คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180-181/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานรถไฟ: การอนุโลมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพและการพิจารณาตามข้อบังคับ
การจ่ายเงินสงเคราะห์จากกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ ให้นำพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญทั้งสิ้นมาใช้โดยอนุโลม แต่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2518 จึงไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาอนุโลมใช้ตามข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟได้ และการที่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 ออกใช้บังคับโจทก์ก็ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตามพระราชกฤษฎีกานี้นั้นก็เพราะคณะกรรมการจัดการกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นสมควรที่จะช่วยเหลืออดีตผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเช่นเดียวกับข้าราชการบำนาญ จึงได้ให้นำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาถือปฏิบัติด้วยโดยอนุโลม แต่มิได้หมายเลยไปว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 ออกใช้ โจทก์จะได้รับเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพเสมอไปก็หาไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ ผู้มีอำนาจตามข้อบังคับจะพิจารณาเห็นควรนำพระราชกฤษฎีกาฉบับข้างต้นมาอนุโลมใช้หรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180-181/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสงเคราะห์จากกองทุนรถไฟฯ การอนุโลมกฎหมายบำนาญ และสิทธิรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ
การจ่ายเงินสงเคราะห์จากกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ ให้นำพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญทั้งสิ้นมาใช้ โดยอนุโลมแต่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2518 จึงไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาอนุโลมใช้ตามข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟได้ และการที่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 ออกใช้บังคับ โจทก์ก็ได้รับเงินค่าครองชีพตามพระราชกฤษฎีกานี้นั้น ก็เพราะคณะกรรมการจัดการกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นสมควรที่จะช่วยเหลืออดีตผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเช่นเดียวกับข้าราชการบำนาญ จึงได้ให้นำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาถือปฏิบัติด้วยโดยอนุโลม แต่มิได้หมายเลยไปว่าเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 ออกใช้ โจทก์จะได้รับเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพเสมอไปก็หาไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ ผู้มีอำนาจตามข้อบังคับจะพิจารณาเห็นควรนำพระราชกฤษฎีกาฉบับข้างต้นมาอนุโลมใช้หรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการมีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจำเลยและลูกจ้าง
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่าง ๆแม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจนำข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง โจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและลูกจ้าง แม้คำสั่งเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.แรงงานฯ
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่างๆ แม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจข้อกล่าวที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
of 4