คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมจิตร์ ทองศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 941 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17522/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านคำสั่งบังคับคดีซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.ม.144 หากเป็นประเด็นเดิมที่เคยถูกวินิจฉัยแล้ว
คำร้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 18 มกราคม 2553 ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว เป็นการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ดำเนินการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 4692 ของจำเลยเช่นเดียวกับคำร้องนี้ แม้จะเป็นการคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีคนละคราวกัน แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแปลงเดียวกันโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าทรัพย์จำนองไม่เพียงพอชำระหนี้โจทก์ ซึ่งคำร้องฉบับหลังโจทก์อ้างเพียงว่ามีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นอันมีผลสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่รีบดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนอง โดยความรับผิดในส่วนดอกเบี้ยของจำเลยนี้มีมาแต่เดิมและมีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 มกราคม 2553 คำร้องของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16477/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประมูลซื้อที่ดินแล้วไม่ชำระราคาต้องรับผิดในส่วนต่างของราคาเมื่อมีการขายทอดตลาดซ้ำ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516
จำเลยเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ละเลยไม่ใช้ราคาส่วนที่เหลือ ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีเอาที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดซ้ำ ได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาด จำเลยต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องรับผิดเนื่องจากโจทก์และ ช. สมคบกันให้โจทก์ประมูลซื้อที่ดินพิพาทนั้น จำเลยมีเพียงตนเองเบิกความลอย ๆ และ ช. ก็มิได้เบิกความถึงข้อที่จำเลยอ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์และ ช. สมคบกันให้โจทก์ประมูลซื้อที่ดินพิพาทในราคาต่ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15948/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาจ้างแปรสภาพ: ศาลลดค่าปรับเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างละเลยไม่บำบัดทุกข์
สัญญาจ้างแปรสภาพมันสำปะหลัง ข้อ 11 เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกำหนดเวลาการส่งมอบมันสำปะหลังเส้นตามที่โจทก์จะกำหนดให้ส่งมอบในแต่ละคราว หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบได้ทันตามเวลาที่โจทก์กำหนดหรือส่งมอบไม่ครบจำนวน และจำเลยที่ 1 มิได้บอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าปรับแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบมันสำปะหลังเส้นแก่โจทก์และไม่บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญา แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อล่วงเลยเกินกว่า 7 ปี จะถือว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ เพราะตามสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน จึงจะมีสิทธิเรียกค่าปรับได้ แต่ที่โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาภายในเวลาอันสมควรแต่ปล่อยปละละเลยจนค่าปรับมีจำนวนสูงเกินสมควร ถือว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14541-14551/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าจ้าง ค่าธรรมเนียมธนาคาร และการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
คำฟ้องบรรยายว่านับแต่เริ่มทำงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2553 จนครบ 1 ปี จำเลยไม่จัดให้โจทก์แต่ละคนหยุดพักผ่อนประจำปีโดยให้ทำงานแทน จึงขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น พอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งเกิดมีขึ้นในปี 2554 รวมมาด้วย ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์แต่ละคนที่เป็นลูกจ้างรายวันแม้ไม่มีการเลิกจ้างแต่เป็นการลาออก ในอัตราไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของอัตราค่าจ้างในวันทำงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 62 และมาตรา 64 แต่จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์แต่ละคนเท่ากับอัตราค่าจ้างรายวัน จึงต้องจ่ายส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์แต่ละคน
นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้างของลูกจ้างเพราะเหตุขาดงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องคืนค่าจ้างที่หักไว้แก่โจทก์แต่ละคน ส่วนดอกเบี้ยของค่าจ้างที่หักไว้นั้นเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งโจทก์แต่ละคนมีคำขอท้ายคำฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง แม้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง และคู่ความไม่อุทธรณ์ แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำเลยเสียดอกเบี้ยของค่าจ้างที่หักไว้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
เมื่อนายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 55 การที่จำเลยหักค่าจ้างบางส่วนของโจทก์แต่ละคนไว้ทุกเดือนแล้วนำไปชำระค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารในการโอนค่าจ้างเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์แต่ละคน จึงไม่ใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการอันเป็นประโยชน์แก่เป็นลูกจ้างแต่ฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง (3) จำเลยต้องคืนค่าจ้างที่หักไว้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แก่โจทก์แต่ละคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11108/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแจ้งความเท็จ และความรับผิดในละเมิดต่อชื่อเสียง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดโดยแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่า โจทก์กับพวกร่วมกันปลอมเอกสารราชการหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. และใช้เอกสารราชการปลอม อันเป็นความผิดและมีโทษตาม ป.อ. มาตรา 172 173 174 วรรคสอง และ 181 (1) ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ถอนคำร้องทุกข์คดีอาญา ถือว่าความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จยังไม่เกิดขึ้น จึงต้องใช้อายุความละเมิดทั่วไปในทางแพ่ง 1 ปี โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้เหตุแห่งการทำละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความนั้น ฟังไม่ขึ้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น นำข้อความอันเป็นเท็จแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าได้มีการกระทำความผิดให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม และจำเลยได้กล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาว่าโจทก์กระทำผิดวินัย โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ มีผลกระทบถึงความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้จำเลยจะถอนคำร้องทุกข์ และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องโจทก์ ก็ไม่มีผลให้ความเสียหายของโจทก์ที่มีอยู่แล้วหมดสิ้นไปแต่อย่างใด จำเลยจึงคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8654/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขาดอายุความ, สิทธิทายาท, สัญญาซื้อขาย, สินสมรส, ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอด
คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอดเองในฐานะเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งมาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ร้องสอดที่เข้าเป็นคู่ความในคดีมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ ก็หาเป็นการตัดสิทธิของผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดีของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5274/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด: ต้องใช้มติที่ประชุมใหญ่ ไม่ใช่ฟ้องศาลโดยตรง
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35/3 เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยการพ้นตำแหน่งของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเมื่อเข้าเหตุในหลายกรณี มิใช่เป็นบทกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลในการถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไปแล้วด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้บัญญัติไว้ทำให้ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการได้อีกต่อไป จึงขอให้บังคับห้ามมิให้จำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุด ฟ้องโจทก์จึงมิเกี่ยวด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวในอันที่จะนำมาใช้บังคับแก่คดี
อำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 49 (1) ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ต้องดำเนินการด้วยมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด ซึ่งหากจำเลยจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หรือข้อบังคับประการใด โจทก์และเจ้าของร่วมก็พึงต้องดำเนินการเพื่อให้มีการถอดถอนจำเลยทางมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่บุคคลใดจะมาใช้สิทธิทางศาลได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และเมื่อตามคำฟ้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขอให้บังคับห้ามมิให้จำเลยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้งใหม่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง: การใช้อำนาจตามกฎหมายและหนังสือมอบอำนาจ
ตามมาตรา 235 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์ให้โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งทั้งหมด สอดคล้องกับมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ที่กำหนดให้โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง กำหนดให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทั้งในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง โดยให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. และกฎหมายอื่น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินค่าเสียหายในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนที่ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 10 บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั้งหมด และมาตรา 99 วรรคสอง บัญญัติให้ค่าเสียหายที่ได้รับชดใช้จากผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้ตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และกำหนดหน่วยงานที่จะได้รับจัดสรรเงินในกรณีที่ได้รับชดใช้จากผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดี
of 95