่งแสดงว่าการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างนั้นจำเลยมิได้ยึดถือว่าต้องนำเฉพาะเงินเดือนตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมคำนวณด้วยตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสโดยมิได้นำค่าครองชีพมารวมคำนวณ จึงฝ่าฝืนต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเงินทุนเลี้ยงชีพเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการผูกพันตามข้อบังคับกองทุนหลังการยินยอมเป็นสมาชิก
แม้ก่อนมีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อโจทก์เกี่ยวกับเงินทุนเลี้ยงชีพ ซึ่งกำหนดว่า เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในสิทธิและประโยชน์ ซึ่งพนักงานพึงได้รับตามความในหมวดนี้ ระเบียบการใด ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 ซึ่งจะพึงมีขึ้นหรือแก้ไขเพิ่มเติมในภายหน้าจะใช้บังคับ เป็นผลให้เสื่อมสิทธิหรือประโยชน์ของพนักงานที่มีอยู่แล้วในวันวางระเบียบการใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมหาได้ไม่ และคงให้มีผลใช้บังคับได้นับแต่วันที่ได้วางระเบียบการใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้นก็ตาม แต่หลังจากจัดตั้งจำเลยที่ 2 ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ได้โอนเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมของลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ไปให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพ.ศ.2530 และโจทก์ยินยอมเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยที่ 2 ด้วยเท่ากับโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมของโจทก์ไปให้จำเลยที่ 2ดำเนินการนั่นเอง จำเลยที่ 1 จึงหมดความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมอีกต่อไป แม้คำสั่งเรื่องระเบียบปฏิบัติงานของจำเลยที่ 2 ได้กำหนดให้ธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนแก่สมาชิกแต่ละรายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนของสมาชิก ก็เป็นเพียงข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกเท่านั้น มิใช่ให้จำเลยที่ 1 เข้าไปจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมให้แก่โจทก์
หลังจากจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จำเลยที่ 2ได้รับโอนเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมของลูกจ้างทั้งหมดของจำเลยที่ 1 รวมทั้งโจทก์ทั้งสองจากจำเลยที่ 1 มาเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจและหน้าที่จัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยการที่จำเลยที่ 2 ออกข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วใช้บังคับในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ย่อมมีอำนาจทำได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2เคยมีข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวใช้บังคับมาก่อน จึงมิใช่เป็นกรณีการออกข้อบังคับอันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันสมาชิกของจำเลยที่ 2 โจทก์ยินยอมเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับเงินภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับดังกล่าว ดังนั้น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมดของโจทก์ ซึ่งได้แก่เงินทุนเลี้ยงชีพเดิมและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังจดทะเบียนจัดตั้งจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นของกองทุนโดยถือว่าเป็นเงินอุทิศให้แก่กองทุน
หลังจากจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จำเลยที่ 2ได้รับโอนเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมของลูกจ้างทั้งหมดของจำเลยที่ 1 รวมทั้งโจทก์ทั้งสองจากจำเลยที่ 1 มาเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจและหน้าที่จัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยการที่จำเลยที่ 2 ออกข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วใช้บังคับในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ย่อมมีอำนาจทำได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2เคยมีข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวใช้บังคับมาก่อน จึงมิใช่เป็นกรณีการออกข้อบังคับอันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันสมาชิกของจำเลยที่ 2 โจทก์ยินยอมเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับเงินภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับดังกล่าว ดังนั้น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมดของโจทก์ ซึ่งได้แก่เงินทุนเลี้ยงชีพเดิมและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังจดทะเบียนจัดตั้งจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นของกองทุนโดยถือว่าเป็นเงินอุทิศให้แก่กองทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหน้าที่งานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2522จำเลยให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่พนักงานทอผ้าในแผนกทอผ้าตลอดมาการปฏิบัติงานที่แผนกสวัสดิการทั่วไปคือทำงานตักขยะตักเศษด้ายขึ้นมาจากท้องร่องรอบๆโรงงานและกวาดขยะเน่าในโกดังซึ่งมีลักษณะงานแตกต่างจากที่โจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่เดิมที่แผนกทอผ้ามากถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานในส่วนสำคัญและเป็นการย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ต่ำกว่าเดิมคำสั่งเปลี่ยนแปลงหน้าที่โจทก์จากงานทอผ้าไปทำงานแผนกสวัสดิการทั่วไปจึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรมการที่จำเลยมีคำสั่งเปลี่ยนหน้าที่โจทก์จากทอผ้าไปทำงานแผนกสวัสดิการทั่วไปแม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามโดยจำเลยได้ตักเตือนแล้วก็ตามกรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหน้าที่งานที่ไม่เป็นธรรมและการปฏิเสธคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2522จำเลยให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่พนักงานทอผ้าในแผนกทอผ้าตลอดมา การปฏิบัติงานที่แผนกสวัสดิการทั่วไป คือทำงานตักขยะ ตักเศษด้ายขึ้นมาจากท้องร่องรอบ ๆ โรงงานและกวาดขยะเน่าในโกดัง ซึ่งมีลักษณะงานแตกต่างจากที่โจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่เดิมที่แผนกทอผ้ามาก ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานในส่วนสำคัญและเป็นการย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ต่ำกว่าเดิม คำสั่งเปลี่ยนแปลงหน้าที่โจทก์จากงานทอผ้าไปทำงานแผนกสวัสดิการทั่วไปจึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม การที่จำเลยมีคำสั่งเปลี่ยนหน้าที่โจทก์จากทอผ้าไปทำงานแผนกสวัสดิการทั่วไป แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามโดยจำเลยได้ตักเตือนแล้วก็ตาม กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610-9623/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ทั้งสิบสี่และคนงานอื่นรวม190คนผละงานประท้วงเมื่อวันที่21กรกฎาคม2538เวลาประมาณ8นาฬิกาซึ่งเป็นวันทำงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือและไม่มีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงไม่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13พฤติการณ์เป็นการร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ชอบแม้ต่อมาตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างจะตกลงกันได้โดยนายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างเป็นความผิดก็ตามแต่ตามบันทึกที่ทำขึ้นมีข้อความชัดเจนว่านายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงเป็นความผิดเฉพาะลูกจ้างที่ลงชื่อขอโทษและรับว่าจะไม่ผละงานอีกเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยยอมยกเว้นไม่ถือว่าการหยุดงานเป็นความผิดต่อเมื่อลูกจ้างลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงจะถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างไม่เป็นความผิดหาใช่เป็นเรื่องบังคับให้ลูกจ้างต้องลงลายมือชื่อขอโทษแต่ประการใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ลงลายมือชื่อยอมรับผิดและรับว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกจึงไม่เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงและการหยุดงานของโจทก์ทั้งสิบสี่เป็นการละเมิดต่อจำเลยจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ10.4เมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่นัดหยุดงานโดยไม่ชอบและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสิบสี่กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ทั้งสิบสี่ไม่กลับเข้าทำงานตามคำสั่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)(4)โจทก์ทั้งสิบสี่จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย โจทก์ทั้งสิบสี่อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ในวันที่21กรกฎาคม2538เวลา18นาฬิกาเป็นการเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่กลับบ้านไปแล้วจึงเป็นการประกาศเลิกจ้างนอกเวลาทำงานเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับเงื่อนไขรัฐวิสาหกิจที่ดีมีผลผูกพันตลอดสัญญา - เงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860บาทคูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำนาญที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้วโจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับเงื่อนไขการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และผลกระทบต่อการคำนวณเงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860 บาท คูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำเหน็จที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9403-9495/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และหน้าที่ปฏิบัติตามข้อตกลง
การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นหาได้จำต้องเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ จำเลยเคยจ่ายเงินพิเศษแก่ลูกจ้างปีละ15วันแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแทนลูกจ้างของจำเลยหาได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านประการใดไม่ตรงกันข้ามกลับยอมรับเอาผลการเปลี่ยนแปลงโดยยอมรับเอาคูปองค่าอาหารแทนเงินพิเศษตลอดมาจึงมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ190บาทต่อเดือนนั้นคูปองค่าอาหารที่จ่ายให้มีลักษณะเป็นสวัสดิการอันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งเมื่อลูกจ้างยอมรับเอาและจำเลยก็ได้จ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือมี2กรณี คือกรณีแรกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา10วรรคแรกซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในกรณีนี้จะต้องมีข้อความดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11ส่วนกรณีที่สองข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้างและสามารถตกลงกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา18ซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้วนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีจะต้องลงลายมือชื่อและต้องนำไปจดทะเบียนอีกด้วย จำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารโดยมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือดังนี้จำเลยจะยกเบิกการจ่ายคูปองค่าอาหารซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยที่มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13หาได้ไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนที่จำเลยจะยกเลิกจ่ายคูปองค่าอาหารจำเลยได้ตกลงกับตัวแทนลูกจ้างแล้วนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังมาว่าไม่ได้มีการเจรจาสองฝ่ายให้ยกเลิกการจ่ายคูปองค่าอาหารอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินโบนัสและคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะเพิ่มเงินโบนัสแก่ลูกจ้างแต่การที่จำเลยยกเลิกการจ่ายคูปองอาหารอันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับคูปองอาหารย่อมไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจำเลยจะแก้ไขยกเลิกโดยลำพังโดยที่มิได้ดำเนินการตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลแรงงานกล่าวไว้ในส่วนของคำวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าอาหารแก่โจทก์แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายอาหารแก่โจทก์นั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารแก่ลูกจ้างเดือนละ190บาทซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแก่โจทก์ทุกคน