คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพรียง โรจนรัส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพสามีภรรยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และผลกระทบต่อสิทธิในสินสมรสและมรดก
ในปี 2474 หรือ 2475 โจทก์ได้หนีตามชายชู้ไป และได้ชายอื่นเป็นสามีอีกหลายคน ส่วนสามีก็ได้ภรรยาใหม่หลายคน โจทก์กับสามีไม่ได้เกี่ยวข้องกันฉันสามีภรรยานับแต่นั้นเป็นต้นมา จนสามีถึงแก่กรรมและมูลกรณีดังว่านี้เกิดก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 จึงต้องปรับบทตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น พฤติการณ์ของโจทก์กับสามีจึงถือได้ว่าได้สละละทิ้งหย่าขาดกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียไปก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว โจทก์จึงไม่ได้เป็นทายาทของสามีและไม่มีสิทธิรับมรดก
บิดาของสามียกที่ดินให้สามีโดยไม่ได้โอนกันทางทะเบียนเป็นการยกให้ที่ยังไม่สมบูรณ์ ตามกฎหมายสามีจะได้กรรมสิทธิก็ต่อเมื่อได้ครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี ในระหว่างที่สามีครอบครองที่ดินนั้นมายังไม่ครบ 10 ปี โจทก์กับสามีได้หย่าขาดกันเสียก่อนหลายปีแล้ว ที่ดินนั้นจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าผสมสัญญาต่างตอบแทน การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแก่ผู้ซื้อ
ปัญหาที่ว่า ผู้ให้เช่าเพิ่งมาขีดฆ่าข้อความในสัญญาเช่าฉบับของจำเลยภายหลังที่ผู้ให้เช่าขายตึกพิพาทให้โจทก์แล้วนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยนำสืบว่าได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างให้แก่ผู้ให้เช่าอันจะพึงถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น เป็นการนำสืบถึงเหตุที่ทำให้จำเลยมีสิทธิในการเช่านานถึง 15 ปี เพราะจำเลยได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกพิพาทเป็นการตอบแทนจึงเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาเช่านั้นไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาต่างตอบแทนเป็นสัญญาที่กฎหมายไม่บังคับไม่ต้องมีเอกสารมาแสดงหรือบังคับให้จดทะเบียนแต่อย่างใด
เมื่อผู้ให้เช่าโอนขายตึกพิพาทให้โจทก์และได้บอกให้ทราบว่าผู้เช่าได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างโจทก์จะต้องให้ผู้เช่าได้อยู่จนครบกำหนด 15 ปี อย่าขับไล่ มิฉะนั้นจะไม่ยอมขาย และโจทก์ก็ตกลงด้วย เช่นนี้ กรณีที่โจทก์ยอมรับข้อผูกพันที่ผู้ให้เช่ามีต่อผู้เช่า เท่ากับว่าโจทก์ได้ทำสัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก เมื่อจำเลยคงถือตามสัญญาเช่าเดิม และได้ชำระค่าเช่าให้ทุกเดือน จึงเป็นการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว คู่สัญญาหาอาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตามมาตรา 375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่างตอบแทนมีผลผูกพันแม้ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ผู้ซื้อทรัพย์สินต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
ปัญหาที่ว่า ผู้ให้เช่าเพิ่งมาขีดฆ่าข้อความในสัญญาเช่าฉบับของจำเลยภายหลังที่ผู้ให้เช่าขายตึกพิพาทให้โจทก์แล้วนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยนำสืบว่าได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างให้แก่ผู้ให้เช่าอันจะพึงถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น เป็นการนำสืบถึงเหตุที่ทำให้จำเลยมีสิทธิในการเช่านาถึง 15 ปี เพราะจำเลยได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกพิพาทเป็นการตอบแทน จึงเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาเช่านั้น ไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาต่างตอบแทนเป็นสัญญาที่กฎหมายไม่บังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงหรือบังคับให้จดทะเบียนแต่อย่างใด
เมื่อผู้ให้เช่าโอนขายตึกพิพาทให้โจทก์และได้บอกให้ทราบว่าผู้เช่าได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้าง โจทก์จะต้องให้ผู้เช่าได้อยู่จนครบกำหนด 15 ปี อย่าขับไล่มิฉะนั้นจะไม่ยอมขาย และโจทก์ก็ตกลงด้วย เช่นนี้กรณีที่โจทก์ยอมรับข้อผูกพันที่ผู้ให้เช่ามีต่อผู้เช่าเท่ากับว่าโจทก์ได้ทำสัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก เมื่อจำเลยคงถือตามสัญญาเช่าเดิม และได้ชำระค่าเช่าให้ทุกเดือน จึงเป็นการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วคู่สัญญาหาอาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตามมาตรา375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิเรียกร้องสูญเสีย ผลผูกพันการประนอมหนี้
หนี้ของลูกหนี้ซึ่งมีอยู่ก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 27,91 เมื่อเจ้าหนี้ไม่ได้ร้องขอรับชำระหนี้ตามวิธีการดังกล่าว จนได้มีการประนอมหนี้เรียบร้อยและศาลสั่งปิดคดีแล้ว หากหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ใช่หนี้ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 77 การประนอมหนี้นั้นก็ผูกมัดเจ้าหนี้ด้วยตามมาตรา 56 เจ้าหนี้จะมาฟ้องลูกหนี้ให้ต้องรับผิดในหนี้นั้นในภายหลังมิได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิเรียกร้องหนี้สูญเสีย ผูกพันตามการประนอมหนี้
หนี้ของลูกหนี้ซึ่งมีอยู่ก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 27, 91 เมื่อเจ้าหนี้ไม่ได้ร้องขอรับชำระหนี้ตามวิธีการดังกล่าว จนได้มีการประนอมหนี้เรียบร้อยและศาลสั่งปิดคดีแล้ว หากหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ใช่หนี้ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 77 การประนอมหนี้นั้นก็ผูกมัดเจ้าหนี้ด้วยตามมาตรา 56 เจ้าหนี้จะมาฟ้องลูกหนี้ให้ต้องรับผิดในหนี้นั้นในภายหลังมิได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของ แม้สัญญายอมความไม่ผูกพันผู้เยาว์ ก็อาจเกิดกรรมสิทธิ์ได้หากเข้าเงื่อนไขครบถ้วน
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลที่มารดาของบุตรผู้เยาว์ทำขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ย่อมไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์
การเข้าครอบครองทรัพย์ตามสัญญาซึ่งจะต้องชำระเงินตอบแทนต่อไป ในบางกรณีอาจถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของยังมิได้ เพราะเป็นแต่เข้าครอบครองโดยอาศัยความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับจำเลย โดยจำเลยให้เงินมารดาโจทก์ และมารดาโจทก์ยอมให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทได้ ดังนี้ ถือว่าเป็นการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของโดยเด็ดขาด แม้มารดาโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้ความว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้คบคิดกันกระทำการเพื่อให้โจทก์เสียหาย เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์พิพาท (ที่ดิน) มาครบ 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินโดยอาศัยสัญญานอกศาล และการได้กรรมสิทธิ์ตามอายุความ แม้สัญญานั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลที่มารดาของบุตรผู้เยาว์ทำขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์
การเข้าครอบครองทรัพย์ตามสัญญาซึ่งจะต้องชำระเงินตอบแทนต่อไป ในบางกรณีอาจถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของยังมิได้ เพราะเป็นแต่เข้าครอบครองโดยอาศัยความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับจำเลยโดยจำเลยให้เงินมารดาโจทก์ และมารดาโจทก์ยอมให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทได้ ดังนี้ ถือว่าเป็นการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของโดยเด็ดขาด แม้มารดาโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้ความว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้คบคิดกันกระทำการเพื่อให้โจทก์เสียหายเมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์พิพาท(ที่ดิน) มาครบ 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินเช่า การพิสูจน์การครอบครองแทน และอายุความฟ้องร้อง
ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2,3 เข้าอยู่ในที่ดินเพื่อกรีดยางของโจทก์นั้น ไม่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่มีประเด็นจะพึงวินิจฉัย
โจทก์มิได้นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ร่วมในการกระทำละเมิด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามขัดขวางไม่ยอมส่งมอบที่ดินตามสัญญาจำเลยที่ 1 ยังให้จำเลยที่ 2 แจ้งการครอบครองแบบ ส.ค.1 เลขที่ 288/98 ในที่ของโจทก์เพื่อฉ้อโกงโจทก์ จำเลยทั้งสามละเมิดสิทธิของโจทก์เก็บผลน้ำยางพาราวันละ 3 แผ่นเป็นเงินวันละ 30 บาทตลอดมา โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ถือได้ว่าคำฟ้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งเช่าจากโจทก์ อันเป็นการยึดถือแทนโจทก์ หาได้เข้าอยู่อย่างเป็นเจ้าของไม่ เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้บอกกล่าวการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามยังคงยึดถือแทนโจทก์ตามเดิม ที่พิพาทจึงเป็นของโจทก์
จำเลยอ้างว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองจึงเป็นกรณีตามที่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1375 และเมื่อฟังว่าจำเลยทั้งสามยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์ซึ่งเท่ากับโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ตลอดมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินเช่า, การยึดถือแทน, และอายุความฟ้องร้องสิทธิในที่ดิน
ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2,3 เข้าอยู่ในที่ดินเพื่อกรีดยางของโจทก์นั้น ไม่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่มีประเด็นจะพึงวินิจฉัย
โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ร่วมในการกระทำละเมิด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2,ที่ 3
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามขัดขวางไม่ยอมส่งมอบที่ดินตามสัญญา จำเลยที่ 1 ยังให้จำเลยที่ 2 แจ้งการครอบครองแบบ ส.ค.1 เลขที่ 288/98 ในที่ของโจทก์เพื่อฉ้อโกงโจทก์ จำเลยทั้งสามละเมิดสิทธิของโจทก์เก็บผลน้ำยางพาราวันละ 3 แผ่น เป็นเงินวันละ 30 บาทตลอดมา โจทก์ได้รับความเสียหายดังนี้ถือได้ว่า คำฟ้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งเช่าจากโจทก์ อันเป็นการยึดถือแทนโจทก์ หาได้เข้าอยู่อย่างเป็นเจ้าของไม่ เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้บอกกล่าวการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามยังคงยึดถือแทนโจทก์ตามเดิม ที่พิพาทจึงเป็นของโจทก์
จำเลยอ้างว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครอง จึงเป็นกรณีตามที่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1375 และเมื่อฟังว่าจำเลยทั้งสามยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์ซึ่งเท่ากับโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ตลอดมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายและค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้มีเหตุสุดวิสัย แต่จำเลยยังต้องคืนเงินมัดจำ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานผิดสัญญา โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลรับคำให้การโดยไม่ไต่สวน หรือให้โอกาสคัดค้าน ศาลอุทธรณ์สั่งว่า แม้คำสั่งศาลแพ่งจะชอบหรือไม่ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียหาย ไม่จำต้องมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น โจทก์เถียงมาในฎีกาว่าโจทก์เสียหาย เพราะโจทก์ลงทุนไปเกินกว่า 100,000 บาท จึงเป็นฎีกาไม่ตรงกับเรื่อง เพราะศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่เสียหายในกระบวนพิจารณา
ข้อที่ว่าพยานจำเลยมิได้รับรองสำเนาเอกสาร จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าไม่มีผู้ใดรับรองสำเนาจึงตกไป
จำเลยไม่ต้องรับผิดในการที่เทศบาลไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างในที่ที่จำเลยยอมให้โจทก์ทำการปลูกสร้าง
จำเลยขายที่ดินที่ยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้าง ภายหลังจากที่ต้องระงับการก่อสร้างเพราะไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลจึงเป็นพฤติการณ์ภายหลังที่การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุที่จำเลยไม่ต้องรับผิดไปแล้ว ไม่เป็นเหตุที่โจทก์จะอ้างขึ้นให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาอีกได้
โจทก์กล่าวฟ้องอ้างเหตุให้จำเลยรับผิดเพราะจำเลยผิดสัญญาไม่รื้อห้องแถวเป็นเหตุให้โจทก์ก่อสร้างไม่ได้และเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่นหาได้อ้างเหตุให้จำเลยต้องใช้เบี้ยปรับเพราะโจทก์ก่อสร้างไม่ได้โดยพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาข้ออื่น จึงไม่มีประเด็นที่จะยกขึ้นให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อนี้
แม้ตามสัญญาแบ่งการชำระเงินเป็นงวดๆ ก็จริง แต่ก็มิได้มีอะไรที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการชำระหนี้ตอบแทนกันเป็นส่วนๆ ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วน จำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินที่จำเลยรับไปเป็นค่าตอบแทนจากโจทก์ เมื่อได้รับมาแล้วก็ต้องคืนให้โจทก์ไป มิใช่สิทธิเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนจะระงับไปพร้อมกับสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาด้วย
of 45