คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 130

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน: การสอบสวนโดยไม่มีคำร้องทุกข์ และการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง บัญญัติเพียงว่า เฉพาะคดีความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนได้จะต้องมีคำร้องทุกข์เสียก่อน เมื่อคดีความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาแผ่นดินทุกฐานความผิด พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนโดยลำพังตนเองหากพบว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น โดยเฉพาะคดีนี้ ผู้เสียหายโทรศัพท์แจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวน เท่ากับว่าได้มีการกล่าวโทษซึ่งทำให้พนักงานสอบสวนทราบว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจเริ่มต้นการสอบสวนได้ในทันทีด้วยการออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 130 บัญญัติไว้ ถือได้ว่าคดีนี้มีการสอบสวนในความผิดตามฟ้องโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13537/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งอายัดทรัพย์สินกรณีฟอกเงิน: อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ ปปง.
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำการสืบสวนคดีอาญา เมื่อสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดแล้วว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันเถื่อน จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจกล่าวโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (8) 17, 18, 125 และ 127 และเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสืบสวนสอบสวนของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121,130 และ 131 ซึ่งลักษณะความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินที่กล่าวหา บัญชีเงินฝากของโจทก์ย่อมเป็นหลักฐานอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างหนึ่งที่อาจพิสูจน์ให้เห็นความผิดตามที่กล่าวหาได้ จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจยึดหรืออายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ไว้ตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม และ 132 อันเป็นการดำเนินการทางอาญาในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินตามอำนาจหน้าที่ของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ
การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร โดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมมีอำนาจหน้าที่โดยตรง เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13536/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สิน-ฟอกเงิน: อำนาจพนักงานสอบสวน-เหตุอันควรเชื่อได้-ไม่มีความผิด
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำการสืบสวนคดีอาญา เมื่อสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดแล้วว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันเถื่อน จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจกล่าวโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (8), 17, 18, 125 และ 127 และเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสืบสวนสอบสวนของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบจำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121, 130 และ 131 ซึ่งลักษณะความผิดที่กล่าวหาดังกล่าวบัญชีเงินฝากของโจทก์ย่อมเป็นหลักฐานอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างหนึ่งที่อาจพิสูจน์ให้เห็นความผิดตามที่กล่าวหาได้ จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจยึดหรืออายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ไว้ตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม และ 132 อันเป็นการดำเนินการทางอาญาในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินตามอำนาจหน้าที่ของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ
การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรโดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรม เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดีอาญาที่ล่าช้า: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 วรรคแรก จะบัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130 กำหนดให้เริ่มการสอบสวนโดยไม่ชักช้าจะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยอันเป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาให้ได้รับผลกระทบจากการเป็นผู้ต้องหาน้อยที่สุด แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้าแล้ว การสอบสวนนั้นจะเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าพนักงานสอบสวนเพิ่งเริ่มสอบสวนเกี่ยวกับความผิดของจำเลยในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองในระหว่างที่จำเลยต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรมหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถึง 1 ปี 3 เดือน ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุขัดเคืองกันมาก่อนก่อนเกิดเหตุ ถือไม่ได้เสมอไปว่าจะเป็นเหตุให้จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า หลังจากที่จำเลยและผู้ตายมีเรื่องขัดเคืองกันในครั้งก่อน แล้วจำเลยมีความอาฆาตคอยติดตามที่จะทำร้ายผู้ตายอีก ทั้งบ้านจำเลยและบ้านผู้ตายก็มิได้อยู่จังหวัดเดียวกัน ผู้ตายเพิ่งมาบ้านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านพ่อตาแม่ยายและอยู่ใกล้กับบ้านจำเลยในวันเกิดเหตุนั้นเอง การที่จำเลยฆ่าผู้ตายมิได้เป็นการซุ่มยิง แต่เป็นการใช้อาวุธปืนยิงจากข้างล่าง 1 นัด แล้วเดินตามขึ้นไปยิงผู้ตายบนบ้านที่เกิดเหตุอีก 1 นัด และยังใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายผู้ตายต่อหน้าญาติจำเลยและญาติผู้ตายอีกหลายคน ผิดวิสัยที่จะเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ความคิดของจำเลยที่จะฆ่าผู้ตายเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อเห็นผู้ตายที่บ้านที่เกิดเหตุโดยจำเลยมิได้มีการตระเตรียมการหรือมีการวางแผนมาก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 เท่านั้น
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจพนักงานสอบสวน-การฟ้องคดีอาญา-การถอนคำร้องทุกข์-ไม่เป็นละเมิด
การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเชื่อคำให้การของผู้เสียหายและไม่สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก เป็นดุลพินิจของจำเลย เมื่อพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลแล้ว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ก็มิได้หมายความว่าคดีที่โจทก์ถูกฟ้องไม่มีมูลความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนนอกสถานที่และการจดบันทึกคำให้การ: ไม่ถือเป็นเอกสารเท็จ
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนที่ใด เวลาใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130การที่จำเลยสอบถามข้อเท็จจริงบางประการจากโจทก์ที่โรงพยาบาลแล้วไปจดลงในคำให้การของโจทก์ที่สถานีตำรวจอันเป็นที่ทำการของจำเลยภายหลัง โดยระบุว่าสอบสวนที่สถานีตำรวจ เพียงเหตุเท่านี้หาเป็นการทำและรับรองเอกสารอันเป็นเท็จไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนและการรับรองเอกสาร: การสอบถามข้อเท็จจริงและการจดบันทึก
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนที่ใด เวลาใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 130 การที่จำเลยสอบถามข้อเท็จจริงบางประการจากโจทก์ที่โรงพยาบาลแล้วไปจดลงในคำให้การของโจทก์ที่สถานีตำรวจอันเป็นที่ทำการของจำเลยภายหลัง โดย ระบุว่าสอบสวนที่สถานีตำรวจเพียงเหตุเท่านี้หาเป็นการทำและรับรองเอกสารอันเป็นเท็จไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าข่มขืน ลักทรัพย์ และรับราชการทหารแทนผู้อื่น โดยพิจารณาความผิดหลายกระทงและเจตนาในการกระทำ
การที่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งฝ่ายทหารให้มาฟังการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นทหารตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมในการกระทำผิดแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธ ดังนั้น การที่พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมดังกล่าว จะถือว่าจำเลยร่วมกับพวกพกพาอาวุธมีดปลายแหลมนั้นไปในทางสาธารณะ ในหมู่บ้านด้วย หาได้ไม่ จำเลยทำร้ายและฆ่าผู้ตายโดยเจตนาให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ดังนี้ การที่จำเลยกับพวกปลดเอาทรัพย์ของผู้ตายก่อนหลบหนีเห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ มิใช่ฐานปล้นทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานข่มขืนฆ่าและลักทรัพย์ ความรับผิดทางอาญาและอัตราโทษ
การที่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งฝ่ายทหารให้มาฟังการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นทหารตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ
พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมในการกระทำผิดแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธ ดังนั้น การที่พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมดังกล่าว จะถือว่าจำเลยร่วมกับพวกพกพาอาวุธมีดปลายแหลมนั้นไปในทางสาธารณะ ในหมู่บ้านด้วย หาได้ไม่
จำเลยทำร้ายและฆ่าผู้ตายโดยเจตนาให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ดังนี้ การที่จำเลยกับพวกปลดเอาทรัพย์ของผู้ตายก่อนหลบหนี เห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ มิใช่ฐานปล้นทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 2