คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กิตติ สีหนนทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางคดีอาวุธปืนภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ผ่อนผันโทษ แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบแล้ว
สำหรับปืน ปลอกกระสุนปืนและเม็ดตะกั่วของกลางนั้น. เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นของที่จำเลยใช้กระทำผิด.แม้จะเป็นปืนที่ไม่มีทะเบียน. และในขณะฟ้องตลอดจนเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษ จะเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดให้ริบเสียสิ้น. ไม่ว่าจะเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32. แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลอุทธรณ์และอยู่ระหว่างพิจารณา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2510 มาตรา 5. ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน กระสุนปืนฯ. โดยไม่ได้รับอนุญาต.นำไปขอรับอนุญาตได้ภายใน 90 วัน. โดยผู้นั้นไม่ต้องได้รับโทษ. ต้องถือว่าในระหว่างนั้น กฎหมายยกเว้นโทษให้แก่ผู้มีอาวุธปืน กระสุนปืนฯ. โดยไม่ได้รับอนุญาต. แม้เป็นเรื่องที่ถูกฟ้องและศาลลงโทษไปก่อนใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวแล้วก็ตามศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษาคืนของกลางให้เจ้าของไปได้. และแม้จะได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายหลังระยะเวลา 90 วันตามที่กฎหมายกำหนดไว้. ก็หาทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไปไม่.
อนึ่งคดีนี้ศาลอุทธรณ์อ้างบทมาตราของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ข้างต้นผิด.แต่ก็ไม่เป็นเหตุให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841-1845/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าและค่าเสียหายหลังสัญญาเช่าช่วงระงับ การวินิจฉัยนอกประเด็น และผลของการสละสิทธิ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่โจทก์ได้เช่ามาจากเจ้าของเดิมและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้. พร้อมทั้งเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายที่จำเลยยังคงอยู่ต่อมาภายหลังที่ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว. จำเลยต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมระงับแล้ว และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบด้วยว่า. จำเลยไม่มีข้อผูกพันชำระค่าเช่ากับโจทก์ต่อไป. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง. ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นความจริงหรือไม่. หากเป็นความจริง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายจากจำเลยได้เพียงไรหรือไม่. ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิม. ก็เพื่อนำมาซึ่งการวินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้นั่นเอง. จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. และในการวินิจฉัยก็ฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น. ที่คู่ความตกลงอ้างร่วมกัน แม้จะเป็นคดีที่พิพาทกันเฉพาะห้องเลขที่ 21-23 ที่ใช้เป็นโรงแรมไทยอารีย์. ไม่รวมถึงห้องพิพาท. ศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงรวมไปถึงห้องชั้นล่างที่ให้เช่าช่วงคือห้องที่พิพาทกันในคดีนี้ด้วย.จึงไม่เป็นการวินิจฉัยโดยขาดพยานหลักฐาน.
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมได้ระงับไปตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2503 และจำเลยได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์แล้ว. สัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันระงับไป. แต่ค่าเช่าก่อนที่สัญญาเช่าช่วงระงับ จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์. เพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ส่วนภายหลังต่อมาจากที่สัญญาเช่าช่วงระงับแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 เป็นต้นไปนั้น.จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนห้องพิพาทที่เช่าช่วงให้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 แต่จำเลยยังคงอยู่.ไม่ออกจากห้องพิพาท. และโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเดิม คดีแดงที่ 192/2504 เดือนละ 360 บาท. เช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราเท่าค่าเช่าต่อไปจนถึงวันฟ้อง. ส่วนค่าเสียหายต่อจากวันฟ้องซึ่งคู่ความตกลงกันเดือนละ 25 บาทนั้น. จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์. เพราะโจทก์ได้แถลงไว้ว่า ถ้าคดีแดงที่192/2504 ถึงที่สุด ศาลพิพากษาขับไล่โจทก์. โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้บังคับขับไล่จำเลยในคดีนี้ คงขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่า. โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายได้หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า. ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์. โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่ภายหลังวันฟ้องนั้น. ไม่ใช่เป็นการอยู่โดยไม่ส่งมอบห้องพิพาทแก่โจทก์. โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายภายหลังจากวันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841-1845/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าช่วง สิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระและค่าเสียหายหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่โจทก์ได้เช่ามาจากเจ้าของเดิมและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ พร้อมทั้งเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายที่จำเลยยังคงอยู่ต่อมาภายหลังที่ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมระงับแล้ว และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบด้วยว่า จำเลยไม่มีข้อผูกพันชำระค่าเช่ากับโจทก์ต่อไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นความจริงหรือไม่ หากเป็นความจริง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายจากจำเลยได้เพียงไรหรือไม่ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิม ก็เพื่อนำมาซึ่งการวินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้นั่นเอง จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และในการวินิจฉัยก็ฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ที่คู่ความตกลงอ้างร่วมกัน แม้จะเป็นคดีที่พิพาทกันเฉพาะห้องเลขที่ 21-23 ที่ใช้เป็นโรงแรมไทยอารีย์ ไม่รวมถึงห้องพิพาท ศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงรวมไปถึงห้องชั้นล่างที่ให้เช่าช่วงคือห้องที่พิพาทกันในคดีนี้ด้วย จึงไม่เป็นการวินิจฉัยโดยขาดพยานหลักฐาน
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมได้ระงับไปตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2503 และจำเลยได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์แล้ว สัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันระงับไป แต่ค่าเช่าก่อนที่สัญญาเช่าช่วงระงับ จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์ เพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ส่วนภายหลังต่อมาจากที่สัญญาเช่าช่วงระงับแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 เป็นต้นไปนั้น จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนห้องพิพาทที่เช่าช่วงให้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 แต่จำเลยยังคงอยู่ไม่ออกจากห้องพิพาท และโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเดิมคดีแดงที่ 192/2504 เดือนละ 360 บาท เช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราเท่าค่าเช่าต่อไปจนถึงวันฟ้อง ส่วนค่าเสียหายต่อจากวันฟ้องซึ่งคู่ความตกลงกันเดือนละ 25 บาทนั้น จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์ได้แถลงไว้ว่า ถ้าคดีแดงที่192/2504 ถึงที่สุด ศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้บังคับขับไล่จำเลยในคดีนี้ คงขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายได้หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่าถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่ภายหลังวันฟ้องนั้น ไม่ใช่เป็นการอยู่โดยไม่ส่งมอบห้องพิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายภายหลังจากวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841-1845/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าช่วง ค่าเช่าค้างชำระ และความรับผิดค่าเสียหายหลังสัญญาเลิก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่โจทก์ได้เช่ามาจากเจ้าของเดิมและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ พร้อมทั้งเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายที่จำเลยยังคงอยู่ต่อมาภายหลังที่ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมระงับแล้ว และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบด้วยว่า จำเลยไม่มีข้อผูกพันชำระค่าเช่ากับโจทก์ต่อไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นความจริงหรือไม่ หากเป็นความจริง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายจากจำเลยได้เพียงไรหรือไม่ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิม ก็เพื่อนำมาซึ่งการวินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้นั่นเอง จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และในการวินิจฉัยก็ฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ที่คู่ความตกลงอ้างร่วมกัน แม้จะเป็นคดีที่พิพาทกันเฉพาะห้องเลขที่ 21-23 ที่ใช้เป็นโรงแรมไทยอารีย์ ไม่รวมถึงห้องพิพาท ศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงรวมไปถึงห้องชั้นล่างที่ให้เช่าช่วงคือห้องที่พิพาทกันในคดีนี้ด้วยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยโดยขาดพยานหลักฐาน
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมได้ระงับไปตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2503 และจำเลยได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์แล้ว สัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันระงับไป แต่ค่าเช่าก่อนที่สัญญาเช่าช่วงระงับ จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์ เพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ส่วนภายหลังต่อมาจากที่สัญญาเช่าช่วงระงับแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 เป็นต้นไปนั้นจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนห้องพิพาทที่เช่าช่วงให้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 แต่จำเลยยังคงอยู่ไม่ออกจากห้องพิพาท และโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเดิม คดีแดงที่ 192/2504 เดือนละ 360 บาท เช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราเท่าค่าเช่าต่อไปจนถึงวันฟ้อง ส่วนค่าเสียหายต่อจากวันฟ้องซึ่งคู่ความตกลงกันเดือนละ 25 บาทนั้น จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์ได้แถลงไว้ว่า ถ้าคดีแดงที่192/2504 ถึงที่สุด ศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้บังคับขับไล่จำเลยในคดีนี้ คงขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายได้หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่ภายหลังวันฟ้องนั้น ไม่ใช่เป็นการอยู่โดยไม่ส่งมอบห้องพิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายภายหลังจากวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาเจาะบ่อน้ำบาดาล: การรับประกันคุณภาพน้ำและการบอกเลิกสัญญาเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้
ข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยนั้น. จะต้องเป็นข้อสัญญาที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฏิบัติได้เลย.
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น. เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้. หาเป็นการพ้นวิสัยไม่. การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา. จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย.
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15). ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด. และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย.และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15). ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว. ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา.ไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี. โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้. เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ'. ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่.
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391. การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์. ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย.แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน. ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้. การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์.จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาเจาะบ่อน้ำบาดาล: การผิดสัญญาและสิทธิในการบอกเลิกสัญญา รวมถึงการคืนเงินและค่าเสื่อมสภาพ
ข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยนั้น จะต้องเป็นข้อสัญญาที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฏิบัติได้เลย
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้ หาเป็นการพ้นวิสัยไม่ การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15) ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15) ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้ เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า "ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ" ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้ การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์ จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาเจาะบ่อน้ำ: การชำระหนี้ไม่เป็นพ้นวิสัย, สิทธิบอกเลิกสัญญา, การคืนเงินและชดใช้ค่าเสื่อม
ข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยนั้น จะต้องเป็นข้อสัญญาที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฏิบัติได้เลย
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้ หาเป็นการพ้นวิสัยไม่ การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมาย จ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6 (14) (15) ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้ายและในรายการแนบท้าย ข้อ 6 (16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15) ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้ เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯ หรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ' ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลยแต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่าง ๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้ การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการธนาคารออมสิน: ผู้อำนวยการเท่านั้นที่ชอบโดยกฎหมาย ประธานกรรมการไม่มีอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16 ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการธนาคารออมสิน: ผู้อำนวยการเท่านั้นที่มีอำนาจดำเนินคดีแทนธนาคาร
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16 ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการของผู้อำนวยการธนาคารออมสิน vs. ประธานกรรมการ และผลต่อกระบวนการพิจารณาคดี
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16. ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน. โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้. ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี. ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่.
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย. โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว. และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง. โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด. ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม. ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล. ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง. ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม.
of 60