คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กิตติ สีหนนทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของสามีเมื่อภริยามีชู้หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้จดทะเบียนหย่าแล้ว และประเด็นอายุความฟ้องร้อง
กรณีที่ภริยามีชู้หรือมีผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาว อันเป็นการกระทบกระเทือนไปถึงสิทธิของสามีนั้น มีมาตรา 1505 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะให้สามีมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้หรือผู้ที่ล่วงเกินนั้นได้สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาของตนในทางชู้สาว โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิของสามีตามมาตรา 420 ไม่ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทางชู้สาวโดยกอดจูบและร่วมประเวณีแต่ได้ความว่าต่อมาโจทก์กับภริยาได้สมัครใจจดทะเบียนหย่ากันเองเสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคแรก แม้กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องการล่วงเกินไปในทำนองชู้สาวตามวรรคสองและถึงแม้ว่าภริยาจะได้สมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกิน สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินได้
แม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวตามมาตรา 1505 วรรคสองได้
โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509
(ข้อกฎหมาย 3 ข้อแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าทดแทนกรณีภริยามีชู้/ถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ภริยาสมัครใจ และอายุความฟ้องร้อง
กรณีที่ภริยามีชู้หรือมีผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาว อันเป็นการกระทบกระเทือนไปถึงสิทธิของสามีนั้น มีมาตรา 1505 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะให้สามีมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้หรือผู้ที่ล่วงเกินนั้นได้สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาของตนในทางชู้สาวโดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิของสามีตามมาตรา 420 ไม่ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทางชู้สาวโดยกอดจูบและร่วมประเวณีแต่ได้ความว่าต่อมาโจทก์กับภริยาได้สมัครใจจดทะเบียนหย่ากันเองเสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคแรกแม้กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องการล่วงเกินไปในทำนองชู้สาวตามวรรคสองและถึงแม้ว่าภริยาจะได้สมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกิน สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินได้
แม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวตามมาตรา 1505 วรรคสองได้
โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509 (ข้อกฎหมาย 3 ข้อแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีอุทธรณ์ภาษี: การวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วถือว่ามีสิทธิฟ้องต่อศาลได้
โจทก์เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพิ่มตามที่เจ้าพนักงานแจ้งการประเมินได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วอุทธรณ์ฉบับแรกคณะกรรมการฯ สั่งไม่รับเพราะยื่นไม่ถูกแบบ ฉบับหลังสั่งให้ยกอุทธรณ์เพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว และในคำวินิจฉัยนี้ได้สั่งให้โจทก์นำเงินภาษีไปชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บด้วย ดังนี้ย่อมถือว่าคณะกรรมการฯ ได้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วโจทก์ย่อมฟ้องโต้เถียงว่าได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดและการประเมินตลอดจนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ชอบ ให้เพิกถอนเสียได้ ไม่ใช่ว่าจะฟ้องได้แต่เพียงให้ศาลสั่งคณะกรรมการฯ ให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาเท่านั้น
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและฟ้องเคลือบคลุมศาลชั้นต้นเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วสั่งงดการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องพิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงอุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์โต้เถียงกันเรื่องอำนาจฟ้องเพียงประเด็นเดียวก่อน ครั้นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง และพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสืบพยานไปตามประเด็นแล้วพิพากษาใหม่ ดังนี้ จำเลยจะยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นข้อฎีกาขึ้นมาด้วยในชั้นนี้ไม่ได้เพราะยังไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีอุทธรณ์ภาษี: การวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ถือเป็นการรับอุทธรณ์แล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้
โจทก์เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพิ่ม.ตามที่เจ้าพนักงานแจ้งการประเมินได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วอุทธรณ์ฉบับแรกคณะกรรมการฯ สั่งไม่รับเพราะยื่นไม่ถูกแบบ ฉบับหลังสั่งให้ยกอุทธรณ์เพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว และในคำวินิจฉัยนี้ ได้สั่งให้โจทก์นำเงินภาษีไปชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บด้วย ดังนี้ย่อมถือว่าคณะกรรมการฯ ได้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วโจทก์ย่อมฟ้องโต้เถียงว่าได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดและการประเมินตลอดจนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ชอบ ให้เพิกถอนเสียได้ ไม่ใช่ว่าจะฟ้องได้แต่เพียงให้ศาลสั่งคณะกรรมการฯ ให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาเท่านั้น
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและฟ้องเคลือบคลุมศาลชั้นต้นเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วสั่งงดการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องพิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงอุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์โต้เถียงกันเรื่องอำนาจฟ้องเพียงประเด็นเดียวก่อน ครั้นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง และพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสืบพยานไปตามประเด็นแล้วพิพากษาใหม่ ดังนี้ จำเลยจะยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นข้อฎีกาขึ้นมาด้วยในชั้นนี้ไม่ได้เพราะยังไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่แล้วผลอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 นั้น ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลจะต้องชัดแจ้งเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรบ้าง มิใช่กล่าวแต่เพียงว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่เกินสามแสนบาทเท่านั้นโดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่าหากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพาทไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่ ศาลอาจพิพากษาต่างไปจากเดิม
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 นั้น ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลจะต้องชัดแจ้งเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรบ้าง มิใช่กล่าวแต่เพียงว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่เกินสามแสนบาทเท่านั้น โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่าหากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของภริยาที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี: โมฆียะ & ผลกระทบต่อสินบริคณห์
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่าทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้ว สัญญานั้น.ก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9-10/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของภริยา จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามี หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่า ทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้วสัญญานั้นก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 -10/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเทศบาลสั่งรื้ออาคารต้องพิจารณาตัวอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมจริง มิใช่แค่บริเวณที่ดูไม่น่าดู
อำนาจของเทศบาลที่จะสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 นั้น หมายความถึงตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ มิใช่หมายความถึงบริเวณ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารของโจทก์ยังไม่ชำรุดทรุดโทรม เป็นแต่ตั้งปะปนอยู่กับอาคารอื่นเมื่อรื้ออาคารอื่นแล้วทำให้เกิดที่ว่างคั่นอาคารของโจทก์ ทำให้มีสภาพไม่น่าดูเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นเหตุให้อาคารของโจทก์ตกเป็นอาคารที่อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ เช่นนี้ เทศบาลจึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลใช้อำนาจสั่งรื้ออาคารชำรุดไม่ได้ หากอาคารยังมั่นคงแข็งแรง และสภาพแวดล้อมโดยรวมไม่น่ารังเกียจ
อำนาจของเทศบาลที่จะสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่อาจแก้ไขได้ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 นั้น หมายความถึงตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ มิใช่หมายความถึงบริเวณ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารของโจทก์ยังไม่ชำรุดทรุดโทรม เป็นแต่ตั้งปะปนอยู่กับอาคารอื่นเมื่อรื้ออาคารอื่นแล้วทำให้เกิดที่ว่างคั่นอาคารของโจทก์ ทำให้มีสภาพไม่น่าดูเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นเหตุให้อาคารของโจทก์ตกเป็นอาคารที่อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ เช่นนี้ เทศบาลจึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
of 60