พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: สัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด - การฟ้องผิดหน้าที่ลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานการเงินนำค่าโดยสารเก็บเข้าตู้เซฟ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานการเงินมีหน้าที่ ควบคุมดูแลพนักงานการเงินแทนจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่เป็นเหตุให้พนักงานการเงินยักยอกเงินค่าโดยสารของโจทก์ไปทำให้ โจทก์เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบกพร่องต่อหน้าที่อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานในการควบคุมดูแลพนักงานการเงิน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1763/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: การประเมินความรับผิดจากสัญญาจ้างงานหรือละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้รถของโจทก์ได้รับความเสียหายคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่บกพร่องต่อหน้าที่ อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถ ขอให้บังคับจำเลยตามสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(1)มิใช่คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงนำอายุความหนึ่งปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 448 มาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ คำฟ้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: ข้อพิพาทเงินบำเหน็จจากข้อตกลงสภาพการจ้าง ไม่ใช่จากสัญญาเช่า
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันเป็นข้อผูกพันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่า และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานและวันหยุดงานค่าจ้างเงินชดเชยเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพและบำเหน็จพนักงานและคนงานโรงงานสุราพ.ศ.2501 ก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าดังกล่าว หากแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวมิได้มีมูลฐานมาจากสัญญาเช่า แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: คดีเงินบำเหน็จพนักงานโรงงานสุรา ไม่ใช่ข้อพิพาทจากสัญญาเช่า แต่เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันเป็นข้อผูกพันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่า และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานและวันหยุดงาน ค่าจ้าง เงินชดเชย เงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล และค่าทำศพ และบำเหน็จพนักงานและคนงานโรงงานสุรา พ.ศ. 2501 ก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าดังกล่าว หากแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวมิได้มีมูลฐานมาจากสัญญาเช่า แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสวัสดิการที่พักอาศัยของลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของสภาพการจ้าง อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
การที่นายจ้างจัดห้องพักให้ลูกจ้างเข้าอยู่อาศัย เป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง อันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ว่า โจทก์ให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในห้องพักคนงานโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องออกจากห้องที่อยู่อาศัยเมื่อโจทก์ต้องใช้สถานที่ และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องการใช้ห้องที่ทำงานอยู่อาศัยเพื่อกิจการอื่น แต่จำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์จึงเลิกจ้างแล้วฟ้องขับไล่จำเลย จึงถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(1)อันอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าพักอาศัยของลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของสภาพการจ้าง คดีอยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
การที่โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างเข้าพักอาศัยอยู่ในห้องพักของโจทก์ เป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง อันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเมื่อโจทก์ฟ้องว่าโจทก์ต้องการห้องพักคืนเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น แต่จำเลยไม่ยอมออกไปโจทก์จึงเลิกจ้างแล้วฟ้องขับไล่จำเลย ดังนี้ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 8(1) จึงอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและลูกจ้างจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง ทั้งในส่วนของคดีอาญาและละเมิด
ลูกจ้างกระทำความผิดอาญา ศาลพิพากษาปรับ นายจ้างได้ชำระค่าปรับและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแทนลูกจ้าง แล้วลูกจ้างทำสัญญาประนีประนอมผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวแก่นายจ้างแต่ไม่ชำระ ดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาในสัญญาจ้างข้อ 11 ว่า หากลูกจ้างทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ลูกจ้างยอมชดใช้จนครบถ้วน ก็ตามคดีที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างให้ชำระหนี้ดังกล่าวก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1) ทั้งมิใช่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(5) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 เพราะการชำระค่าปรับเป็นหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างหาจำต้องรับโทษปรับร่วมกับลูกจ้างไม่ นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคดีแรงงาน ลูกจ้างขับรถยนต์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกโดยละเมิดตามทางการที่จ้างนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จึงเป็นเรื่องที่ลูกจ้างได้กระทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามข้อ 11 ของสัญญาจ้างดังกล่าวแล้วคดีที่นายจ้างฟ้องเรียกเงินที่ตนได้ชำระแก่บุคคลภายนอกแทนลูกจ้างไปจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แม้ลูกจ้างยอมรับผิดและได้ทำสัญญาประนีประนอมและผ่อนชำระหนี้รายนี้ให้นายจ้างไว้ นายจ้างก็มีอำนาจฟ้องเป็นคดีแรงงานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386-3387/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, เงินบำเหน็จ, เงินประกันตัว และสภาพการจ้างในคดีแรงงาน
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2521ข้อ3.4กำหนดว่า'ค่าจ้าง'หมายความว่าเงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วยแต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลาโบนัสเบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการหรือประโยชน์อย่างอื่น'ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างจึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น'ตามคำจำกัดความข้างต้นและตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพจึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้ ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัวพ.ศ.2525เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงานเป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานเป็นสภาพการจ้างและเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386-3387/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพ, ค่าบำเหน็จ, และการหักเงินประกันตัวเพื่อชำระหนี้: ประเด็นทางกฎหมายแรงงาน
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ.2521ข้อ 3.4กำหนดว่า 'ค่าจ้าง' หมายความว่า เงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วย แต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการหรือประโยชน์อย่างอื่น' ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น' ตามคำจำกัดความข้างต้น และตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพ จึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้
ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัว พ.ศ.2525 เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงาน เป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงานเป็นสภาพการจ้าง และเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้ จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้
ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ.2521ข้อ 3.4กำหนดว่า 'ค่าจ้าง' หมายความว่า เงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วย แต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการหรือประโยชน์อย่างอื่น' ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น' ตามคำจำกัดความข้างต้น และตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพ จึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้
ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัว พ.ศ.2525 เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงาน เป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงานเป็นสภาพการจ้าง และเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้ จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386-3387/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพ, ค่าจ้าง, เงินบำเหน็จ และการหักเงินประกันตัวเพื่อชำระหนี้
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 ข้อ 3.4 กำหนดว่า 'ค่าจ้าง' หมายความว่า เงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วย แต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการ หรือประโยชน์อย่างอื่น' ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น' ตามคำจำกัดความข้างต้น และตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่า ค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพ จึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้
ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัว พ.ศ.2525 เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงาน เป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงานเป็นสภาพการจ้าง และเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้ จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้
ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 ข้อ 3.4 กำหนดว่า 'ค่าจ้าง' หมายความว่า เงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วย แต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการ หรือประโยชน์อย่างอื่น' ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น' ตามคำจำกัดความข้างต้น และตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่า ค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพ จึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้
ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัว พ.ศ.2525 เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงาน เป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงานเป็นสภาพการจ้าง และเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้ จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้