คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ร.ว.ชัยวัฒน์ ชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์มูลหนี้จากการสั่งจ่ายเช็คและการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบในคดีล้มละลาย
คำขอรับชำระหนี้ระบุว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้40,000 บาทเป็นค่าเงินกู้ ดังปรากฏตามเช็คและใบคืนเช็คที่ยื่นพร้อมกับคำขอ แม้จะระบุว่าเป็นค่าเงินกู้ก็พอเข้าใจได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลหนี้เดิมที่ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับเช็คมาเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม อันเป็นการสั่งจ่ายเช็คโดยมีมูลหนี้ต่อกัน ผู้ขอรับชำระหนี้จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบเมื่อเช็คนั้นเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ ผู้ขอรับชำระหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์มูลหนี้จากเช็คและการเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย
คำขอรับชำระหนี้ระบุว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้40,000 บาทเป็นค่าเงินกู้ดังปรากฏตามเช็คและใบคืนเช็คที่ยื่นพร้อมกับคำขอแม้จะระบุว่าเป็นค่าเงินกู้ก็พอเข้าใจได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลหนี้เดิมที่ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับเช็คมาเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นการสั่งจ่ายเช็คโดยมีมูลหนี้ต่อกันผู้ขอรับชำระหนี้จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบเมื่อเช็คนั้นเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ผู้ขอรับชำระหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการโอนที่ดินหลังชำระบัญชี ห้างมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ โจทก์ออกเงินไถ่ถอนจำนองได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ. แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไปโจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่ ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ. จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรมข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อ บทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองเมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วแม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการโอนที่ดินพร้อมไถ่ถอนจำนองหลังชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนไม่ตกเป็นโมฆะ แม้มีปัญหาการชำระหนี้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ.แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไป โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่
ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ.จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง เมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้ว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: การกระทำโดยสุจริตและเปิดเผย ไม่ถือเป็นความผิด
ผู้เสียหายขอให้ ส. หลานชายช่วยติดตามหารถจักรยานที่ถูกลัก ส. ขอร้องให้จำเลยช่วยอีกต่อหนึ่ง จำเลยติดตามได้จึงนำรถมาเก็บไว้ที่บ้าน แม้มิได้นำไปส่งคืนทันที แต่เมื่อ ช. ถูกจับจำเลยก็ไปแจ้งต่อตำรวจทันทีว่ารถอยู่ที่จำเลยการนำรถมาเก็บที่บ้าน ก็กระทำโดยเปิดเผย มิได้ปิดบังซ่อนเร้น อันแสดงว่าจำเลยกระทำไปโดยสุจริต ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: ขอบเขตการขอให้วางทรัพย์/ประกันในคดีฟ้องแย้ง
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 คู่ความฝ่ายใดในคดีนั้น ๆ จะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ทรัพย์สินสิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้น ได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษากรณีที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินนี้มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สิน หรือสิทธิ หรือประโยชน์อันจำเลยจะร้องขอเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวจำเลยจะขอให้โจทก์นำทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตามมาตรานี้ไม่ได้และ จะขอให้โจทก์หาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: สิทธิในการขอหลักประกันจำกัดเฉพาะทรัพย์สินที่พิพาท
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 คู่ความฝ่ายใดในคดีนั้น ๆ จะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้น ได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา กรณีที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินนี้มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สิน หรือสิทธิ หรือประโยชน์อันจำเลยจะร้องขอเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะขอให้โจทก์นำทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตามมาตรานี้ไม่ได้ และจะขอให้โจทก์หาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ไขทะเบียนที่ดิน แม้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์แล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเกินอำนาจ
โจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยด้วยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ทะเบียนโฉนดที่พิพาทให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันนั้นเป็นการบังคับบุคคลที่มิได้เป็นคู่ความในคดีและโจทก์ก็สามารถจัดการในเรื่องนี้ได้อยู่เองแล้ว จึงให้ยกคำขอของโจทก์ข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแชร์เกินสองหมื่นบาท ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, ศาลรวมประเด็นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์รวม 13 วงแล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าแชร์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 136,200 บาท แต่จำนวนเงินที่ผิดสัญญาแต่ละวงนั้นไม่เกินสองหมื่นบาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ในคดีนี้จึงแยกออกตามสัญญาเล่นแชร์แต่ละวงซึ่งไม่เกินสองหมื่นบาท จึงเป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เมื่อเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จำเลยจะยกปัญหาข้อเท็จจริงนั้นขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 การที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้หลายข้อนั้นศาลจะวินิจฉัยประเด็นข้อไหนก่อนหรือหลังก็ย่อมทำได้ตามที่เห็นสมควร หาจำต้องวินิจฉัยเรียงตามลำดับประเด็นที่ตั้งไว้ไม่ และจะนำเอาประเด็นหลาย ข้อมารวมวินิจฉัยไปพร้อมกันก็ย่อมทำได้ โดยไม่จำต้องระบุไว้ด้วยว่าได้รวมวินิจฉัยประเด็นข้อใดเข้าด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้รถผิดประเภทกับการแย่งผลประโยชน์การขนส่งทางบก ถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถผิดประเภท โดยใช้รถยนต์ซึ่งจดทะเบียนประเภทรถโดยสารไม่ประจำทางมา รับจ้างขนส่งคนโดยสาร โดยเก็บค่าโดยสารเป็นรายคน อันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับ ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง และมีลักษณะเป็นการ แย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน คือผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 27 วรรคสาม 128 กระทงหนึ่ง และตามมาตรา 40, 138 อีกกระทงหนึ่ง
of 19