คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 87

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอำนาจฟ้อง & ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ & ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในคำให้การ
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างในฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องไม่ตรงกับที่จำเลยได้ให้การไว้ จึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด และคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใดเช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยก ป.พ.พ.มาตรา 1087 มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้และประเด็นข้อพิพาทในชั้นฎีกา และการวินิจฉัยความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างในฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องไม่ตรงกับที่จำเลยได้ให้การไว้จึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดและคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใด เช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ หยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็น บทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัย ถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การผ่อนเวลาชำระหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน/ทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้บัญญัติว่า"การฟ้องคดีท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงหากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย"ดังนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ตามคำให้การของจำเลยที่15ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่15จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่15ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้ ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่1ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวเมื่อร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวจำเลยที่5ทายาทของร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจากร. ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่2ถึงจำเลยที่4และจำเลยที่6ถึงจำเลยที่8ซึ่งเป็นทายาทของร. แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่5ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่5ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)และมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไม่สะดุดหยุดชะงักจากการถอนฟ้อง, การผ่อนเวลาหนี้, และขอบเขตความรับผิดของทายาท
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174 เดิม ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท ได้บัญญัติว่า "การฟ้องคดี ท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง หากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย..." ดังนั้น การที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด
ตามคำให้การของจำเลยที่ 15 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 15 จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่ 15 ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้
ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว เมื่อ ร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 5 ทายาทของ ร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจาก ร.ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นทายาทของ ร.แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่ 5 ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 5 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1)และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีธนาคารภายหลังข้อตกลงเดิมสิ้นสุด และการกระทำละเมิดของผู้มีอำนาจ
โจทก์จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย บรรดาทรัพย์สินต่างๆรวมทั้งองค์เซียนแป๊ะโค้วย่อมตกเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เงินที่ประชาชนบริจาคในการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วและนำไปฝากไว้ในบัญชีนั้นถือว่าเป็นเงินที่บริจาคให้แก่องค์เซียนแป๊ะโค้ว จึงตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นเจ้าขององค์เซียนแป๊ะโค้ว เงินในบัญชีซึ่งเป็นเงินรายได้จากการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วนั้น คู่ความทราบในคดีก่อนแล้วว่าได้มีการตกลงกันให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารโดยมีเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้ตามมติของคณะกรรมการจัดงาน และให้จำเลยที่2 ที่ 3 และบ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกันในเช็คเพื่อเบิกจ่ายเงินจากบัญชี ดังนั้นการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนี้เรื่อยไปจนกว่าคดีจะเสร็จหรือถึงที่สุด หาใช่ข้อตกลงนี้เป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาซึ่งจะถูกยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 ไม่ เมื่อระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 3 ซึ่งพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าเขตลาดกระบังแล้ว กลับมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินตามข้อตกลงเดิมทั้งหมด แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 คนใดคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีแทน โดยไม่บอกกล่าวแถลงศาลก่อนหรือแจ้งบอกกล่าวแก่คู่ความในคดีนั้นซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง นอกจากจะเป็นการไม่ถูกต้องแล้วยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจเบิกถอนเพราะขัดกับข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 3 มีส่วนทำละเมิดดังกล่าวด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจและเบิกถอนก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ตามลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของมูลนิธิ การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีธนาคารต้องเป็นไปตามข้อตกลง และการกระทำละเมิดของกรรมการ
โจทก์จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย บรรดาทรัพย์สินต่างๆรวมทั้งองค์เซียนแป๊ะโค้วย่อมตกเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เงินที่ประชาชนบริจาคในการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วและนำไปฝากไว้ในบัญชีนั้นถือว่าเป็นเงินที่บริจาคให้แก่องค์เซียนแป๊ะโค้ว จึงตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นเจ้าขององค์เซียนแป๊ะโค้ว
เงินในบัญชีซึ่งเป็นเงินรายได้จากการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วนั้น คู่ความทราบในคดีก่อนแล้วว่าได้มีการตกลงกันให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารโดยมีเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้ตามมติของคณะกรรมการจัดงาน และให้จำเลยที่2 ที่ 3 และบ.เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกันในเช็คเพื่อเบิกจ่ายเงินจากบัญชี ดังนั้นการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนี้เรื่อยไปจนกว่าคดีจะเสร็จหรือถึงที่สุด หาใช่ข้อตกลงนี้เป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาซึ่งจะถูกยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 ไม่
เมื่อระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 3 ซึ่งพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าเขตลาดกระบังแล้ว กลับมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินตามข้อตกลงเดิมทั้งหมด แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 คนใดคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีแทนโดยไม่บอกกล่าวแถลงศาลก่อนหรือแจ้งบอกกล่าวแก่คู่ความในคดีนั้นซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง นอกจากจะเป็นการไม่ถูกต้องแล้วยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจเบิกถอนเพราะขัดกับข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1จึงทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 3 มีส่วนทำละเมิดดังกล่าวด้วยส่วนจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจและเบิกถอนก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ตามลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้มูลนิธิ: ถือเป็นการแสดงเจตนาให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่ต้องจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 525
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งผู้มีจิตศรัทธาหลายรายได้บริจาคเงินซื้อเพื่อจะยกให้แก่มูลนิธิที่จะตั้งขึ้นในที่พิพาท จึงได้ใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ปกครองศาลเจ้าให้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน เมื่อจำเลยเอาที่พิพาทไปจำนองและขายให้แก่บุคคลอื่นก็มีผู้ช่วยกันออกเงินไถ่จำนองและซื้อกลับคืนมา แล้วใส่ชื่อจำเลยและบุคคลอื่น ๆ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไว้ในโฉนด เพื่อป้องกันมิให้จำเลยนำไปจำนองหรือขายให้แก่ผู้อื่นอีก และได้ทำหนังสือกันไว้ว่ายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น การที่จำเลยและบุคคลอื่น ๆ เป็นเจ้าของที่พิพาทก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์ไว้เพื่อมูลนิธิโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิแล้ว ที่พิพาทดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิเป็นต้นไป กรณีจึงหาได้เป็นการให้ที่ตกอยู่ในบังคับจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ไม่ เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้มูลนิธิ: การแสดงเจตนาและผลทางกฎหมายเมื่อมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งผู้มีจิตศรัทธาหลายรายได้บริจาคเงินซื้อเพื่อจะยกให้แก่มูลนิธิที่จะตั้งขึ้นในที่พิพาท จึงได้ใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ปกครองศาลเจ้าให้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน เมื่อจำเลยเอาที่พิพาทไปจำนองและขายให้แก่บุคคลอื่นก็มีผู้ช่วยกันออกเงินไถ่จำนองและซื้อกลับคืนมา แล้วใส่ชื่อจำเลยและบุคคลอื่นๆ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไว้ในโฉนด เพื่อป้องกันมิให้จำเลยนำไปจำนองหรือขายให้แก่ผู้อื่นอีก และได้ทำหนังสือกันไว้ว่ายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิดังกล่าวแล้วฉะนั้น การที่จำเลยและบุคคลอื่นๆ เป็นเจ้าของที่พิพาทก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์ไว้เพื่อมูลนิธิโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิแล้ว ที่พิพาทดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิเป็นต้นไป กรณีจึงหาได้เป็นการให้ที่ตกอยู่ในบังคับจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ไม่ เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้อุทิศทรัพย์สินให้มูลนิธิ กรณีถูกยักยอกและทำให้มูลนิธิเลิก
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม มาตรา 28(2) แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา87 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนดให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดก็ยังหาได้มีการโอนโฉนดใส่ชื่อมูลนิธิไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้อุทิศทรัพย์สินให้มูลนิธิ กรณีถูกยักยอกและทำให้มูลนิธิเลิกกิจการ
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28 (2) แห่ง ป.วิ.อ. แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ป.พ.พ. มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรา 87 แพ่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนด ให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนด ก็ยังหาได้มีการโอนโฉนด ใส่ชื่อมูลนิธิไม่
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502
of 2