พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130-1131/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยเจตนาฉ้อฉลและการเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเป็นส่วนควบของที่ดิน
ในกรณีที่จำเลยมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสองราย แต่ทรัพย์ของจำเลยมีเพียงอย่างเดียว มีราคาไม่พอใช้หนี้ทั้งสองราย การที่จำเลยเลือกใช้หนี้เพียงรายใดรายหนึ่ง อันเป็นผลทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเสียเปรียบและเจ้าหนี้ผู้รับชำระหนี้ก็ทราบดีอยู่แล้ว เช่นนี้ ย่อมเป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้เสียเปรียบขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ได้
แต่เมื่อปรากฏว่า หนี้ที่ลูกหนี้ชำระแก่เจ้าหนี้ไปก่อนนั้นเป็นไม้ที่รื้อมาจากโรงเรือนของลูกหนี้ และเจ้าหนี้นั้นได้เอาไม้ไปปลูกเป็นโรงเรือนในที่ดินของเจ้าหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ ก็เท่ากับว่าเจ้าหนี้เอาสัมภาระของผู้อื่นไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินตาม มาตรา 1315 ไปแล้ว เจ้าหนี้ที่เสียเปรียบจะตามไปยึดเรือนดังกล่าวขายทอดตลาดไม่ได้ ได้แต่จะใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกเอาค่าสัมภาระมาเพื่อชำระหนี้
แต่เมื่อปรากฏว่า หนี้ที่ลูกหนี้ชำระแก่เจ้าหนี้ไปก่อนนั้นเป็นไม้ที่รื้อมาจากโรงเรือนของลูกหนี้ และเจ้าหนี้นั้นได้เอาไม้ไปปลูกเป็นโรงเรือนในที่ดินของเจ้าหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ ก็เท่ากับว่าเจ้าหนี้เอาสัมภาระของผู้อื่นไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินตาม มาตรา 1315 ไปแล้ว เจ้าหนี้ที่เสียเปรียบจะตามไปยึดเรือนดังกล่าวขายทอดตลาดไม่ได้ ได้แต่จะใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกเอาค่าสัมภาระมาเพื่อชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130-1131/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลของเจ้าหนี้ การเพิกถอนชำระหนี้ และสิทธิในการยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้
(1) คดีสองสำนวน แม้ศาลจะพิจารณาพิพากษารวมกัน แต่ปรากฎว่า สำนวนหนึ่งมีทุนทรัพย์ 5,000 บาท อีกสำนวนหนึ่งทุนทรัพย์ 15,000 บาท แม้ในชั้นฎีกาได้ฎีการวมกันมา ศาลฎีกาพิจารณาเฉพาะคดีที่มีทุนทรัพย์ เกิน 5,000 บาท ซึ่งไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 เท่านั้น
(2) ในกรณีที่จำเลยมีเจ้าหนี้คำพิพากษาสองราย แต่ทรัพย์ของจำเลยมีเพียงอย่างเดียว เช่น เรือน 1 หลัง ซึ่งไม่สามารถใช้หนี้ทั้งสองรายได้นั้น การที่จำเลยเลือกใช้หนี้เพียงรายใดรายหนึ่ง อันเป็นผลทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเสียเปรียบ เพราะไม่มีทรัพย์เหลือพอจะชำระหนี้ได้ และเจ้าหนี้ที่ได้รับชำระหนี้ไปแล้วก็เป็นผู้นำยึดทรัพย์นั้นเอง ทั้งรู้อยู่ด้วยว่า เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยจากทรัพย์ที่ยึด แต่กลับไปถอนการยึดเสียแล้ว ตกลงรับชำระหนี้กันโดยลำพัง ซึ่งทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเฉลี่ยไม่ได้ เช่นนี้ เป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้ที่เสียเปรียบนี้ มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
(3) เมื่อเพิกถอนแล้ว ทรัพย์นั้นก็กลับสู่สภาพเดิม คือ กลับเป็นของจำเลย เจ้าหนี้มีสิทธิยึดชำระหนี้ได้
(4) การที่เจ้าหนี้คนหนึ่งเอาสัมภาระที่ลูกหนี้ตีชำระหนี้ไปปลูกเป็นเรือนขึ้นในที่ดินของตนนั้น สัมภาระได้กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1315 เจ้าหนี้คนนั้นย่อมเป็นเจ้าของสัมภาระนี้ด้วยอำนาจของกฎหมาย เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งที่เสียเปรียบดังกล่าว ย่อมขอให้เพิกถอนได้เฉพาะแต่นิติกรรมดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ผู้ที่ได้สัมภาระไปต้องใช้ค่าสัมภาระให้แก่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่เสียเปรียบชอบที่จะใช้สิทธิของลูกหนี้ เรียกเอาค่าสัมภาระนี้เพื่อชำระหนี้ เป็นคดีใหม่แต่ไม่อาจยึดเรือนหลังนี้เพื่อขายทอดตลาด
(5) เมื่อฟังอย่างนี้แล้ว ใครสืบก่อนหลังก็ไม่สำคัญ
(ข้อ (2) (4) ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2505)
(2) ในกรณีที่จำเลยมีเจ้าหนี้คำพิพากษาสองราย แต่ทรัพย์ของจำเลยมีเพียงอย่างเดียว เช่น เรือน 1 หลัง ซึ่งไม่สามารถใช้หนี้ทั้งสองรายได้นั้น การที่จำเลยเลือกใช้หนี้เพียงรายใดรายหนึ่ง อันเป็นผลทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเสียเปรียบ เพราะไม่มีทรัพย์เหลือพอจะชำระหนี้ได้ และเจ้าหนี้ที่ได้รับชำระหนี้ไปแล้วก็เป็นผู้นำยึดทรัพย์นั้นเอง ทั้งรู้อยู่ด้วยว่า เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยจากทรัพย์ที่ยึด แต่กลับไปถอนการยึดเสียแล้ว ตกลงรับชำระหนี้กันโดยลำพัง ซึ่งทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเฉลี่ยไม่ได้ เช่นนี้ เป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้ที่เสียเปรียบนี้ มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
(3) เมื่อเพิกถอนแล้ว ทรัพย์นั้นก็กลับสู่สภาพเดิม คือ กลับเป็นของจำเลย เจ้าหนี้มีสิทธิยึดชำระหนี้ได้
(4) การที่เจ้าหนี้คนหนึ่งเอาสัมภาระที่ลูกหนี้ตีชำระหนี้ไปปลูกเป็นเรือนขึ้นในที่ดินของตนนั้น สัมภาระได้กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1315 เจ้าหนี้คนนั้นย่อมเป็นเจ้าของสัมภาระนี้ด้วยอำนาจของกฎหมาย เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งที่เสียเปรียบดังกล่าว ย่อมขอให้เพิกถอนได้เฉพาะแต่นิติกรรมดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ผู้ที่ได้สัมภาระไปต้องใช้ค่าสัมภาระให้แก่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่เสียเปรียบชอบที่จะใช้สิทธิของลูกหนี้ เรียกเอาค่าสัมภาระนี้เพื่อชำระหนี้ เป็นคดีใหม่แต่ไม่อาจยึดเรือนหลังนี้เพื่อขายทอดตลาด
(5) เมื่อฟังอย่างนี้แล้ว ใครสืบก่อนหลังก็ไม่สำคัญ
(ข้อ (2) (4) ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์สิน (แพเป็นเรือน) และสิทธิในทรัพย์สินเมื่อเจ้าของเดิมเสียชีวิต
เจ้าของแพได้อนุญาตให้พี่ชายรื้อถอนแพเอาไปปลูกเป็นเรือนอยู่ในที่ดินของพี่ชายเสียนานมาแล้วต่อมาเจ้าของแพถึงแก่กรรม ทายาทจึงฟ้องเรียกแพจากผู้ครอบครองเรือนนั้นดังนี้ ศาลจะบังคับให้ส่งแพไม่ได้เพราะไม่มีแพอยู่เสียแล้ว แต่การที่เอาแพของเขาไปปลูกเป็นเรือนของตนเสียเช่นนี้ ผู้ปลูกย่อมเป็นเจ้าของเรือนนั้น แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระให้แก่เขาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1315 ฉะนั้น ศาลย่อมบังคับให้ใช้ราคาแพนั้นแก่ทายาทได้