คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 296

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7793/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์การต่อสู้และบาดแผล
การที่จำเลยต่อสู้ขัดขืนการจับกุมและใช้กรรไกรแทงทำร้ายจ่าสิบตำรวจ ร. หลายครั้ง แต่ปรากฏว่าการแทงครั้งแรกถูกจ่าสิบตำรวจ ร. ที่ท้องแต่ไม่เข้า เมื่อกอดปล้ำกันจำเลยได้แทงที่ไหล่ขวาจนเสื้อขาดและไม่เข้าอีกเช่นกัน แสดงว่ามิใช่เป็นการแทงโดยแรง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้กรรไกรแทงที่กระเดือกและคอจ่าสินตำรวจ ร. มีเลือดไหลที่บริเวณกระเดือกเห็นได้ว่าขณะจำเลยใช้กรรไกรแทงจ่าสิบตำรวจ ร. นั้นเป็นการแทงขณะจำเลยและจ่าสิบตำรวจ ร. ต่อสู้กอดรัดกัน และเป็นการแทงเพื่อที่จำเลยจะหลบหนี จำเลยจึงอยู่ในภาวะที่ไม่มีโอกาสเลือกแทงอวัยวะส่วนใดของจ่าสิบตำรวจ ร. ได้ อาวุธที่จำเลยใช้แทงจ่าสิบตำรวจ ร. เป็นกรรไกรขนาดไม่ใหญ่ ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ แม้จำเลยจะใช้กรรไกรแทงจ่าสิบตำรวจ ร. หลายครั้ง แต่จ่าสิบตำรวจ ร. มีบาดแผลที่คอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญเพียงแห่งเดียว บาดแผลดังกล่าวเป็นเพียงรอยถลอกยาว 0.5 เซนติเมตร แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 7 วันหาย พฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าจ่าสิบตำรวจ ร. จำเลยคงมีเจตนาทำร้ายจ่าสิบตำรวจ ร. เพื่อให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และจำเลยยังมีความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกายบุพการี ไม่ถึงเจตนาฆ่า ลดโทษจากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยเข้าไปขอเงินและยืมรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายผู้เป็นบิดาของจำเลย แต่ผู้เสียหายปฏิเสธ จำเลยจึงใช้อาวุธมีเหน็บปลายแหลมฟันแทงผู้เสียหายที่หัวไหล่ด้านขวาและศีรษะอย่างละหนึ่งครั้ง แล้วแทงที่หลังของผู้เสียหายอีกหนึ่งครั้ง ยังไม่น่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาถึงขนาดจะต้องมุ่งประสงค์ต่อชีวิตของผู้เสียหาย ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยมีอาการมึนเมาสุรา แม้จะไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ก็ตาม แต่ก็เป็นพฤติการณ์แวดล้อมให้เห็นว่าการที่จำเลยใช้อาวุธมีดเหน็บปลายแหลมแทงผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้กระทำโดยแรง โดยจะเห็นชัดเจนว่า เมื่อจำเลยใช้มีดเหน็บปลายแหลมฟันแทงผู้เสียหายแล้ว ส. ผู้เป็นตาของจำเลยก็สามารถเข้าไปแย่งมีดจากจำเลยไว้ได้ จำเลยจึงวิ่งหลบหนีไป ขณะเกิดเหตุ ส. มีอายุถึง 73 ปี จำเลยมีอายุเพียง 24 ปี หากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้ว จำเลยก็น่าจะสามารถขัดขืนมิให้ ส. ผู้สูงอายุกว่าแย่งมีดเหน็ปลายแหลมไปได้ ประกอบลักษณะบาดแผลที่ศีรษะ หัวไหล่ด้านขวาและกลางหลัง แม้จะเป็นอวัยวะที่สำคัญ แต่แพทย์ก็ให้ความเห็นว่าถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะหายภายในสองสัปดาห์ อันแสดงว่าบาดแผลมิได้เกิดจากการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้ถึงแก่ความตาย เมื่อบาดแผลที่ผู้เสียหายผู้เป็นบิดาของจำเลยได้รับเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายบุพการีจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 296 นอกจากนี้แม้จำเลยจะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายผู้เป็นบุพการีจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็ให้การรับสารภาพแสดงให้เป็นว่าจำเลยได้รู้สำนึกในความผิดของตน และผู้เสียหายได้เบิกความว่า ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยเนื่องจากเป็นบุตรชายเพียงคนเดียว เมื่อจำเลยไม่เคยต้องรับโทษจำคุกมาก่อนจึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวเพื่อรักษาสายสัมพันธ์ทางครอบครัว อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์: ศาลแก้โทษจากปล้นทรัพย์เป็นทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์
จำเลยได้รับแจ้งจาก ห. ว่าผู้เสียหายล่อลวง ห. ไปที่บังกะโลเพื่อล่วงเกินทางเพศ จำเลยโกรธแค้นจึงวางแผนให้ ห. โทรศัพท์ไปหลอกผู้เสียหายให้ออกจากบ้านไปหา ห.ที่จุดเกิดเหตุเพื่อทำร้ายสั่งสอนเป็นการแก้แค้นแทน ห. เมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุจำเลยกับพวกที่รออยู่วิ่งเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายทันทีผู้เสียหายหลบหนีจำเลยกับพวกไล่ตามและจำเลยใช้มีดขู่เข็ญพาตัวผู้เสียหายไปแล้วพวกของจำเลยใช้ของแข็งตีศรีษะผู้เสียหายจนผู้เสียหายแกล้งทำเป็นหมดสติจากนั้นจำเลยกับพวกหนีไปโดยถือโอกาสเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปด้วยซึ่งการใช้มีดขู่เข็ญผู้เสียหายและการทำร้ายผู้เสียหายในตอนหลังเป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากสาเหตุเดิมที่จำเลยโกรธแค้นผู้เสียหายหาใช่ว่าจะมีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้เสียหายมาแต่แรกไม่การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา296ไม่ได้คงลงโทษได้ตามมาตรา295เท่านั้นและจำเลยยังมีความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามมาตรา335(1)วรรคแรกด้วยแม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธตามมาตรา340วรรคสองเพียงกระทงเดียวศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นตามมาตรา295ประกอบด้วยมาตรา83กระทงหนึ่งและฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามมาตรา335(1)วรรคแรกอีกกระทงหนึ่งซึ่งมีโทษเบากว่าข้อหาฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192
ในชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ว่าหลังจากมีเรื่องชกต่อยกับผู้เสียหายเมื่อเวลา22.30น.แล้วจำเลยขับรถกลับบ้านและไม่ได้ออกไปไหนอีกซึ่งเหตุการณ์ตอนนี้สิ้นสุดลงแล้วจำเลยจะมาฎีกาโต้แย้งว่าคืนเกิดเหตุเวลา0.30น.จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยบันดาลโทสะเพราะผู้เสียหายเหยียดหยามศักดิ์ศรีจำเลยโดยพา ห. เข้าบังกะโลเพื่อข่มขืนกระทำชำเราหาได้ไม่เพราะไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า vs. พยายามทำร้าย: การหลบหนีการจับกุมและการเล็งเห็นอันตรายต่อเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยขับรถยนต์บรรทุกแซงออกไปทางด้านขวาเพื่อหลบหนีการจับกุมโดยมิได้ชนผู้เสียหายทั้งสองและรถที่จอดขวางทางนั้น มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองแต่การที่จำเลยขับรถแซงออกทางด้านขวาเพื่อหลบหนีการจับกุมดังกล่าว จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจชนผู้เสียหายทั้งสองให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ อันเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ และเป็นการกระทำรวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า vs. ทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาจากพฤติการณ์และบาดแผล
จำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหาย 2 ครั้ง ขณะผู้เสียหายอยู่ในมุ้งแล้วไม่ได้ฟันซ้ำอีกทั้งที่มีโอกาสกระทำได้ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่แขนและใบหูไม่ถึงสาหัส การที่มีบาดแผลเพียงใบหูเกือบขาด แสดงว่าคมมีดถูกศีรษะผู้เสียหายไม่แรงส่วนที่มีมุ้งกีดขวาง ก็เป็นสภาพที่มีอยู่ก่อนจำเลยลงมือกระทำ หาใช่เหตุขัดขวางที่เกิดขึ้นภายหลังลงมือกระทำ พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าบุพการี แม้ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า หากรับฟังว่าเป็นเพียงกรณีทำร้ายร่างกายก็จะต้องลงโทษฐานทำร้ายร่างกายบุพการี ก็ย่อมแปลได้ว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 296 ด้วยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำร้ายร่างกายบุพการี: ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และบาดแผลเพื่อวินิจฉัยความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกาย
จำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหาย 2 ครั้ง ขณะผู้เสียหายอยู่ในมุ้งแล้วไม่ได้ฟันซ้ำอีกทั้งที่มีโอกาสกระทำได้ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่แขนและใบหูไม่ถึงสาหัส การที่มีบาดแผลเพียงใบหูเกือบขาด แสดงว่าคมมีดถูกศีรษะผู้เสียหายไม่แรงส่วนที่มีมุ้งกีดขวาง ก็เป็นสภาพที่มีอยู่ก่อนจำเลยลงมือกระทำหาใช่เหตุขัดขวางที่เกิดขึ้นภายหลังลงมือกระทำ พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าบุพการีแม้ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า หากรับฟังว่าเป็นเพียงกรณีทำร้ายร่างกายก็จะต้องลงโทษฐานทำร้ายร่างกายบุพการี ก็ย่อมแปลได้ว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296ด้วยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: การกระทำผิดตามมาตรา 296 แม้ไม่มีเหตุจับกุม
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันพลตำรวจ ก. ซึ่งแต่งเครื่องแบบตำรวจและออกตรวจท้องที่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ระงับเหตุสามีภริยาทะเลาะวิวาทกัน ไม่ว่าการใช้อาวุธมีดฟันทำร้ายร่างกายพลตำรวจ ก. ดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดยประการใด หรือไม่เกี่ยวข้องกับการที่พลตำรวจ ก. กับพวกจับกุมจำเลยที่ 1 กับพวก ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำร้ายร่างกายพลตำรวจ ก. เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ เพราะการที่พลตำรวจ ก. กับพวกกำลังระงับเหตุทะเลาะวิวาทกันดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายบุพการี แม้ผู้เสียหายไม่ประสงค์เอาโทษ ก็ไม่เป็นเหตุรอการลงโทษ
จำเลยทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นบุพการีของจำเลย นับเป็น การกระทำที่ขาดความยำเกรงเคารพนับถืออย่างยิ่ง ดังนั้น แม้ผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะเอาโทษจำเลย ก็ไม่เป็น เหตุที่จะรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้รับอำนาจ และการขาดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปเรียกผู้โดยสารในท่าอากาศยานไม่ปรากฎว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด คงเป็นเพียงการเข้าไปชักชวน ผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้ รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานฯ ต้องขาด รายได้ไปบางส่วนก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐาน รบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2528) ข้อ 8(6) งออกตามความในพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 4(2) ต. เป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยจึงเป็นพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฎิบัติการตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2530 ข้อ 2.1 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ต. ได้รับทราบทางวิทยุว่าจำเลยทั้งหกเข้ามารบกวนผู้โดยสารที่บริเวณห้องผู้โดยสารขาเข้า จึงสั่งให้ อ.กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอื่นช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากจำเลยทั้งหกไม่ยอมออกไปก็ให้ทำการจับกุม ต่อมาประมาณ 10 นาที ต. ได้รับแจ้งว่าอ. กำลังถูกรุมทำร้ายจึงรีบวิ่งไปที่เกิดเหตุ เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุพวกจำเลยกระจายกันวิ่งหลบหนี แสดงว่า ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ต.อนุญาตให้อ.ณ.และย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยกรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือกระทำตามหน้าที่เพราะต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฎิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้วการที่ อ.ณ.และย.เข้าจับจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่บุคคลทั้งสามเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นปฎิบัติ การหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,289(3),296 แต่กลับกลายเป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางก็ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุโดยปรากฎตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเพียงเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขน ข้อมือ และขมับการกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางจับกุมและทำร้ายร่างกายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฎิบัติหน้าที่นี้กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฎิบัติหน้าที่แทนตน เห็นได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ดังจะเห็นได้ในคดีนี้ว่าผู้จับวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ และแม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุม
จำเลยที่ 1 เพียงแต่เข้าไปชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยต้องขาดรายได้ไปบางส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รบกวนผู้โดยสารอากาศยานให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด กรณีก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1มีความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 มาตรา 4 (2)
ต.มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยต.เป็นเจ้าพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ขณะเกิดเหตุ ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต.อนุญาตให้อ.และ ย.ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยทั้งหก โดย ต.ไปถึงที่เกิดเหตุหลังจากจำเลยทั้งหกหลบหนีไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ เพราะ ต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก และเมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้ว การที่ อ.และ ย.เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางเป็นเหตุให้ อ.และ ย.ได้รับอันตรายเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขนข้อมือและขมับ ก็ต้องถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเองว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตนได้
แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
of 9