คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ร.ว.ชัยวัฒน์ ชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: หน่วงเหนี่ยวและกรรโชกทรัพย์เป็นคนละกรรม
การที่จำเลยที่ 1 กับพวกเอาตัวผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวไว้ในห้องพักโรงแรม ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย เป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 กับพวกขู่เข็ญข่มขืนใจผู้เสียหาย จนกระทั่งผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยที่ 1 กับพวกเป็นความผิดฐานกรรโชกอีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวและกรรโชกทรัพย์เป็นกรรมต่างกัน ศาลลงโทษได้
การที่จำเลยที่ 1 กับพวกเอาตัวผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวไว้ในห้องพักโรงแรม ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย เป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 กับพวกขู่เข็ญข่มขืนใจผู้เสียหายจนกระทั่งผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยที่ 1 กับพวก เป็นความผิดฐานกรรโชกอีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกเงินค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานไปรษณีย์ การลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งนายไปรษณีย์โทรเลขอำเภอฝางและเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้รับเอาเงินค่าธรรมเนียมฝากส่งจดหมายแต่ละวันเป็นเวลา 7 วัน รวม 7 ครั้งไว้โดยมิได้ปิดตราไปรษณียากรที่ซองจดหมายหรือมิได้จ่ายตราไปรษณียากรให้ผู้ฝากปิดเองตามระเบียบ แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมและกักจดหมายดังกล่าวแต่ละวันไว้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยยักยอกเอาเงินดังกล่าวแต่ละครั้งแต่ละวันไปอันเป็นความผิดหลายกรรมรวม 7 กรรม
เมื่อพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 15 บัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น จึงถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จะปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หาได้ไม่ และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา147 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงินค่าธรรมเนียมไปรษณีย์ การกำหนดกระทงความผิดและบทลงโทษ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งนายไปรษณีย์โทรเลขอำเภอฝางและเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้รับเอาเงินค่าธรรมเนียมฝากส่งจดหมายแต่ละวันเป็นเวลา 7 วัน รวม 7ครั้งไว้โดยมิได้ปิดตราไปรษณียากรที่ซองจดหมายหรือมิได้จ่ายตราไปรษณียากรให้ผู้ฝากปิดเองตามระเบียบ แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมและกักจดหมายดังกล่าวแต่ละวันไว้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยยักยอกเอาเงินดังกล่าวแต่ละครั้งแต่ละวันไปอันเป็นความผิดหลายกรรมรวม 7 กรรม เมื่อพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา15 บัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น จึงถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จะปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หาได้ไม่ และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา147 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่แม้ไม่ได้แสดงตัวชัดเจน การให้สินบนเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมเป็นความผิด
จ่าสิบตำรวจป.รับราชการเป็นตำรวจซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานแม้ขณะเกิดเหตุจะถูกส่งตัวไปช่วยราชการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีตำแหน่งหน้าที่เป็นหัวหน้าชุดคุ้มครองตำบลปากหมันมีหน้าที่คุ้มครองหมู่บ้านและตำบลป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์และก่อการร้าย ก็เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะตามคำสั่งแต่งตั้งของทางราชการ แต่โดยทั่วไปจ่าสิบตำรวจป.ยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่ จ่าสิบตำรวจป.มายังที่เกิดเหตุเพื่อจะจับกุมผู้กระทำความผิดฐานมีกัญชาไว้ในความครอบครอง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อจำเลยได้ให้เงินจำนวนหนึ่งแก่จ่าสิบตำรวจป.เพื่อจูงใจมิให้จับกุมจำเลยกับพวกในข้อหามีกัญชาไว้ในความครอบครองการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144. แม้จ่าสิบตำรวจป.ยังมิได้แสดงตัวเป็นเจ้าพนักงาน หรือแสดงความประสงค์ที่จะเข้าทำการตรวจค้นหรือจับกุมจำเลยกับพวก หรือมิได้แต่งเครื่องแบบก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่แม้ไม่ได้แสดงตัวชัดเจน การให้เงินเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมเป็นความผิด
จ่าสิบตำรวจป.รับราชการเป็นตำรวจซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานแม้ขณะเกิดเหตุจะถูกส่งตัวไปช่วยราชการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีตำแหน่งหน้าที่เป็นหัวหน้าชุดคุ้มครองตำบลปากหมัน มีหน้าที่คุ้มครองหมู่บ้านและตำบลป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์และก่อการร้ายก็เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะตามคำสั่งแต่งตั้งของทางราชการ แต่โดยทั่วไปจ่าสิบตำรวจป.ยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่ จ่าสิบตำรวจป.มายังที่เกิดเหตุเพื่อจะจับกุมผู้กระทำความผิดฐานมีกัญชาไว้ในความครอบครอง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมายเมื่อจำเลยได้ให้เงินจำนวนหนึ่งแก่จ่าสิบตำรวจป.เพื่อจูงใจมิให้จับกุมจำเลยกับพวกในข้อหามีกัญชาไว้ในความครอบครองการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144. แม้จ่าสิบตำรวจป.ยังมิได้แสดงตัวเป็นเจ้าพนักงาน หรือแสดงความประสงค์ที่จะเข้าทำการตรวจค้นหรือจับกุมจำเลยกับพวก หรือมิได้แต่งเครื่องแบบก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และเจ้าของรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุกับรถไฟ ความรับผิดของประกันภัย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์จะผ่านทางรถไฟ แม้ไม่มีป้ายสัญญาณ"หยุด" บอกไว้แต่ก็มีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างหน้าแสดงไว้ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ควรใช้ความระมัดระวังดูความปลอดภัยให้แน่เสียก่อน โดยชะลอความเร็วและหยุดรถมองซ้ายและขวาต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติดังกล่าวเมื่อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปเกิดชนกับรถไฟขึ้น จำเลยที่ 1 จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ขับรถยนต์ มาด้วยความประมาทเลินเล่อ
บริเวณที่เกิดเหตุมีอุบัติเหตุรถไฟกับรถยนต์ชนกันบ่อย ถึงแม้พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา73จะมิได้บังคับให้การรถไฟต้องทำประตูหรือขึงโซ่ หรือทำราวกั้นขวางถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกถนนก็ตาม แต่เมื่อ ถนนตัดผ่านในกรณีพิพาทเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับรถไฟบ่อยๆโจทก์ก็ควรจะทำเครื่องปิดกั้นถนนไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้นแต่ก็มิได้กระทำ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ โจทก์เองก็มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย
รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่ 3 ขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีผ่อนชำระราคา โดยมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 3ทำประกันภัยเกี่ยวกับรถยนต์คันนี้ ในการเสี่ยงภัยทุกประเภทโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกเงินเบี้ยประกันภัยในการเอาประกันภัยดังกล่าว ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อยังชำระราคาไม่หมด กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่แต่จำเลยที่ 2 นำมาครอบครองและใช้สอยโดยให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างขับไปในทางการที่จ้างและเกิดเหตุขึ้นเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญาผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยกับจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำเลยที่ 4ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับรถชนรถไฟ, ความรับผิดของนายจ้าง, และขอบเขตความรับผิดของประกันภัย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์จะผ่านทางรถไฟ แม้ไม่มีป้ายสัญญาณ "หยุด" บอกไว้แต่ก็มีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างหน้าแสดงไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ควรใช้ความระมัดระวังดูความปลอดภัยให้แน่เสียก่อน โดยชะลอความเร็วและหยุดรถมองซ้ายและขวาต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติดังกล่าวเมื่อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปเกิดชนกับรถไฟขึ้น จำเลยที่ 1 จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ขับรถยนต์มาด้วยความประมาทเลินเล่อ บริเวณที่เกิดเหตุมีอุบัติเหตุรถไฟกับรถยนต์ชนกันบ่อยถึงแม้พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา73 จะมิได้บังคับให้การรถไฟต้องทำประตูหรือขึงโซ่ หรือทำราวกั้นขวางถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกถนนก็ตาม แต่เมื่อ ถนนตัดผ่านในกรณีพิพาทเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับรถไฟบ่อยๆโจทก์ก็ควรจะทำเครื่องปิดกั้นถนนไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้นแต่ก็มิได้กระทำ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ โจทก์เองก็มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่ 3 ขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีผ่อนชำระราคา โดยมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 3ทำประกันภัยเกี่ยวกับรถยนต์คันนี้ ในการเสี่ยงภัยทุกประเภทโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกเงินเบี้ยประกันภัยในการเอาประกันภัยดังกล่าว ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อยังชำระราคาไม่หมด กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่แต่จำเลยที่ 2 นำมาครอบครองและใช้สอยโดยให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างขับไปในทางการที่จ้างและเกิดเหตุขึ้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญาผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยกับจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำเลยที่ 4 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดในการซื้อขายสินค้า โดยการแอบอ้างชื่อผู้อื่นและการมีส่วนร่วมจัดการงานของห้าง
การตั้งตัวแทนซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปซึ่งจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น เมื่อฟังได้ว่าตัวการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและรับสินค้าไว้ อันถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่พนักงานขาย จำเลยที่ 2เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด โจทก์ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ในนามของจำเลยที่ 2. จำเลยที่ 1 จึงใช้ชื่อจำเลยที่ 4 ซื้อสินค้าแทนจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 2 ก็มีส่วนร่วมในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยแอบอ้างชื่อจำเลยที่ 4 เป็นผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 2 อันถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 จำเลยที่ 1 จึง ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, ผู้ซื้อ, และตัวแทนในการซื้อขายสินค้า โดยมีประเด็นเรื่องการสอดเข้าไปจัดการงานของห้าง
การตั้งตัวแทนซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปซึ่งจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น เมื่อฟังได้ว่าตัวการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและรับสินค้าไว้ อันถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่พนักงานขายจำเลยที่ 2 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด โจทก์ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ในนามของจำเลยที่ 2. จำเลยที่ 1 จึงใช้ชื่อจำเลยที่ 4 ซื้อสินค้าแทนจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 2. ก็มีส่วนร่วมในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยแอบอ้างชื่อจำเลยที่4 เป็นผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 2 อันถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 จำเลยที่ 1 จึง ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3
of 19