คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิศร์ สวัสดิทัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีและการขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 กรณีศาลไม่รับฟ้องแย้ง
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล หรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด" มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 525/2553 มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: ผลของการไม่รับฟ้องแย้งและการขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2553 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันทำละเมิด โจทก์จึงต้องฟ้องคดีอย่างช้าภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 โจทก์ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องแย้งในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 ภายในกำหนดอายุความ ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวรับฟ้องแย้งของโจทก์ แต่ต่อมาวันที่ 23 มิถุนายน 2554 ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับฟ้องแย้งโดยเห็นว่าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม แม้ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว จะสั่งไม่รับฟ้องแย้งโดยมิได้สั่งให้จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ฟ้องเป็นคดีต่างหาก แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีผลเป็นการให้สิทธิแก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คำสั่งดังกล่าว ถึงที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนนับแต่วันทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ซึ่งหมายความว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ดังนั้นอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง จึงสิ้นสุดลงอย่างช้าในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 เมื่อนับอายุความนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ถึงวันอายุความสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 คงเหลือกำหนดอายุความเพียง 9 วัน ซึ่งน้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุด จึงต้องขยายอายุความให้อีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 สิงหาคม 2554 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด
โจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง และชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นปัญหาอื่นต่อไป แต่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9742/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเช็ค) ในคดีแพ่ง การพิสูจน์หนี้และการชำระหนี้
ตามบัญชีระบุพยานของจำเลยทั้งสองฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 อันดับที่ 5 และ 6 ได้ระบุถึงพยานเอกสารที่จำเลยทั้งสองอ้างเป็นพยานต่อศาล คือรายการยอดซื้อสินค้าและยอดชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ทั้งหมด ตลอดจนสำเนาภาพถ่ายเช็คที่โจทก์ได้นำเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งหมดและได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ฉบับลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 อันดับที่ 2 ระบุเอกสารที่อ้างเป็นยอดซื้อสินค้าและยอดชำระราคาสินค้าของบริษัทสปริงคูล จำกัด (จำเลยที่ 1) ให้กับโจทก์ 1 แฟ้ม ทั้งแนบสำเนาเช็คซึ่งเป็นหลักฐานการชำระหนี้ค่าสินค้า (ที่ตรวจพบปัจจุบัน) รวม 13 ฉบับ ท้ายคำให้การ แสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองได้ยื่นบัญชีระบุพยานและพยายามรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่จะอ้างเป็นพยานต่อศาลเท่าที่ทำได้เพื่อให้โจทก์ได้มีโอกาสตรวจสอบในเบื้องต้นเท่าที่มี จึงพอแปลได้ว่าเป็นการอ้างเหตุขัดข้องในการส่งเอกสารให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจสอบ เมื่อพิเคราะห์จากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า เอกสารทั้งหมดดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญในประเด็นแห่งคดีที่จะนำมาพิสูจน์ชี้ขาดผลแห่งคดีได้ และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
แม้เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน โจทก์ก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการนำสืบว่าไม่มีต้นฉบับ ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับสำเนาเอกสารว่าถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9742/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ศาลพิจารณาจากใบเสร็จและใบส่งของเพื่อระบุหนี้ที่ถูกชำระ
ตามบัญชีระบุพยานของจำเลยทั้งสอง ได้ระบุถึงพยานเอกสารที่จำเลยทั้งสองอ้างเป็นพยานต่อศาล แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ยื่นบัญชีระบุพยานและพยายามรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่จะอ้างเป็นพยานต่อศาลเท่าที่ทำได้เพื่อให้โจทก์ได้มีโอกาสตรวจสอบในเบื้องต้นเท่าที่มี จึงพอแปลได้ว่าเป็นการอ้างเหตุขัดข้องในการส่งเอกสารให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจสอบ เมื่อพิเคราะห์จากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เอกสารทั้งหมดดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญในประเด็นแห่งคดีที่จะนำมาพิสูจน์ชี้ขาดผลแห่งคดีได้ และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) แม้เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน โจทก์ก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการนำสืบว่าไม่มีต้นฉบับถือได้ว่าโจทก์ยอมรับสำเนาเอกสารถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93 (4)
นอกจากจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ราคาสินค้าตามฟ้องแล้วยังมีหนี้ราคาสินค้าเก่าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์อีกเป็นกรณีมีมูลหนี้ที่ค้างชำระหลายราย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 บัญญัติว่า "ถ้าลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย และถ้าการที่ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้หมดทุกรายไซร้ เมื่อทำการชำระหนี้ ลูกหนี้ระบุว่าชำระหนี้สินรายใด ก็ให้หนี้สินรายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ถ้าลูกหนี้ไม่ระบุ ท่านว่าหนี้สินรายใดถึงกำหนด ก็ให้รายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดนั้น...ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่ตกหนักแก่ลูกหนี้เท่าๆ กัน ให้หนี้สินรายเก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน..." จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่จะระบุว่าชำระหนี้รายใดรายหนึ่งก็ได้หรือไม่ระบุก็ได้ หากระบุไว้ก็ต้องชำระหนี้ที่ระบุไว้ตามความประสงค์ของลูกหนี้ หากไม่ระบุไว้ ถ้าหนี้หลายรายถึงกำหนดชำระแล้ว ก็ให้หนี้สินรายเก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน สำหรับคดีนี้ มีเช็คจำนวน 31 ฉบับ ที่มีจำนวนเงินตามเช็คเท่ากับราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากโจทก์ตามใบเสร็จรับเงินและใบส่งของ ซึ่งตรงกับสินค้าที่ซื้อตามคำฟ้อง แม้การออกเช็คชำระหนี้ดังกล่าวจะไม่ระบุว่าเป็นการชำระหนี้ราคาสินค้าที่ซื้อจากโจทก์ตามฟ้อง แต่การออกเช็คมีจำนวนเงินตรงกับจำนวนเงินในใบเสร็จและใบส่งของที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าจากโจทก์ตามฟ้องดังกล่าว ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็ค 31 ฉบับดังกล่าวเพื่อชำระค่าสินค้าที่ซื้อจากโจทก์ตามฟ้อง อันเป็นการระบุโดยปริยายไว้แล้วว่าให้ชำระหนี้รายใดตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 328 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องทั้งสามสิบเอ็ดรายการดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ ถือเป็นความผิดอาญา
การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ป.พ.พ. มาตรา 1145 และมาตรา 1146 กำหนดว่าจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการลงมติพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการประชุมใหญ่โดยมีคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องจัดให้ไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ และเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องนำเรื่องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก กรณีที่จำต้องใช้เอกสารยืนยันภูมิลำเนาคือ สำนักงานแห่งใหญ่ของนิติบุคคลเป็นพยานหลักฐานที่มีการรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งกิจการของบริษัท บ. ก็มิได้เป็นเพียงนิติบุคคลที่จดทะเบียนเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวข้องแต่เฉพาะบุคคลในเครือญาติของจำเลย หากแต่ต้องติดต่อกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นด้วย จำเลยจะอ้างความเคยชิน และความไว้วางใจระหว่างเครือญาติของจำเลยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
การที่จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท บ. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยอ้างว่าจำเลยได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรีโดยไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลเท็จต่อนายทะเบียนบริษัทเพื่อเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ และที่ตั้งสำนักงาน ถือเป็นความผิดอาญา
การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ป.พ.พ. มาตรา 1145 และมาตรา 1146 กำหนดว่า จะกระทำได้ต่อเมื่อมีการลงมติพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการประชุมใหญ่โดยมีคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องจัดให้ไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ และเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องนำเรื่องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก กรณีที่จำต้องใช้เอกสารยืนยันภูมิลำเนาคือสำนักงานแห่งใหญ่ของนิติบุคคลเป็นพยานหลักฐานที่มีการรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นที่เชื่อถือได้ในทางกฎหมาย ทั้งกิจการของบริษัท ร. ก็มิได้เป็นเพียงนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวข้องแต่เฉพาะบุคคลในวงศ์เครือญาติของจำเลย หากแต่ต้องติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นด้วย จำเลยจะอ้างความเคยชิน และความไว้วางใจระหว่างเครือญาติของจำเลยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้ อีกทั้งการที่จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท ร. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครโดยอ้างว่าจำเลยได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2552 โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 2 และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท จากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรีโดยไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 จำเลยจึงอ้างว่าไม่มีเจตนากระทำความผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุลูกหนี้ร่วม และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำต่อโจทก์นั้นไม่มีข้อตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลล่างทั้งสอง ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดสำเนาเอกสารสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เห็นว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต
ป.วิ.พ. มาตรา 54 วรรคแรก บัญญัติว่า "คู่ความก็ดี หรือพยานในส่วนที่เกี่ยวกับคำให้การของตนในคดีนั้นก็ดี หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบหรือมีเหตุผลอันสมควรก็ดี อาจร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใดในระหว่างหรือภายหลังการพิจารณาเพื่อตรวจเอกสารทั้งหมดหรือแต่บางฉบับในสำนวนเรื่องนั้น หรือขอคัดสำเนาหรือขอให้จ่าศาลคัดสำเนาและรับรอง ฯลฯ" สำหรับคดีนี้แม้คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้านทั้งยี่สิบห้าและสั่งให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่และสมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ เขตเลือกตั้งที่ 1 ถึงที่ 4 ใหม่แทนผู้คัดค้านทั้งยี่สิบห้า อันเป็นการยื่นคำร้องตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 และมาตรา 239 ประกอบ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 97 คู่ความในคดีนี้จึงได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งกับผู้คัดค้านทั้งยี่สิบห้าก็ตาม แต่ น. มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ เขตเลือกตั้งที่ 4 หมายเลข 14 ซึ่งได้ยื่นคำร้องว่า การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่และสมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ เขตเลือกตั้งที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากผู้คัดค้านทั้งยี่สิบห้ากระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ซึ่งมาตรา 135 บัญญัติให้ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. ถือว่า น. เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบในคดี หรือมีเหตุสมควรที่จะให้ขอคัดสำเนาเอกสารในสำนวนคดีรวมตลอดถึงวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องในคดีทั้งหมดตามที่ร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของรถและโรงเรียนเอกชน กรณีรถโดยสารรับ-ส่งนักเรียนก่อเหตุ
รถโดยสารคันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถและเป็นผู้ประกอบการขนส่ง โดยรถคันดังกล่าวนำมาใช้สำหรับการรับ - ส่งนักเรียนของโรงเรียน ส. มาตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2547 ทั้งกิจการโรงเรียน ส. ก็เป็นกิจการของครอบครัวจำเลยที่ 2 ซึ่งทำสืบทอดต่อเนื่องมาจากบิดา แม้ต่อมาจะได้มีกฎหมาย คือ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับและในมาตรา 24 มีข้อบัญญัติว่า เมื่อได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบแล้ว ให้โรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคล แต่ในมาตรา 25 (3) ยังมีข้อบัญญัติว่า เมื่อโรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 24 แล้ว ผู้รับใบอนุญาตยังต้องโอนทรัพย์สินอื่นซึ่งเป็นทุนนอกจากที่ดินให้แก่โรงเรียนในระบบภายในเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด เมื่อรถโดยสารคันเกิดเหตุยังไม่ได้มีการโอนทางทะเบียนเป็นของโรงเรียน ส. การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันเกิดเหตุไปก่อเหตุละเมิด ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ได้มอบหมายหรือมีคำสั่งหรือจ้างวานใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันเกิดเหตุ เพื่อให้สมประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 2 และโรงเรียน ส. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษา
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงเจตนาลวงสมรู้กันฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ แต่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้ตรงประเด็นที่พิพาทในคดีว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทสินสมรสส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 และฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรส จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรสและการโอนขายที่ดินพิพาทยังไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โจทก์จึงมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อันเป็นการวินิจฉัยถูกต้องตรงประเด็นข้อพิพาทแล้ว และไม่ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 2 ในราคาเท่าใดก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ปัญหาว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องและจำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงได้โดยไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเพิกถอนนิติกรรมตามบทบัญญัติมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง และคู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้จึงยุติไป แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 7