คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1450

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสข้ามสัญชาติ: อำนาจศาลเมื่อนายทะเบียนยับยั้งการจดทะเบียน และข้อจำกัดในการอ้างเหตุใหม่ในฎีกา
เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วแต่กลับยับยั้งการจดทะเบียนสมรสไว้ โดยหารือไปยังจังหวัดก่อนนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส อันผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 แล้ว ในชั้นยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านอ้างเหตุที่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมอย่างหนึ่งแต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในฎีกาว่าคำร้องเคลือบคลุมเป็นอีกอย่างหนึ่งต่างกันดังนั้นฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481มาตรา 19 ซึ่งบัญญัติว่า 'เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย'นั้นหาใช่บทกฎหมายที่ผู้คัดค้านจะนำมาใช้ในชั้นพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนสมรสไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรส: อำนาจศาลเมื่อนายทะเบียนยับยั้งการจดทะเบียน และข้อจำกัดในการฎีกา
เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วแต่กลับยับยั้งการจดทะเบียนสมรสไว้ โดยหารือไปยังจังหวัดก่อนนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส อันผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 แล้ว
ในชั้นยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านอ้างเหตุที่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมอย่างหนึ่ง แต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในฎีกาว่าคำร้องเคลือบคลุมเป็นอีกอย่างหนึ่งต่างกัน ดังนั้นฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 มาตรา 19 ซึ่งบัญญัติว่า "เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย" นั้น หาใช่บทกฎหมายที่ผู้คัดค้านจะนำมาใช้ในชั้นพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนสมรสไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนสมรสของบุคคลสัญชาติอื่น: อำนาจหน้าที่นายทะเบียนและการไต่สวนของศาล
เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสนั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 10 บัญญัติให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสมรสให้เมื่อมีการร้องขอ การที่นายทะเบียนจะปฏิเสธได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่ง มาตรา 1448 ถึงมาตรา1454และมาตรา1458 ตามที่ได้ ตรวจชำระใหม่ ซึ่งมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 ห้ามมิให้นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสในกรณีที่นายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสผู้มีส่วนได้เสียก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาล โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าการเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายครบถ้วนแล้ว ก็ให้ศาลมีคำสั่ง ไปให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 15 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมและการสิ้นสุดสภาพสมรสที่จดทะเบียนต่างประเทศ
สามีภริยายื่นคำร้องต่อกรมการอำเภอ มีข้อความกล่าวไว้ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายมีพยานลงลายมือชื่อสองคนดังนี้ก็ถือได้ว่า หนังสือคำร้องนั้นเป็นหนังสือหย่าอย่างบริบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1498
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณ ต่างประเทศได้จดทะเบียนณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทูตหรือกงศุลไทยตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้นการสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้ทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสต่างประเทศ และการใช้หนังสือหย่าตามกฎหมายแพ่ง
สามีภริยายื่นคำร้องต่อกรมการอำเภอ มีข้อความกล่าวไว้ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา กัน ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย มีพยานลงลายมือชื่อสองคน ดังนี้ ก็ถือได้ว่า หนังสือคำร้องนั้นเป็นหนังสือหย่าอย่าง บริบูรณ์ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1498.
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณต่างประเทศได้จดทะเบียน ณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนัก วานฑูตหรือกงศุลไทย ตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้น การสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้จดทะเบียนตาม ป.ม. แพ่งฯ ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ป.ม.แพ่งฯ ก็ใช้ได้./