คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1469

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7978/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนจำนองสินสมรส - สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส - อำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 นำทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองแก่ธนาคารจำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แต่จำเลยที่ 2 กลับรับจำนองไว้ โดยอ้างว่า ว. ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแล้ว ย่อมถือได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำนิติกรรมจำนองโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่ จำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 1469 ซึ่งการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่า และขอแบ่งสินสมรส และศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิ บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิบอกล้างในขณะที่ โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างสัญญา ระหว่างสมรสแล้ว ย่อมทำให้สัญญาดังกล่าวสิ้นความผูกพัน ทำให้ ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม และเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้อง ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง จึงต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่าง สมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นผลแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรส อยู่ขณะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมจำนองสินสมรสโดยไม่สุจริต และผลของการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส
จำเลยที่ 1 นำทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองแก่ธนาคารจำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) แต่จำเลยที่ 2 กลับรับจำนองไว้ โดยอ้างว่า ว. ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแล้ว ย่อมถือได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำนิติกรรมจำนองโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 1469 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่าและขอแบ่งสินสมรส และศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิบอกล้างในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ย่อมทำให้สัญญาดังกล่าวสิ้นความผูกพัน ทำให้ทรัพย์สินกลับเป็นสินสมรสดังเดิม และเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง จึงต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นผลแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสอยู่ขณะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรส: สัญญาตกลงระหว่างคู่สมรส, การบอกล้างสัญญา, และสิทธิของบุคคลภายนอก
ทรัพย์พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินในสมรสและสิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต: การบอกล้างสัญญาและการคุ้มครองสิทธิ
ทรัพย์ พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย และพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์ พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: สัญญาใช้บังคับได้ ไม่ใช่การยกให้
การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในระหว่างสมรส มีผลทำให้ที่ดินตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ซึ่งบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ กรณีมิใช่การยกให้ซึ่งจะถอนคืนการให้ได้ต่อเมื่อมีเหตุเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามมาตรา 1469

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสมรส: โมฆะหากตกลงไม่ยกเลิก
สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้ให้สิทธิสามีหรือภริยาบอกล้างได้ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน จึงเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันไว้ในระหว่างสมรส โดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม และเป็นการป้องกันมิให้ครอบครัวต้องร้าวฉานแตกแยกกันได้ ดังนั้นข้อตกลงที่ว่าจะไม่ยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างสมรสของสามีภริยา จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 (เดิม)
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรส แม้จะตกลงหย่าขาดกันตามประเพณีศาสนาอิสลามและทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์และทรัพย์สินโดยมีเงื่อนไขระบุไว้ด้วยว่าจำเลยยินยอมผูกพันตามสัญญาตลอดไป และจะไม่ยกเลิกสัญญานี้ แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมิได้จดทะเบียนหย่า ก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย สัญญาแบ่งผลประโยชน์และทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาให้ระหว่างสมรส, การบอกล้างโดยชอบ, และการตกทอดของสิทธิสู่ทายาท
การที่จำเลยอ้างอิงพินัยกรรมแนบท้ายคำร้องเพื่อสืบเป็นพยานในชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 จึงรับฟังไม่ได้และกรณีไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือที่จำเลยไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนไป ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่สั่งคำร้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยทำสัญญายกที่ดินตามฟ้องให้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาให้ของโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการที่โจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยได้โอนหุ้นบริษัทบ. รถยนต์ พันธบัตรรัฐบาลและให้เงินสดแก่โจทก์ แล้วโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยเป็นการอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น เป็นเพียงการรับว่าจำเลยเคยให้ทรัพย์สินแก่โจทก์ เป็นการตอบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ฎีกาจำเลยที่ว่า สัญญาให้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางโดยนิติกรรมที่แท้จริงคือสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา จึงมิใช่เรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นภริยาระหว่างสมรสโจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสในเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์มีหนังสือบอกล้างไปถึงจำเลยเป็นการบอกล้างโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว แม้สิทธิบอกล้างจะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่เมื่อมีการบอกล้างโดยชอบก่อนที่โจทก์จะถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไปและย่อมตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ด้วย ทายาทของโจทก์จึงเข้าเป็นคู่ความแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา, สินสมรส, และการบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ต่อมาโจทก์ได้ทำร้ายจำเลยทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันต่อไป จึงไปทำความตกลงกันที่สถานีตำรวจ โดยให้เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกว่า โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันและจะแบ่งทรัพย์สินกันตามบันทึก ซึ่งมีร้อยตำรวจโทส. และจ่าสิบตำรวจ จ. เป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการหย่าและเพื่อให้จำเลยไม่ติดใจเอาความโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยได้รับทรัพย์สินจากโจทก์เป็นการตอบแทน เมื่อมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลใช้เป็นหลักฐานแห่งการหย่าได้ตามมาตรา 1514 วรรคสอง และยังใช้บังคับในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินตามบันทึกนั้นได้ด้วย ข้อตกลงเรื่องการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นข้อตกลงที่แบ่งแยกจากกันมิได้ จึงมิได้เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างเดียวโดยตรง อันจะมีผลทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินที่ว่าโจทก์ตกลงขายรถยนต์ที่โจทก์ใช้อยู่โดยจะแบ่งเงินที่ขายได้ให้แก่โจทก์ 20,000 บาทจำเลยจะจ่ายให้ทันที่ 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะจ่ายเป็นเช็คให้อีก 10,000 บาท มีกำหนด 1 เดือน นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังใช้รถยนต์อยู่มิได้ขายตามข้อตกลง ส่วนจำเลยก็ชำระเงินให้โจทก์ไปเพียง 10,000 บาท ดังนั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดถึงกรณีที่มิได้ขายรถไว้ว่าคู่กรณีตกลงกันอย่างไร จึงต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้ เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะได้เงินจากการขายรถเพียง 20,000 บาท เงินส่วนที่เหลือจากการขายเป็นของจำเลยทั้งหมด เมื่อไม่มีการขายรถ จำเลยจึงควรจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการเกี่ยวกับรถนั้นโดยชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อตกลงจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบรถให้แก่จำเลย บันทึกข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจะใช้บังคับทรัพย์สินอื่นที่มีอยู่ก่อนหรือได้มาหลังข้อตกลงนอกจากที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงนั้นไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนั้นจึงต้องเป็นสินสมรสที่จะต้องนำมาแบ่งครึ่งกั สร้อยคอทองคำและพระเครื่องที่จำเลยซื้อให้แก่โจทก์ระหว่างสมรสเป็นทรัพย์ที่เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากมีการตกลงจะหย่ากัน เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาตามคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำกัดสิทธิทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเป็นโมฆะหรือไม่ และทรัพย์สินที่จำกัดสิทธิถือเป็นมรดกหรือไม่
ศ. กับจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างเป็นสามีภรรยากันว่า ศ. จะไม่นำเอาสินบริคณห์ใด ๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีขึ้นในอนาคตไปจำหน่ายหรือทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและการศึกษาของบุตรอันเกิดจากจำเลย จะไม่เกี่ยวข้องสร้างภาระผูกพัน หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลย สัญญาดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญามีอำนาจกระทำได้ เพียงแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาทั้งการทำสัญญาจำกัดสิทธิบางอย่างในระหว่างกันเองในเรื่องทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของครอบครัวด้วยความสมัครใจและการสละทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสามีภริยาด้วยความสมัครใจ ก็ไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 และเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตาม มาตรา 1336 จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้
ทรัพย์พิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาระหว่าง ศ. กับจำเลย ระบุว่า ศ. จะไม่เข้าเกี่ยวข้องหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่า ศ. ได้สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ศ. ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดและไม่เป็นมรดกของ ศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายจากการทำร้ายร่างกายและการยินยอมให้ถอนเงินร่วม ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาทำร้ายร่างกาย ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์จำเลยตกลงกัน ศาลได้บันทึกข้อตกลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "จำเลยรับว่าได้ทำร้ายร่างกายโจทก์จริง โจทก์ว่าเมื่อจำเลยรับแล้ว ก็ไม่ติดใจจะว่ากล่าวกับจำเลย เงินในบัญชีธนาคารซึ่งใส่ชื่อร่วมกันอยู่ จำเลยจะคืนให้โจทก์และจะให้อีก400,000 บาท โดยจะชำระให้ภายใน 6 เดือนแรก 200,000 บาท ที่เหลือภายใน 6 เดือนหลัง นอกจากข้อตกลงนี้แล้วคู่ความไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกัน โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้านจำหน่ายคดี" ดังนี้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ไม่ติดใจว่ากล่าวกับจำเลยเพราะจำเลยรับว่าได้ทำร้ายโจทก์ ไม่มีเงื่อนไขหรือมีความหมายว่าจำเลยจะให้เงินโจทก์เมื่อโจทก์ถอนฟ้อง และเป็นบันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 และมิได้เป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาโดยตรง ซึ่งจำเลยมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
of 7