คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อินท์ อุดล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์: ความสำคัญต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(12),162,165,167 นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้านจะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์: ความสำคัญตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (12), 162, 165, 167 นั้น เป็นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นส่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้าน จะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้อง และพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความคดีอาญา/ประนีประนอมยอมความแพ่ง: ผลผูกพันและหลักฐาน
การยอมความในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัวนั้น แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) (อ้างฎีกาที่ 976/2481)
ในส่วนแพ่ง การประนีประนอมยอมความ ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ และข้อที่อ้างว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้วโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้เพราะการนำสืบพยานบุคคลในข้อนี้มีผลเป็นการยกสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นต่อสู้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความคดีอาญา/ประนีประนอมหนี้: ผลผูกพันทางแพ่งและอาญา แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
การยอมความในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัวนั้น แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
(อ้างฎีกาที่ 976/2481)
ในส่วนแพ่ง การประนีประนอมยอมความ ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้และข้อที่อ้างว่า ได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้ว โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ เพราะการนำสืบพยานบุคคลในข้อนี้ มีผลเป็นการยกสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นต่อสู้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: เมื่อขายทอดตลาดเสร็จสิ้นแล้ว ลูกหนี้ไม่มีอำนาจขอให้ขายใหม่ แม้จะมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาหรือรายละเอียด
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไปตามคำสั่งศาลเสร็จสิ้นแล้ว และไม่ปรากฏว่าได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นขอให้ขายที่ดินใหม่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การใช้สิทธิยันกันระหว่างราษฎร แม้ไม่แจ้งการครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้ที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน แจ้งการครอบครองที่ดิน ถ้าไม่แจ้งให้ถือว่าบุคคลนั้นเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดินรัฐมีอำนาจจัดที่ดินนั้นได้ นั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ครอบครองที่ดินกับรัฐ คดีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน จึงอ้างการครอบครองใช้ยันกันได้
เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดิน แม้จะมิได้แจ้งการครอบครอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์หรือโต้แย้งสิทธิโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแจ้งการครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการอ้างสิทธิระหว่างราษฎร
ที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้ที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธ์ที่ดิน แจ้งการครอบครองที่ดินถ้าไม่แจ้งให้ถือว่าบุคคลนั้นเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดิน รัฐมีอำนาจจัดที่ดินได้นั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ครอบครองที่ดินกับรัฐคดีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันจึงอ้างการครอบครองใช้ยันกันได้
เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินแม้จะมิได้แจ้งการครอบครองโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์หรือโต้แย้งสิทธิโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตระบุพยาน/สืบพยาน เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากไม่โต้แย้ง สิทธิอุทธรณ์ฎีกาขาดเสีย
คำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานและบัญชีระบุพยานนั้น หาใช่คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลไม่ ฉะนั้นคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ระบุพยานจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคู่ความไม่ได้แย้งไว้ ก็ย่อมจะอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งนั้นไม่ได้
คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเข้าสืบ ก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อไม่โต้แย้งไว้ ก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตระบุพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่โต้แย้งสิทธิอุทธรณ์ฎีกาขาด
คำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานและบัญชีระบุพยานนั้น หาใช่คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลไม่ฉะนั้น คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ระบุพยานจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคู่ความไม่โต้แย้งไว้ก็ย่อมจะอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งนั้นไม่ได้
คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเข้าสืบ ก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อไม่โต้แย้งไว้ ก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: ค่าเสียหายเมื่อผู้ขายไม่สามารถโอนได้ ศาลพิจารณาค่าเสียหายตามหลักทั่วไป
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิได้กล่าวถึงกรณีที่ผู้จะขายไม่สามารถขายได้เพราะที่ดินเป็นของบุคคลอื่น เช่นนี้ผู้จะซื้อย่อมเรียกค่าเสียหายแทนการไม่ชำระหนี้ได้ตามเรื่องผิดสัญญาทั่วไป
of 8