พบผลลัพธ์ทั้งหมด 941 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13963/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแรงงาน การปิดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ และการรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามหนังสือค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิด ในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง แม้โจทก์จะทราบการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดอย่างช้าในวันที่ 25 มกราคม 2554 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 เกินกว่า 1 ปี อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดขาดอายุความดังที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแรงงานยักยอกเงินไประหว่างวันที่ 5 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2553 เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. บ. และ จ. คนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำการต่างๆ แทนโจทก์ไว้ 6 ข้อ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนกระทำกิจการแยกกันได้ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากร ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ 90 บาท แต่การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 113 และมาตรา 114 เพียงให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าในชั้นสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 60 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาท พร้อมขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว แม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียเงินเพิ่มอากร ศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. บ. และ จ. คนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำการต่างๆ แทนโจทก์ไว้ 6 ข้อ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนกระทำกิจการแยกกันได้ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากร ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ 90 บาท แต่การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 113 และมาตรา 114 เพียงให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าในชั้นสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 60 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาท พร้อมขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว แม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียเงินเพิ่มอากร ศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13730/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าคอมมิสชันพนักงานขายถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ต้องนำมารวมคำนวณเงินสมทบ
เมื่อค่าคอมมิสชันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขายตามหลักเกณฑ์การจ่ายตามประกาศ อันเป็นเงินที่พนักงานขายได้รับจากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ซึ่งคิดคำนวณจากยอดสินค้าที่จำหน่ายได้ในแต่ละเดือน ซึ่งค่าคอมมิสชันนี้พนักงานขายจะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่สามารถขายได้ จึงเห็นได้ว่าค่าคอมมิสชันเป็นเงินส่วนหนึ่งที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขายเป็นการตอบแทนการทำงานโดยตรงในวันและเวลาทำงานปกติโดยคิดตามผลงานที่ทำได้ ดังนั้น ค่าคอมมิสชันจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 โจทก์จึงต้องนำไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานขายมาเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13550/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายสถานประกอบกิจการและการบอกเลิกสัญญาจ้างงานภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 หมายถึง ผู้ประกอบกิจการย้ายสถานที่ผลิตสินค้า ขายสินค้าหรือสถานที่ให้บริการซึ่งมีอยู่เดิมจากแห่งหนึ่งไปยังสถานที่แห่งใหม่ เดิมปี 2536 โจทก์ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์มีสำนักงานเทพลีลาเป็นสถานที่ประกอบกิจการแห่งเดียว ต่อมาปี 2549 โจทก์เปิดสถานประกอบกิจการอีกแห่งหนึ่งแล้วจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสถานประกอบกิจการแห่งใหม่เป็นสำนักงานใหญ่และสำนักงานเดิมเป็นสำนักงานสาขา โจทก์ทยอยปิดสำนักงานเดิมเป็นแผนก ๆ โดยย้ายลูกจ้างไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ ครั้งสุดท้ายวันที่ 30 เมษายน 2552 โจทก์ย้ายลูกจ้างในแผนกที่เหลืออยู่ที่สำนักงานเดิมทั้งหมด ถือว่าเป็นการย้ายสถานประกอบกิจการตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว
เมื่อโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ทำการสำนักงานใหญ่แล้วทยอยปิดส่วนงานที่สำนักงานเดิมเป็นแผนก ๆ ไปโดยโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ทันที และในที่สุดโจทก์ประกาศปิดการดำเนินกิจการที่สำนักงานเดิมอย่างถาวร แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการย้ายสถานประกอบกิจการจากสำนักงานเดิมไปยังสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียวตั้งแต่ปี 2549 เพียงแต่ทยอยย้ายแผนกงานและลูกจ้างเท่านั้นไม่ได้ย้ายไปทั้งหมดในทันที การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้สำนักงานเดิมเป็นสาขาเป็นวิธีการหรือกระบวนการของการย้ายสถานประกอบกิจการของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้เวลาถึง 2 ปีเศษ ก็หาใช่โจทก์ย้ายสถานประกอบกิจการไปยังสถานที่อื่นซึ่งโจทก์มีอยู่ก่อนแล้วไม่
เมื่อโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ทำการสำนักงานใหญ่แล้วทยอยปิดส่วนงานที่สำนักงานเดิมเป็นแผนก ๆ ไปโดยโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ทันที และในที่สุดโจทก์ประกาศปิดการดำเนินกิจการที่สำนักงานเดิมอย่างถาวร แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการย้ายสถานประกอบกิจการจากสำนักงานเดิมไปยังสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียวตั้งแต่ปี 2549 เพียงแต่ทยอยย้ายแผนกงานและลูกจ้างเท่านั้นไม่ได้ย้ายไปทั้งหมดในทันที การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้สำนักงานเดิมเป็นสาขาเป็นวิธีการหรือกระบวนการของการย้ายสถานประกอบกิจการของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้เวลาถึง 2 ปีเศษ ก็หาใช่โจทก์ย้ายสถานประกอบกิจการไปยังสถานที่อื่นซึ่งโจทก์มีอยู่ก่อนแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13293/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง, ดุลพินิจศาล, ฟ้องไม่สมบูรณ์, การต่อสู้คดี
โจทก์ขอถอนฟ้องคดีภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยื่นคำให้การแล้วซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง บัญญัติว่า "...ศาลจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน..." ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องอ้างว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 1 และที่ 5 จะคัดค้านการถอนฟ้องเหตุตามคำร้องโจทก์ดังกล่าว ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และศาลไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างตามคำร้องขอถอนฟ้องว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาเป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ดังนี้ การถอนฟ้องของโจทก์เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งห้าและทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ พ. เป็นคดีใหม่ จำเลยทั้งห้าก็ยังมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องคดีของโจทก์ไม่สุจริต ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 เสียเปรียบในการต่อสู้คดีตามจำเลยที่ 1 และที่ 5 คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13165/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแรงงาน: การส่งหมายเรียกโดยชอบ และกรอบเวลาการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
กรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรต้องบังคับไปตามนั้น จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้เพราะ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น
ประเด็นแห่งคดีนี้ในการขอพิจารณาคดีใหม่คือจำเลยมีความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์หรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้วมีผลทางกฎหมายว่าจำเลยรู้ว่าตนถูกฟ้องคดี เท่ากับศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าถูกฟ้องคดีแล้วนั่นเอง
เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดพร้อมส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบ ถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามมาตรา 41 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เกินระยะเวลาดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ประเด็นแห่งคดีนี้ในการขอพิจารณาคดีใหม่คือจำเลยมีความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์หรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้วมีผลทางกฎหมายว่าจำเลยรู้ว่าตนถูกฟ้องคดี เท่ากับศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าถูกฟ้องคดีแล้วนั่นเอง
เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดพร้อมส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบ ถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามมาตรา 41 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เกินระยะเวลาดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12877-12878/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทะเลาะวิวาทระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ศาลพิจารณาความร้ายแรงของเหตุการณ์ประกอบปัจจัยอื่น
ลูกจ้างเดินทางไปร่วมกิจกรรมการเที่ยวประจำปีที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดขึ้น จำเลยออกประกาศ "ห้ามลูกจ้างพูดจาที่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทหรือก่อการทะเลาะวิวาทระหว่างการเดินทาง โรงแรมที่พัก รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด มิฉะนั้นจะลงโทษโดยเลิกจ้างและไม่จ่ายค่าชดเชย" อันเป็นคำสั่งกำหนดการปฏิบัติตัวของลูกจ้างที่เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างก่อความเสียหายหรือความเสื่อมเสียแก่จำเลย ถือว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของลูกจ้างจะเป็นความผิดกรณีร้ายแรงหรือไม่ จะต้องวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกันหลายประการ อาทิ ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง ลักษณะและพฤติการณ์การกระทำความผิดของลูกจ้าง ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดว่ามีมากน้อยเพียงใด เมื่อเกิดเหตุขึ้นบนรถบัสระหว่างเดินทางไปทำกิจกรรมการเที่ยวประจำปี ซึ่งแม้จะมีพนักงานของบริษัทที่รับจ้างจัดกิจกรรมการเที่ยวอยู่ด้วย แต่การที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานระดับทั่วไปทะเลาะวิวาทกันซึ่งแม้การชกต่อยพลาดไปถูกเพื่อนพนักงานคนอื่น แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายรุนแรง และโจทก์ทั้งสองหยุดทะเลาะวิวาทเมื่อถูกห้ามปราม กรณียังถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นความผิดร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่จำต้องตักเตือนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12436/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุที่อาจชนะคดี มิได้แค่เหตุขาดนัด
ศาลชั้นต้นไต่สวนและวินิจฉัยคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของโจทก์ว่า คำขอของโจทก์บรรยายเพียงเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา แต่มิได้บรรยายข้อคัดค้านว่า หากศาลพิจารณาคดีใหม่แล้วโจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดี ถือว่าคำขอพิจารณาคดีใหม่ของโจทก์มิได้บรรยายให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 จัตวา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ดังนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีคำพิพากษาเป็นประการใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอีกต่อไป ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246, 142 (5) ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ย่อมไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12352/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, การไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน, และการถอนฟ้อง: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
การระบุวัน เดือน ปีในหนังสือมอบอำนาจเป็นการมุ่งหมายให้ทราบว่ามีการมอบอำนาจเมื่อใดเพื่อแสดงว่าขณะตัวแทนทำการนั้นตัวแทนมีอำนาจหรือไม่
แม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ส. ผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์โดยแนบหนังสือมอบอำนาจมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยโดยให้มีอำนาจถอนฟ้องและประนีประนอมยอมความ จึงเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวว่าโจทก์มอบอำนาจก่อนหรืออย่างน้อยในวันที่ ส. ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางนั้นเอง ส. จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่โจทก์ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ การที่ ส. แถลงขอถอนฟ้องซึ่งกระทำได้ตามหนังสือมอบอำนาจและศาลแรงงานกลางอนุญาตจึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางที่ระบุว่า "ไกล่เกลี่ยแล้ว" หมายถึง ไกล่เกลี่ยโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาคือผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 17
การไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง มีวัตถุประสงค์หลักให้คดีระงับโดยนายจ้างและลูกจ้างมีความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์กันต่อไป โดยการตกลงหรือประนีประนอมยอมความนั้นต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย แต่หากนายจ้างกับลูกจ้างไม่สมัครใจที่จะให้มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างลูกจ้างกันต่อไป บทบัญญัตินี้ก็ไม่ได้ห้ามมิให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันเป็นอย่างอื่น การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยแล้วผู้รับมอบอำนาจโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจจำเลยตกลงกันโดยฝ่ายจำเลยตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์และโจทก์ถอนฟ้องซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย การไกล่เกลี่ยของศาลแรงงานกลางจึงไม่ใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ในชั้นไกล่เกลี่ยศาลแรงงานกลางยังไม่ได้รับฟังข้อเท็จจริงอันเป็นฐานที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่เพียงใด เงินที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์ระบุชัดเจนว่าเป็น "เงินช่วยเหลือ" ไม่ใช่ค่าชดเชย การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยจึงไม่ใช่การไกล่เกลี่ยให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับเงินต่ำกว่าค่าชดเชยตามกฎหมาย
แม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ส. ผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์โดยแนบหนังสือมอบอำนาจมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยโดยให้มีอำนาจถอนฟ้องและประนีประนอมยอมความ จึงเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวว่าโจทก์มอบอำนาจก่อนหรืออย่างน้อยในวันที่ ส. ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางนั้นเอง ส. จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่โจทก์ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ การที่ ส. แถลงขอถอนฟ้องซึ่งกระทำได้ตามหนังสือมอบอำนาจและศาลแรงงานกลางอนุญาตจึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางที่ระบุว่า "ไกล่เกลี่ยแล้ว" หมายถึง ไกล่เกลี่ยโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาคือผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 17
การไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง มีวัตถุประสงค์หลักให้คดีระงับโดยนายจ้างและลูกจ้างมีความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์กันต่อไป โดยการตกลงหรือประนีประนอมยอมความนั้นต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย แต่หากนายจ้างกับลูกจ้างไม่สมัครใจที่จะให้มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างลูกจ้างกันต่อไป บทบัญญัตินี้ก็ไม่ได้ห้ามมิให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันเป็นอย่างอื่น การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยแล้วผู้รับมอบอำนาจโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจจำเลยตกลงกันโดยฝ่ายจำเลยตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์และโจทก์ถอนฟ้องซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย การไกล่เกลี่ยของศาลแรงงานกลางจึงไม่ใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ในชั้นไกล่เกลี่ยศาลแรงงานกลางยังไม่ได้รับฟังข้อเท็จจริงอันเป็นฐานที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่เพียงใด เงินที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์ระบุชัดเจนว่าเป็น "เงินช่วยเหลือ" ไม่ใช่ค่าชดเชย การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยจึงไม่ใช่การไกล่เกลี่ยให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับเงินต่ำกว่าค่าชดเชยตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12342/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินประกันการทำงานนายจ้างต้องพิสูจน์ความเสียหายก่อน จึงจะหักเงินประกันได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง หมายความว่าในกรณีนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันที่เป็นเงินและลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างจึงมีสิทธินำเงินดังกล่าวไปชดใช้ให้แก่นายจ้างตามเงื่อนไขของการเรียกหรือรับเงินประกัน หรือตามข้อตกลง หรือได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจะมีสิทธิหักเงินประกันหรือนำเงินประกันไปชดใช้ค่าเสียหายได้นายจ้างต้องได้รับความเสียหายก่อน หากนายจ้างไม่ได้รับความเสียหายก็ไม่มีสิทธิหักเงินประกันหรือนำเงินประกันไปชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างจะอาศัยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน คำสั่ง หรือประกาศของนายจ้างมาหักเงินประกันการทำงานหรือประกันความเสียหายของลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้
โจทก์จึงอาศัยประกาศการหักเงินหรือแบบพิมพ์รายงานสินค้าขาด - เกินจากการตรวจนับสต็อกที่จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดกรณีสินค้าเกินสต๊อกมาหักเงินประกันของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายไม่ได้
โจทก์จึงอาศัยประกาศการหักเงินหรือแบบพิมพ์รายงานสินค้าขาด - เกินจากการตรวจนับสต็อกที่จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดกรณีสินค้าเกินสต๊อกมาหักเงินประกันของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11225/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีหน้าที่รับผิดชอบในการขนย้ายทรัพย์สินและส่งมอบพื้นที่เช่าหลังสัญญาสิ้นสุด
ว. ทำสัญญาเช่าคูหาอาคารในตลาดสัตว์เลี้ยงกับโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าระงับไปเพราะเหตุสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 564 ว. ย่อมมีหน้าที่ที่ต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวว่าโดยสภาพแล้วย่อมมิใช่เป็นการเฉพาะตัวของ ว. ผู้ตายโดยแท้ หากแต่ถือว่าเป็นสิทธิหน้าที่และความรับผิดอันเป็นกองมรดกของ ว. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. จึงต้องรับไปซึ่งหน้าที่ในอันที่จะต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ ฒ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ก็เป็นทายาทโดยธรรมที่อยู่ในฐานะและมีหน้าที่ในอันที่ต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์เช่นเดียวกันกับจำเลยทั้งสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจาก ว. ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองได้กระทำการใด ๆ เพื่อการขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์อันจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำหน้าที่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. สมบูรณ์แล้ว แต่ ฒ. ไม่ยินยอมหรือขัดขืนไม่ยอมให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองรู้เห็นและร่วมกับ ฒ. ที่จะไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. จึงไม่พ้นความรับผิดในอันที่จะต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารของ ว. ออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์กับต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่า