คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพรียง โรจนรัส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียว วาระเดียว: การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้มีประเด็นชีวิต/ความตาย สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
ที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ว่า จำเลยใช้ปืนสั้นยิงผู้เสียหายหนึ่งนัด อันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านั้น เป็นการกระทำกรรมเดียว วาระเดียวกับการกระทำของจำเลยซึ่งอัยการโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีแดงที่ 840/2507 โดยกล่าวหาแต่เพียงว่า จำเลยใช้ปืนสั้นยิงขู่ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้ใช้อาวุธปืน ศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะเอาการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันมาฟ้องอ้างว่า ศาลยังมิได้พิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับชีวิตซึ่งอัยการอาจฟ้องไปในคดีนั้นได้ แต่มิได้ฟ้องนั้น ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ไม่ได้หมายถึงในฐานความผิด แต่หมายถึงการกระทำก่อให้เกิดความผิดนั้นๆ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียววาระเดียว: สิทธิฟ้องระงับเมื่อศาลพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว แม้จะยังไม่ได้ฟ้องในฐานความผิดอื่น
ที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ว่า จำเลยใช้ปืนสั้นยิงผู้เสียหายหนึ่งนัด อันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านั้น เป็นการกระทำกรรมเดียววาระเดียวกับการกระทำของจำเลยซึ่งอัยการโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีแดงที่ 840/2507 โดยกล่าวหาแต่เพียงว่า จำเลยใช้ปืนสั้นยิงขู่ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้ใช้อาวุธปืน ศาลพิพากษาลงโทษ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะเอาการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันมาฟ้องอ้างว่า ศาลยังมิได้พิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับชีวิตซึ่งอัยการอาจฟ้องไปในคดีนั้นได้ แต่มิได้ฟ้องนั้น ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ไม่ได้หมายถึงในฐานความผิด แต่หมายถึงการกระทำทำก่อให้เกิดความผิดนั้น ๆ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการกระทำผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร การกระทำของคนขับรถถือเป็นการร่วมกระทำผิด
ขณะจำเลยที่ 1 ลงไปฉุดผู้เสียหายขึ้นรถ จำเลยที่ 2 จอดรถติดเครื่องรอคอยอยู่ในระยะใกล้ๆ จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ออกรถขับไปทันที การกระทำตั้งแต่แรกที่จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายมาขึ้นรถตลอดจนพาผู้เสียหายไปหลังจากผู้เสียหายขึ้นรถแล้ว ยังคงถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารอยู่ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ขับรถพาผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ไปจึงเป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการพาผู้เสียหายไป เป็นการร่วมกระทำผิดกันตามมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการพาผู้อื่นไปเพื่ออนาจาร: การกระทำของคนขับรถถือเป็นตัวการร่วม
ขณะจำเลยที่ 1 ลงไปฉุดผู้เสียหายขึ้นรถ จำเลยที่ 2 จอดรถติดเครื่องรอคอยอยู่ในระยะใกล้ ๆ จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ออกรถขับไปทันที การกระทำตั้งแต่แรกที่จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายมาขึ้นรถตลอดจนพาผู้เสียหายไปหลังจากผู้เสียหายขึ้นรถแล้ว ยังคงถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารอยู่ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ขับรถพาผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการพาผู้เสียหายไป เป็นการร่วมกระทำผิดด้วยกันตามมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความในชั้นร้องขัดทรัพย์: ไม่ต้องซ้ำหากมีทนายความในคดีหลัก
การพิจารณาในชั้นร้องขัดทรัพย์ เป็นการพิจารณาในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้นเอง เมื่อโจทก์ได้แต่งตั้งทนายความไว้ในเรื่องนั้นแล้ว ในชั้นร้องขัดทรัพย์โจทก์จึงไม่ต้องแต่งตั้งทนายความซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความในคดีร้องขัดทรัพย์: โจทก์ไม่ต้องแต่งตั้งซ้ำหากมีทนายความในคดีหลัก
การพิจารณาในชั้นร้องขัดทรัพย์ เป็นการพิจารณาในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้นเอง เมื่อโจทก์ได้แต่งตั้งทนายความไว้ในเรื่องนั้นแล้ว ในชั้นร้องขัดทรัพย์โจทก์จึงไม่ต้องแต่งตั้งทนายความซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีที่ศาลรอการลงโทษ เมื่อศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม
ตามมาตรา 58 ประมวลกฎหมายอาญาคำว่า "และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิด" นั้น หมายความว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจริงๆ คดีนี้ศาลวางโทษจำคุก 3 เดือน แต่ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ไม่เรียกว่าให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น โจทก์จะขอให้ศาลกำหนดโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษที่รอการกำหนดโทษ จำเป็นต้องมีการลงโทษจำคุกจริง จึงจะสามารถทำได้
ตามมาตรา 58 ประมวลกฎหมายอาญาคำว่า "และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิด"นั้น หมายความว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจริง ๆ คดีนี้ ศาลวางโทษจำคุก 3 เดือน แต่ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางไม่เรียกว่าให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น โจทก์จะขอให้ศาลกำหนดโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรื้อถอนอาคาร: ศาลยืนตามดุลพินิจเจ้าหน้าที่ หากไม่เกินอำนาจและมีเหตุผลสนับสนุน
การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารได้แจ้งให้โจทก์เลิกใช้และรื้อถอนอาคารเพราะอยู่ในสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่ปลอดภัยซึ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สินและโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้มีมติให้ยกอุทธรณ์แล้วนั้น โจทก์จะมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นโดยอ้างแต่เพียงว่าอาคารของโจทก์ยังมั่นคงแข็งแรงมิได้ เพราะไม่ปรากฏว่าในการวินิจฉัยเช่นนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและคณะกรรมการได้กระทำการนอกเหนือความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารอย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าการวินิจฉัยของจำเลยหรือคณะกรรมการเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน และการวินิจฉัยของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยตามอำนาจในมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มิใช่เป็นการใช้อำนาจศาล จึงไม่ขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการสั่งรื้ออาคารและการตรวจสอบดุลพินิจ ศาลไม่แทรกแซงหากชอบด้วยกฎหมาย
การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารได้แจ้งให้โจทก์เลิกใช้และรื้อถอนอาคารเพราะอยู่ในสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่ปลอดภัยซึ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สิน และโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้มีมติให้ยกอุทธรณ์แล้วนั้น โจทก์จะมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นโดยอ้างแต่เพียงว่าอาคารของโจทก์ยังมั่นคงแข็งแรงมิได้ เพราะไม่ปรากฏว่าในการวินิจฉัยเช่นนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและคณะกรรมการได้กระทำการนอกเหนือความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารอย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าการวินิจฉัยของจำเลยหรือคณะกรรมการเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน และการวินิจฉัยของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยตามอำนาจในมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 มิใช่เป็นการใช้อำนาจศาล จึงไม่ขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
of 45