พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15104/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาคดีสิ่งแวดล้อม: ทุนทรัพย์, การกล่าวแก้เรื่องกรรมสิทธิ์, และอำนาจศาลในการเพิกถอนคำสั่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น แต่ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่เสียเกินมา 200 บาท เนื่องจากทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยมีเพียง 115,219 บาท จำเลยยื่นฎีกาพร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกา ศ. ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับรองฎีกา และให้ส่งคำร้องไปให้ ส. ผู้พิพากษาองค์คณะพิจารณา ในระหว่างนั้นทนายจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขทุนทรัพย์ โดยอ้างว่าคดีนี้จำเลยกล่าวแก้เรื่องกรรมสิทธิ์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ รวมทุนทรัพย์ชั้นฎีกา 562,069 บาท จึงไม่ต้องห้ามฎีกา ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาคดีและมีคำสั่งที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ จำเลยให้การว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และเห็นว่าทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท จึงมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิม และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยโดยไม่ต้องส่งคำร้องขอให้รับรองฎีกาให้ ส. พิจารณาสั่งอีก ซึ่งในข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่าคำให้การจำเลยมิได้เป็นการกล่าวแก้เรื่องกรรมสิทธิ์ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทเฉพาะค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 จำนวน 71,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจึงไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องที่จำเลยขอให้ศาลรับรองฎีกาไปให้ผู้พิพากษาซึ่งมีชื่อตามคำร้องพิจารณาว่ามีเหตุสมควรรับรองให้ฎีกาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14391/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิดป่าไม้ และความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่ไม่เข้าข่ายต้องมีใบอนุญาต
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ บัญญัติว่า "บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 11 มาตรา 48 มาตรา 54 หรือมาตรา 69 ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่" โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองพร้อมกับยึดของกลางต่าง ๆ รวมทั้งรถยนต์กระบะ อันเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล และยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองใช้และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานทำไม้และแปรรูปไม้ บรรทุกไม้และอุปกรณ์เครื่องมือดังกล่าวเป็นของกลาง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง และไม่ได้ขอนำพยานเข้าสืบในส่วนรถยนต์กระบะของกลางให้เชื่อได้ว่า รถยนต์กระบะของกลางเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองใช้เดินทางไปรับจ้างแปรรูปไม้และจอดอยู่บริเวณที่เกิดเหตุ กรณีจึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะซึ่งจำเลยทั้งสองใช้บรรทุกไม้ด้วย และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, มาตรา 48 รถยนต์กระบะของกลางจึงเป็นยานพาหนะซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 อันเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบตามมาตรา 74 ทวิ แห่งกฎหมายดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ยังปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว อันเป็นการกำหนดไว้ว่าเฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดฐานดังกล่าว แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ยังปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว อันเป็นการกำหนดไว้ว่าเฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดฐานดังกล่าว แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14232/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาในคดีทะเลาะวิวาทที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ แม้ไม่สามารถระบุตัวผู้ลงมือได้โดยชัดเจน
กรณีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 294 และ 299 นั้น ต้องเป็นการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครกระทำจนถึงแก่ความตายหรือจนได้รับอันตรายสาหัส แต่หากสามารถรู้และแบ่งฝ่ายแบ่งพวกกันได้ ทั้งรู้ว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดเป็นผู้ลงมือทำร้ายย่อมลงโทษผู้นั้นกับพวกได้ตามเจตนาและผลของการกระทำ จำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่งและผู้ตายกับผู้เสียหายฝ่ายหนึ่งวิวาทต่อสู้กัน แม้พยานโจทก์ที่อยู่ในเหตุการณ์จะไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าคนใดในกลุ่มของจำเลยเข้าไปใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายและฟันผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสก็ตาม ย่อมมิใช่กรณีตาม ป.อ. มาตรา 294 และ 299 พวกของจำเลยที่เข้าร่วมในการทะเลาะวิวาทกับผู้ตายและผู้เสียหายได้ใช้มีดแทงผู้ตายและฟันผู้เสียหาย จำเลยซึ่งมีเจตนาร่วมกับพวกกระทำต่อผู้ตายและผู้เสียหายย่อมต้องรับผลอันเป็นธรรมดาย่อมเกิดขึ้นจากการนั้นในฐานะเป็นตัวการ แม้มิได้เป็นผู้ลงมือแทงผู้ตายและฟันผู้เสียหายด้วยตนเองก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14175/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต้นพันธุ์ยางพารา: การคิดค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, และขอบเขตความรับผิด
หลังจากโจทก์ทราบว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบต้นพันธุ์ยางพาราให้แก่โจทก์ครบถ้วน โจทก์ได้สั่งซื้อต้นพันธุ์ยางพาราจากบุคคลอื่นมาปลูกทดแทนลงในแปลงเพาะปลูกที่โจทก์ไถดินจัดเตรียมไว้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากการไถดินเตรียมแปลงเพาะปลูกแล้ว ย่อมไม่มีความเสียหายเป็นค่าไถ่ดินเตรียมแปลงเพาะปลูกที่โจทก์จะมาเรียกร้องให้จำเลยรับผิด
จำเลยทำบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเดิมยอมรับว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและยินยอมชดเชยค่าเสียหายให้แก่โจทก์ด้วยการส่งมอบต้นพันธุ์ยางพาราเพิ่มอีกจำนวน 20,000 ต้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อให้จำเลยรับผิดสัญญาเดิม มิใช่ให้รับผิดตามบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเดิม โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยรับผิดในต้นพันธุ์ยางพาราจำนวน 20,000 ต้น เพราะต้นพันธุ์ยางพาราดังกล่าวเป็นเพียงค่าเสียหายที่จำเลยตกลงว่าจะชดเชยให้แก่โจทก์ ไม่ใช่ต้นพันธุ์ยางพาราที่จำเลยจะต้องส่งมอบตามสัญญาเดิม
เบี้ยปรับนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา เจ้าหนี้ย่อมเรียกเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคหนึ่ง แต่ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายได้เท่านั้น ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคสอง เมื่อศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการที่โจทก์ต้องซื้อต้นพันธุ์ยางพาราจากผู้อื่นในราคาที่สูงขึ้น เป็นเงิน 1,988,595 บาท อันเป็นค่าเสียหายยิ่งกว่าเบี้ยปรับแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนอีกได้
จำเลยทำบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเดิมยอมรับว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและยินยอมชดเชยค่าเสียหายให้แก่โจทก์ด้วยการส่งมอบต้นพันธุ์ยางพาราเพิ่มอีกจำนวน 20,000 ต้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อให้จำเลยรับผิดสัญญาเดิม มิใช่ให้รับผิดตามบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเดิม โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยรับผิดในต้นพันธุ์ยางพาราจำนวน 20,000 ต้น เพราะต้นพันธุ์ยางพาราดังกล่าวเป็นเพียงค่าเสียหายที่จำเลยตกลงว่าจะชดเชยให้แก่โจทก์ ไม่ใช่ต้นพันธุ์ยางพาราที่จำเลยจะต้องส่งมอบตามสัญญาเดิม
เบี้ยปรับนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา เจ้าหนี้ย่อมเรียกเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคหนึ่ง แต่ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายได้เท่านั้น ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคสอง เมื่อศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการที่โจทก์ต้องซื้อต้นพันธุ์ยางพาราจากผู้อื่นในราคาที่สูงขึ้น เป็นเงิน 1,988,595 บาท อันเป็นค่าเสียหายยิ่งกว่าเบี้ยปรับแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13026/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินโดยมิชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 บัญญัติขึ้นเพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองที่ดินในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ ฯลฯ มาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯ
ในวันที่โจทก์ไปรับต้นฉบับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) เจ้าพนักงานที่ดินได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า ที่ดินดังกล่าวไม่สามารถโอนแก่บุคคลอื่นได้นอกจากทางมรดก เมื่อจำเลยและสามีเสนอขอซื้อที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ในราคา 720,000 บาท โจทก์ได้แจ้งแก่จำเลยแล้วว่า ที่ดินสองแปลงที่มีหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) ถูก ม. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ยึดไว้ หากจำเลยจะซื้อที่ดินให้นำเงินไปชำระหนี้ส่วนหนึ่งด้วยเป็นเงิน 500,000 บาท เมื่อจำเลยได้นำเงินไปชำระหนี้ดังกล่าวและได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) คืนจาก ม. และโจทก์ได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินคืนแล้ว โจทก์ได้พาจำเลยไปยังที่ดินพิพาท ส่งมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ และโจทก์ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปี 2546 โดยโจทก์ไม่เคยคิดที่จะฟ้องจำเลยเนื่องจากได้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว จนโจทก์ได้รับหนังสือเตือนจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยขายสิทธิการทำกินในที่ดินพิพาทและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องกล่าวอ้างว่าตนเองยังเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทและฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ส่วนจำเลยจะได้สิทธิทำกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายต่อไป
ในวันที่โจทก์ไปรับต้นฉบับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) เจ้าพนักงานที่ดินได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า ที่ดินดังกล่าวไม่สามารถโอนแก่บุคคลอื่นได้นอกจากทางมรดก เมื่อจำเลยและสามีเสนอขอซื้อที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ในราคา 720,000 บาท โจทก์ได้แจ้งแก่จำเลยแล้วว่า ที่ดินสองแปลงที่มีหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) ถูก ม. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ยึดไว้ หากจำเลยจะซื้อที่ดินให้นำเงินไปชำระหนี้ส่วนหนึ่งด้วยเป็นเงิน 500,000 บาท เมื่อจำเลยได้นำเงินไปชำระหนี้ดังกล่าวและได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) คืนจาก ม. และโจทก์ได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินคืนแล้ว โจทก์ได้พาจำเลยไปยังที่ดินพิพาท ส่งมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ และโจทก์ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปี 2546 โดยโจทก์ไม่เคยคิดที่จะฟ้องจำเลยเนื่องจากได้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว จนโจทก์ได้รับหนังสือเตือนจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยขายสิทธิการทำกินในที่ดินพิพาทและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องกล่าวอ้างว่าตนเองยังเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทและฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ส่วนจำเลยจะได้สิทธิทำกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12500/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีหลักฐานข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นธรรม การคำนวณค่าเสียหายแบบหยาบๆ ใช้ไม่ได้
การประเมินความเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาติควรจะต้องกระทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรกก่อนการประเมินต้องเก็บข้อมูลและประเมินความเสียหายเบื้องต้น และขั้นตอนการประเมิน คือกระบวนการประเมินเพื่อกำหนดจำนวนมูลค่าความเสียหาย ซึ่งต้องใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ตามทางนำสืบของโจทก์คงมีแต่คำเบิกความของนาย ก. ลอย ๆ เท่านั้นว่า นาย ก. เป็นผู้เข้าไปตรวจสอบความเสียหายของที่ดินที่เกิดเหตุ โดยไม่ปรากฏสภาพที่ดินใกล้เคียงว่ามีความสมบูรณ์เพียงใดและไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นรายละเอียดของการตรวจสอบว่ามีการเก็บข้อมูลและการประเมินความเสียหายในเบื้องต้นอย่างไร ในเรื่องนี้แม้นาย ก. เบิกความว่า รูปแบบการคำนวณค่าเสียหายของโจทก์ใช้มาตั้งแต่ปี 2544 จนปัจจุบันและใช้เหมือนกันทั่วประเทศก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหลังจากการทำลายไม้จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทั้งไม่ได้ความว่ามีการทดลองใช้แบบจำลองดังกล่าวเพื่อทดสอบความแม่นยำว่าอยู่ในระดับใดก่อนใช้ ในความเป็นจริงความเปลี่ยนแปลงทางทรัพยากรธรรมชาติส่วนต่างๆ ย่อมมีปัจจัยหลายอย่างอันเป็นตัวแปรที่กระทบต่อผลการประเมินได้ ผลการประเมินที่ออกมาถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่เพียงใดจึงไม่อาจยืนยันได้แน่นอน แม้แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมบางประการหลังการทำลายไม้ดังกล่าวอาจมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการบ้าง แต่ก็เห็นได้ว่ารูปแบบการคำนวณค่าเสียหายของโจทก์สำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจากการทำลายป่าไม้ที่โจทก์นำมาใช้เป็นเครื่องมือและวิธีการคำนวณแบบหยาบ ๆ จะใช้เป็นสูตรสำเร็จในการคำนวณค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจากการทำลายป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 แก่ผู้กระทำผิดทุกรายซึ่งเหตุเกิดต่างพื้นที่กันย่อมไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12269/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการทำบัตรประชาชนปลอม แม้ไม่มีส่วนร่วมโดยตรง ศาลลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
จำเลยที่ 2 รู้อยู่ก่อนแล้วว่า ฉ. จะไปทำบัตรประจำตัวประชาชนในชื่อของ ก. การที่จำเลยที่ 2 ขอร้องให้จำเลยที่ 1 ช่วยเป็นผู้รับรองเป็นเหตุให้ ฉ. สามารถทำบัตรประจำตัวประชาชนได้สำเร็จ ถือเป็นการให้ความช่วยเหลือ ฉ. ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานสนับสนุน ฉ. ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวได้เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการ ไม่ได้เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12222/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใช้เอกสารราชการปลอมข่มขู่เพื่อเอาทรัพย์สินเป็นความผิดฐานกรรโชกด้วย
จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องโดยผู้เสียหายว่าจ้างให้จำเลยมาช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ให้แก่ ณ. แต่จำเลยทำผิดหน้าที่โดยฉกฉวยโอกาสนำสำเนาหมายจับปลอมมาใช้แสดงต่อ ณ. ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่า ณ. จะถูกจับกุมดำเนินคดีตามสำเนาหมายจับปลอมดังกล่าว และผู้เสียหายยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยไป แม้จำเลยจะไม่ได้แสดงการขู่เข็ญด้วยตัวของจำเลยเอง แต่การกระทำของจำเลยที่นำสำเนาหมายจับปลอมมาใช้ประกอบการขู่เข็ญ ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพของ ณ. บุตรสาวผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานกรรโชกแล้ว และเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12218/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร้องอาญา: การที่คำฟ้องระบุความผิดไม่ชัดเจน ทำให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินเลยขอบเขตที่ฟ้อง
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนของที่ดินพิพาทกับบริษัท ท. ผู้จะซื้อ โดยจำเลยทั้งสองปลอมลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้มอบอำนาจ นำตราประทับปลอมนำมาประทับในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยาน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวอ้างแก่บริษัท ท. ทำให้โจทก์เสียหายโดยมิได้ระบุว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวเป็นเอกสารสิทธิ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 265 มาด้วยก็ตาม ก็เป็นการระบุเกินมาจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในตอนต้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 คงเป็นความผิดตามมาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12218/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องคดีอาญา: การระบุความผิดในคำบรรยายฟ้องมีผลต่อการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนของที่ดินพิพาทกับบริษัท ท. ผู้จะซื้อ โดยจำเลยทั้งสองปลอมลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้มอบอำนาจ ทำตราประทับปลอมนำมาประทับในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยาน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวอ้างแก่บริษัท ท. ทำให้โจทก์เสียหายโดยมิได้ระบุว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวเป็นเอกสารสิทธิ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 265 มาด้วยก็ตาม ก็เป็นการระบุเกินมาจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในตอนต้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 คงเป็นความผิดตามมาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225