คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 767

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำหุ้นในสัญญาจำนำ: ผู้จำนำรับผิดเฉพาะวงเงินจำนำ ไม่ใช่หนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำ: สัญญาจำนำจำกัดความรับผิดตามวงเงินประกัน ไม่ขยายไปถึงหนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนำและชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้รายอื่น
บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ได้มอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจำนำไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกับวันที่บริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายบริษัทลูกหนี้ย่อมทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่าฐานะทางการเงินของบริษัทลูกหนี้ไม่ดีไม่สามารถที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านและบรรดาเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทลูกหนี้แล้ว มีเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวม 51 รายเป็นเงินประมาณ 67 ล้านบาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ได้เพียงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง1 แปลง ซึ่งมีราคาประมาณ 14 ล้านบาทเท่านั้น การที่บริษัทลูกหนี้จำนำวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานไว้แก่ผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เมื่อผู้คัดค้านนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำมาหักทอนบัญชีลดยอดหนี้และนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของบริษัทลูกหนี้รวมเป็นเงิน 5,462,800 บาท อันเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวนั้นย่อมเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 และผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านมีบุริมสิทธิในทรัพย์จำนำนั้น
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 115.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนำและชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เพื่อคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้รายอื่น
บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ได้มอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจำนำไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกับวันที่บริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์ฟ้องให้ล้มละลายบริษัทลูกหนี้ย่อมทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่าฐานะทางการเงินของบริษัทลูกหนี้ไม่ดีไม่สามารถที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านและบรรดาเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทลูกหนี้แล้ว มีเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวม 51 รายเป็นเงินประมาณ 67 ล้านบาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ได้เพียงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1 แปลง ซึ่งมีราคาประมาณ 14 ล้านบาทเท่านั้น การที่บริษัทลูกหนี้จำนำวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานไว้แก่ผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เมื่อผู้คัดค้านนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำมาหักทอนบัญชีลดยอดหนี้และนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของบริษัทลูกหนี้รวมเป็นเงิน 5,462,800 บาท อันเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวนั้นย่อมเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 และผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านมีบุริมสิทธิในทรัพย์จำนำนั้น
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ ผู้จำนำต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามมูลค่าหุ้น หากขายได้เงินน้อยกว่าก็ต้องชดใช้ส่วนต่าง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 1, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 7 ได้จำนำหุ้นซึ่งจำเลยแต่ละคนเป็นผู้ถือเพื่อเป็นการประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 สัญญาจำนำระบุว่าผู้จำนำยอมรับผิดต่อผู้รับจำนำในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และถ้าขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมชดใช้เงินที่ยังขาดอีกจนครบนั้น ต้องแปลว่าจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เต็มมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนนำมาจำนำ หากภายหลังขายได้เงินสุทธิน้อยกว่ามูลค่าหุ้นแล้ว ผู้จำนำยอมรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ขายฝาก: สิทธิของผู้ซื้อฝากเมื่อผู้ขายฝากผิดนัดและจำเลยซื้อโดยสุจริต
แม้สัญญาขายฝากจะมีข้อความว่า เมื่อทรัพย์ที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิของผู้ซื้อฝากแล้ว ถ้าผู้ซื้อฝากขายทรัพย์นั้นได้เงินไม่ครบตามจำนวนที่ขายฝาก ยังขาดอยู่เท่าใด ผู้ขายฝากยอมใช้ให้ผู้ซื้อฝากจนครบก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่คู่กรณีได้ตกลงกันเป็นพิเศษ ไม่ขัดกับกฎหมาย และไม่ทำให้ลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปเป็นจำนำแต่อย่างใด
การที่ผู้ขายฝากลอบเอารถยนต์ที่ขายฝากไปขายให้แก่บุคคลอื่นอีกนั้น แม้ผู้ซื้อจะได้รับซื้อไว้โดยสุจริตก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อใช้ยันผู้รับซื้อฝากได้ในเมื่อต่อมาผู้ขายฝากไม่ไถ่รถยนต์ที่ขายฝากนั้นเสียภายในกำหนดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จากการซื้อขายฝากและผลกระทบจากการแจ้งเท็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์
แม้สัญญาขายฝากจะมีข้อความว่า เมื่อทรัพย์ที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิของผู้ซื้อฝากแล้ว ถ้าผู้ซื้อฝากขายทรัพย์นั้นได้เงินไม่ครบตามจำนวนที่ขายฝาก ยังขาดอยู่เท่าใด ผู้ขายฝากยอมใช้ให้ผู้ซื้อฝากจนครบก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่คู่กรณีได้ตกลงกันเป็นพิเศษ ไม่ขัดกับกฎหมาย และไม่ทำให้ลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปเป็นจำนำแต่อย่างใด
การที่ผู้ขายฝากลอบเอารถยนต์ที่ขายฝากไปขายให้แก่บุคคลอื่นอีกนั้นแม้ผู้ซื้อจะได้รับซื้อไว้โดยสุจริต ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อใช้ยันผู้รับซื้อฝากได้ในเมื่อต่อมาผู้ขายฝากไม่ไถ่รถยนต์ที่ขายฝากนั้นเสียภายในกำหนดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินและจำนำ: หลักฐานเป็นหนังสือสำคัญเมื่อมูลหนี้เกิน 50 บาท
เอาเงินเขาไปแล้วมอบทองรูปพรรณให้ไว้เป็นประกันนั้นแม้การมอบทองรูปพรรณให้ไว้จะเป็นจำนำ ซึ่งอาจบังคับกันได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ดีแต่ถ้าได้บังคับจำนำกันแล้ว ได้เงินไม่พอชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจึงต้องมาฟ้องร้องขอให้บังคับชำระเงินที่ยังขาดอยู่แล้วก็เท่ากับฟ้องร้องให้ชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปนั่นเองถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้วก็จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินและจำนำ: การบังคับจำนำแล้วฟ้องชำระหนี้เงินกู้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
เอาเงินเขาไปแล้วมอบทองรูปพรรณให้ไว้เป็นประกันนั้น แม้การมอบทองรูปพรรม์ให้ไว้จะเป็นจำนำ ซึ่งอาจบังคับ
กันได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ดี แต่ถ้าได้บังคับจำนำกันแล้ว ได้เงินไม่พอชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จึง
ต้องมาฟ้องร้องขอให้บังคับชำระเงินที่ยังขาดอยู่แล้ว ก็เท่ากับฟ้องร้องให้ชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปนั่นเอง ถ้ามิได้มีหลัก
ฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้ว ก็จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้./
(ประชุมใหญ่)