พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการซื้อที่ดินโดยสุจริต ศาลต้องพิจารณาอำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยปลูกบ้านรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 52927 ของโจทก์ และขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งอ้างการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาท ของโจทก์ที่โจทก์เพิ่งซื้อมาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้ซื้อที่ดินมาโดเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยอย่างไรและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ประเด็นที่ว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ จึงรวมอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทหรือไม่ด้วย โดยโจทก์ไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวอีก เพราะถือว่าเป็นประเด็นเดียวกันกับที่โจทก์ได้ให้การแก้ฟ้องแย้งไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลือกตั้งซ่อม กรณีผู้สมัครทำละเมิด ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม รวมทั้งอำนาจหน้าที่อื่นอีกหลายกรณี มาตรา 30 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มาตรา 38 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนองบประมาณรายจ่าย เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรให้ไม่เพียงพอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการกิจการพิจารณางบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรได้โดยตรง ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาหรือการจัดทำประชามติมากกว่างบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ ให้รัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะเห็นได้ว่าตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้รัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่ออุดหนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพียงพอกับการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ แต่การนำเงินงบประมาณไปใช้ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มิได้หมายความว่าโจทก์สามารถจะนำเงินงบประมาณไปใช้จ่ายอย่างไรก็ได้ โดยเฉพาะแล้วการนำเงินงบประมาณที่ได้จากการจัดสรรมาก็ต้องเพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่รัฐอย่างสูงสุด ขณะเดียวกันจำเลยซึ่งสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและส่วนรวม รวมทั้งต้องมีความรับผิดชอบต่อการใช้เงินงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเงินงบประมาณก็คือเงินภาษีของประชาชน ดังนี้ การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งเมื่อเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว จำเลยยังมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ผู้เข้ารับตำแหน่งดังกล่าวจะต้องปฏิบัติด้วยความถูกต้องเช่นนั้นทุกคน เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบจนเป็นเหตุให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 119 ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้โจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยต้องใช้งบประมาณหรือเงินอุดหนุนที่ได้รับจากการจัดสรรจากรัฐบาลที่มาจากภาษีของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่ากับโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในหนี้มูลละเมิด โดยโจทก์เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิด ศาลชั้นต้นย่อมนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมารับฟังประกอบการพิจารณาคดีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่เป็นคู่ความและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินและเอกสารของผู้ที่จะเข้าทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหน้าที่สำคัญ จำเลยย่อมรู้ดีว่าหากจำเลยจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ย่อมมีผลทำให้จำเลยต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อจำเลยพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยไม่อาจว่างเว้นการเลือกตั้งไว้ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยจงใจโดยจำเลยรู้สึกถึงผลหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จำเลยจึงอ้างความผิดหลงหรือเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ และการที่จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินหรือเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วจำเลยกลับมาสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นการสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ จำเลยก็ย่อมจะทราบดีว่าการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวอาจทำให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งและเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหายโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างนับได้ว่าการกระทำของจำเลยล้วนเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายที่ต่อเนื่องกันอันเป็นผลโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
เมื่อคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิด ศาลชั้นต้นย่อมนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมารับฟังประกอบการพิจารณาคดีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่เป็นคู่ความและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินและเอกสารของผู้ที่จะเข้าทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหน้าที่สำคัญ จำเลยย่อมรู้ดีว่าหากจำเลยจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ย่อมมีผลทำให้จำเลยต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อจำเลยพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยไม่อาจว่างเว้นการเลือกตั้งไว้ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยจงใจโดยจำเลยรู้สึกถึงผลหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จำเลยจึงอ้างความผิดหลงหรือเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ และการที่จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินหรือเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วจำเลยกลับมาสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นการสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ จำเลยก็ย่อมจะทราบดีว่าการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวอาจทำให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งและเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหายโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างนับได้ว่าการกระทำของจำเลยล้วนเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายที่ต่อเนื่องกันอันเป็นผลโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักล้างพยานเอกสารต้องด้วยข้อเท็จจริง พยานโจทก์ต้องเบิกความเกี่ยวกับเอกสารนั้นโดยตรง การฎีกาที่ไม่ชัดเจนถือเป็นเหตุต้องห้ามมิให้รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาในข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับฟังคำเบิกความโจทก์ที่ 1 ขัดแย้งกับพยานเพื่อหักล้างพยานเอกสารดังกล่าวไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 นั้น ในทางนำสืบไม่ปรากฏว่ามีพยานโจทก์คนใดที่เบิกความเกี่ยวกับเอกสาร มีเพียงจำเลยที่ตอบทนายโจทก์ทั้งสิบเอ็ดซึ่งนำเอกสารดังกล่าวมาถามค้าน จึงไม่อาจฟังได้ว่าคำเบิกความพยานโจทก์ทั้งสิบเอ็ดขัดแย้งกับเอกสาร ดังที่จำเลยฎีกา ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ส่วนฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยนั้น ล้วนเป็นการคัดลอกข้อความในอุทธรณ์ของจำเลยมาทั้งสิ้น โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้เห็นว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทต่างกันในคดีมรดก: คำวินิจฉัยเดิมไม่ผูกพันคู่ความในคดีใหม่ การงดสืบพยานและการคำนวณค่าฤชาธรรมเนียม
คดีก่อนซึ่งเป็นคดีขอจัดการมรดกของผู้ตายมีประเด็นว่า โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ จำเลยและโจทก์ที่ 2 ต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ และสมควรตั้งจำเลยหรือโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 2 เป็นทายาทผู้ตายและ ก. เป็นบุตรที่แท้จริงของผู้ตายหรือไม่ คดีก่อนกับคดีนี้ จึงมีประเด็นต่างกัน แม้ในคดีก่อนศาลชั้นต้นจะฟังว่าโจทก์ที่ 2 เป็นพี่น้องเดียวกันกับผู้ตาย เป็นทายาทลำดับที่ 3 ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วในคดีก่อนและผูกพันโจทก์ที่ 2 และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยดังกล่าวมาผูกพันโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า ก. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยาน โดยมีคำขอเพียง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วมีคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีตามฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าฤชาธรรมเนียม (2) ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยาน โดยมีคำขอเพียง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วมีคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีตามฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าฤชาธรรมเนียม (2) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10517/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดพิมพ์ซองผ้าป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากวัด ถือเป็นเอกสารปลอมและอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านขว้าง หรือเป็นกรรมการวัด หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในวัดบ้านขว้างที่จะมีอำนาจจัดทอดผ้าป่าโดยลำพัง การที่จำเลยจัดพิมพ์ซองผ้าป่าซึ่งข้อความบนซองผ้าป่าของกลางเป็นการเชิญชวนให้ร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดบ้านขว้าง ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจโดยลำพังที่จะจัดทอดผ้าป่าในนามวัดบ้านขว้างโดยพลการเพราะไม่ได้แจ้งหรือขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดและไม่ได้ผ่านการประชุมระหว่างไวยาวัจกร กรรมการวัด เจ้าอาวาสวัด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนรวมทั้งชาวบ้าน ทั้งซองผ้าป่าของกลางที่จัดพิมพ์แจกจ่ายให้ผู้อื่นไม่มีรอยตราของวัดประทับด้านหลังซอง การจัดพิมพ์ซองผ้าป่าดังกล่าวจึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ โดยจำเลยไม่มีอำนาจ ลักษณะข้อความตามซองผ้าป่าของกลางระบุชัดเจนว่าเป็นการทอดผ้าป่า ณ วัดบ้านขว้าง ทำให้ประชาชนทั่วไปเชื่อว่าเป็นซองผ้าป่าที่แท้จริงที่จัดทำขึ้นโดยวัดบ้านขว้าง ทั้งที่ความจริงแล้วทางวัดบ้านขว้างมิได้รับรู้ด้วย หากมีการนำซองผ้าป่าดังกล่าวไปใช้โดยไม่สุจริตนำออกเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านแล้วไม่นำเงินมาทำบุญที่วัดบ้านขว้างตามที่ระบุในซองผ้าป่า ย่อมเกิดความเสื่อมเสีย หรือเสียชื่อเสียง หรือขาดความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อวัดบ้านขว้างและพระครู ป. เจ้าอาวาสวัดบ้านขว้าง แม้ผลของการกระทำจะยังไม่ปรากฏความเสียหายแต่พิจารณาพฤติการณ์ประกอบการกระทำของจำเลยที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกับจำเลยก็น่าจะเกิดความเสียหายได้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9852/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบอำนาจของคณะกรรมการชำระบัญชี และฐานะการเป็นบุคคลผู้มีสิทธิจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สิน
ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่มีมติให้ประธานกรรมการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำกิจการเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะอย่างแทนประธานกรรมการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้ เป็นมติที่ให้ประธานกรรมการมอบอำนาจให้ อ. กระทำกิจการแทนประธานกรรมการในฐานะที่ประธานกรรมการเป็นผู้แทนคณะกรรมการชำระบัญชีตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 ส่วนข้อความของมติต่อมาที่ว่า ในกิจการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทั้งนี้เป็นไปตามนัย มาตรา 10 และมาตรา 12 แห่ง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 นั้น เป็นการขยายความว่า กิจการที่มอบอำนาจให้ทำแทนประธานกรรมการนั้นจะต้องเกี่ยวกับหน้าที่ของประธานกรรมการในการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไม่อาจแปลขยายความว่าเป็นกรณีที่ประธานกรรมการมอบอำนาจให้ อ. กระทำการแทนคณะกรรมการชำระบัญชีเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ทั้งหมด มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าการชำระบัญชีของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยสามารถกระทำการได้โดยบุคคลเพียงคนเดียว ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการตรา พ.ร.ฎ. ดังกล่าวที่กำหนดให้ต้องแต่งตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการชำระบัญชี เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการนำข้อสรุปเบื้องต้นตามบันทึกการประชุมเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการชำระบัญชีและมีมติให้ขายทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนในทรัพย์พิพาทได้อยู่ก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.ก.น้ำมันเชื้อเพลิง
ตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2516 บัญญัติให้การกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 3 (1) ได้แก่ "การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การมีไว้ในครอบครอง การสำรองและการส่งออกนอกราชอาณาจักรและนำเข้ามาในราชอาณาจักร..." เท่านั้น ดังนั้น คดีนี้ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า "...จำเลยร่วมกันซื้อก๊าซปิโตรเลียมเหลว... จากผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นผู้ค้าน้ำมัน โดยที่ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่บรรจุใส่ถังก๊าซหุงต้ม... ดังกล่าว ไม่มีอุปกรณ์ปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม (Valve) และไม่มีเครื่องหมายประจำตัวแสดงไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้น ถังก๊าซหุงต้ม (Seal)..." การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิใช่การกระทำที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด เมื่อ พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2516 มาตรา 3 (1) มิได้บัญญัติว่าการซื้อก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นความผิด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องได้ แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่สามารถลงโทษจำเลยทั้งสองได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันซื้อก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม) จากผู้อื่นที่มิใช่ผู้ค้าที่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีเครื่องหมายประจำตัวผู้บรรจุก๊าซแสดงไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่คู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6325/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การฟ้องเรียกคืนทรัพย์ที่แบ่งปันแล้ว ไม่ใช่อายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
กำหนดอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดก เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ทายาทฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกัน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่ามีการแบ่งปันมรดกกันแล้ว โจทก์ให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของโจทก์แทน และฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลย จึงเป็นการเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ มิใช่กรณีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดกอันจะอยู่ภายใต้บังคับอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยเกินสิบปี นับแต่บิดาโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทางลายลักษณ์อักษรต้องสมบูรณ์และชัดเจน การลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอม
ข้อตกลงตามที่ระบุไว้ในรายงานเจ้าหน้าที่ที่เสนอต่อผู้พิพากษา ปรากฏว่าคู่ความมิได้ลงลายมือชื่อไว้จึงถือไม่ได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดที่โจทก์จะอ้างมาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องให้บังคับแก่จำเลยทั้งห้าได้ ส่วนรายงานกระบวนพิจารณา แม้โจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และทนายจำเลยทั้งห้าลงลายมือชื่อไว้ แต่ความตกลงยังหาได้ยุติไม่ เพราะยังจะต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินกันอยู่อีก กรณีจึงไม่ใช่เรื่องตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ หรือที่จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จสิ้นไปในทันทีด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน และรายงานเจ้าหน้าที่กับรายงานกระบวนพิจารณาไม่อาจนำมาประกอบกันแล้วถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนแก่ผู้แทนราษฎรที่ถูกสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
แม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีประกาศฉบับที่ 11/2557 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง แต่ได้รับรองอำนาจของศาลว่า ยังคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดี ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีนี้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังยุติได้ว่า ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่แทนจำเลย อันเป็นกรณีจำเลยถูกออกจากตำแหน่งหรือสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดเพราะเหตุที่จำเลยได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 111 ซึ่งตามนัยมาตรา 92 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น จำเลยย่อมตกอยู่ในบังคับมาตรา 92 ตอนท้าย ที่บัญญัติว่า กรณีที่ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งหรือสรรหามาโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นก่อนที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้ต่อมาจะมีประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงก็ตาม แต่มูลหนี้ที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เกิดขึ้นในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีผลใช้บังคับ โดยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายยกเว้นไว้และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ยกเลิกมูลหนี้ที่เกิดขึ้น จำเลยจึงต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นทั้งหมดที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว และเมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวจำเลยและผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลย ดังนี้ เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้ง จึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญประจำตัวจำเลย และเงินค่าตอบแทนผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี