พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-หน้าที่ธนาคารจ่ายเช็ค-ความรับผิดข้าราชการ-ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: คำพิพากษาคดีอาญาผูกพันโจทก์ในคดีแพ่ง
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 8 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่ 8 เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่ 7 จำเลยที่ 8 จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้
จำเลยที่ 7 เป็นธนาคาร มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงินให้ และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่ 7 ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา 992 จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 7 จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงิน เช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ-ระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเช่นที่จะพึงปฏิบัติก็นับว่าเป็นการ-เพียงพอแล้ว จำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ลูกจ้างของจำเลยที่ 7 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 1 ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่ 7 จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้
พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์-ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงาน-อัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสาม จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยที่ 7 เป็นธนาคาร มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงินให้ และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่ 7 ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา 992 จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 7 จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงิน เช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ-ระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเช่นที่จะพึงปฏิบัติก็นับว่าเป็นการ-เพียงพอแล้ว จำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ลูกจ้างของจำเลยที่ 7 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 1 ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่ 7 จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้
พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์-ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงาน-อัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสาม จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากเช็คที่ถูกนำไปขึ้นเงินโดยมีการลงลายมือชื่อถูกต้อง และไม่มีเหตุโต้แย้ง
จำเลยที่8เป็นสาขาของจำเลยที่7โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ จำเลยที่1ที่2ที่3เป็นข้าราชการของโจทก์มีหน้าที่ต้องนำเช็คสั่งจ่ายในนามของจำเลยทั้งสามไปขอเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่8ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่7และนำเงินไปมอบโจทก์จำเลยทั้งสามได้ดูลายมือชื่อด้านหลังเช็คและไปขอเบิกเงินจากจำเลยที่8จำเลยที่11พนักงานของจำเลยที่7ได้ตรวจดูบัตรประจำตัวของจำเลยที่1และที่3จำเลยที่10ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีได้ตรวจดูข้อความในเช็คลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายกับผู้รับเงินและเห็นว่าถูกต้องตลอดจนไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ทำให้จำเลยที่7หมดหน้าที่และอำนาจที่จะจ่ายเงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา992จำเลยที่10จึงอนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่1ไปถือว่าจำเลยที่9ถึงที่11ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วแม้จำเลยที่1จะยักยอกเงินไปแต่ความเสียหายของโจทก์ก็มิใช่เพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่7ที่9ถึงที่11 จำเลยที่1ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์คดีส่วนแพ่งซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์จึงต้องห้ามมิให้โจทก์นำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6679/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้ผู้มอบอำนาจลาออก และการเรียกเก็บเช็คจากผู้ล้มละลายโดยรู้อยู่แล้วถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ขณะที่ ต. ลงชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ซ.ฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นต. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แม้ภายหลัง ต. จะลาออกหนังสือมอบอำนาจนั้นคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เหตุที่ ต. พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ หาได้ทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามไปไม่ ท. ทราบว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้สั่งจ่ายเด็ดขาดก่อนที่จะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ เมื่อ ท.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยทราบ จึงถือว่าจำเลยทราบด้วย เมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยต้องนำเช็คไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27,91การที่จำเลยนำเช็คของผู้สั่งจ่ายไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ทั้งที่รู้อยู่ว่าผู้สั่งจ่ายถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้างความไม่สุจริตของตนมาเป็นเหตุที่จะไม่คืนเงินตามเช็คที่ได้รับจากโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดหน้าที่ธนาคารเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คเสียชีวิต ผู้ทรงเช็คไม่ต้องเรียกเก็บเงินก่อน
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คตาย อำนาจและหน้าที่ของธนาคารซึ่งใช้เงินตามเช็คสิ้นสุดลงเมื่อธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตาย ผู้ทรงเช็คจึงไม่ต้องนำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารอีก กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าผู้ทรงเช็คจะต้องนำเช็คเรียกเก็บเงินจากธนาคารเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 แม้จะถือว่าการนำเช็คไปยื่นต่อธนาคารก่อนกำหนดวันสั่งจ่ายเงินเป็นการมิชอบ ก็หาทำให้ผู้สลักหลังพ้นความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต: ธนาคารไม่ต้องจ่ายเงิน ผู้ทรงเช็คไม่ต้องเรียกเก็บเงินก่อนกำหนด
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คตาย อำนาจและหน้าที่ของธนาคารซึ่งใช้เงินตามเช็คสิ้นสุดลงเมื่อธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตาย ผู้ทรงเช็คจึงไม่ต้องนำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารอีก กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าผู้ทรงเช็คจะต้องนำเช็คเรียกเก็บเงินจากธนาคารเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990แม้จะถือว่าการนำเช็คไปยื่นต่อธนาคารก่อนกำหนดวันสั่งจ่ายเงินเป็นการมิชอบ ก็หาทำให้ผู้สลักหลังพ้นความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเช็คหลังหักโอนเงินแล้ว ธนาคารต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็ค การตัดยอดเงินเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ผู้สั่งจ่ายขออายัดเช็คหมาย จ.3 หลังจากธนาคารจำเลยที่ 2ทำการหักโอนเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์เสร็จสิ้นแล้วอันถือได้ว่ามีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว ธนาคารจำเลยที่ 2จึงไม่สมควรรับการอายัดของผู้สั่งจ่าย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 รับการอายัดของผู้สั่งจ่ายแล้วโอนเงินจากบัญชีของโจทก์กลับคืนไปยังบัญชีของผู้สั่งจ่าย ย่อมเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย ประมวลระเบียบปฏิบัติงานธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นระเบียบภายในของธนาคารจำเลย ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 เป็นเรื่องที่ธนาคารยังมิได้มีการใช้เงินตามเช็คหรือหักโอนบัญชีตามเช็ค จึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้ ทั้งกรณีตามคดีนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 991 ด้วย และเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คหมาย จ.3 แม้ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คหมาย จ.19 ให้โจทก์อีกแต่ก็ปรากฏว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คหมาย จ.19 ไม่ได้ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดกรณีตามเช็คหมาย จ.3 ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายแลกเปลี่ยนเช็คจากเช็คหมายจ.3 มาเป็นเช็คหมาย จ.19 แล้ว โจทก์ทราบดีว่าได้จ่ายเงินเกินยอดเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีของโจทก์ไม่มีเงินพอจ่ายแล้วแต่โจทก์ก็ยังสั่งจ่ายเช็คอีก เมื่อธนาคารจำเลยที่2 ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะยอดเงินตามบัญชีของโจทก์สูงเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเช็คหลังการหักบัญชีสำเร็จ และความรับผิดของธนาคารต่อการจ่ายเงินตามเช็ค
ผู้สั่งจ่ายขออายัดเช็คหมาย จ.3 หลังจากธนาคารจำเลยที่ 2 ทำการหักโอนเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว อันถือได้ว่ามีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว ธนาคารจำเลยที่ 2 จึงไม่สมควรรับการอายัดของผู้สั่งจ่าย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 รับการอายัดของผู้สั่งจ่าย แล้วโอนเงินจากบัญชีของโจทก์กลับคืนไปยังบัญชีของผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลระเบียบปฏิบัติงานธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นระเบียบภายในของธนาคารจำเลย ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 เป็นเรื่องที่ธนาคารยังมิได้มีการใช้เงินตามเช็คหรือหักโอนบัญชีตามเช็คจึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้ ทั้งกรณีตามคดีนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 991 ด้วย และเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คหมาย จ.3 แม้ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คหมาย จ.19 ให้โจทก์อีกแต่ก็ปรากฏว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คหมาย จ.19 ไม่ได้ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดกรณีตามเช็คหมาย จ.3 ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายแลกเปลี่ยนเช็คจากเช็คหมายจ.3 มาเป็นเช็คหมาย จ.19 แล้ว
โจทก์ทราบดีว่าได้จ่ายเงินเกินยอดเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีของโจทก์ไม่มีเงินพอจ่ายแล้วแต่โจทก์ก็ยังสั่งจ่ายเช็คอีก เมื่อธนาคารจำเลยที่ 2 ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะยอดเงินตามบัญชีของโจทก์สูงเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจากจำเลย
ประมวลระเบียบปฏิบัติงานธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นระเบียบภายในของธนาคารจำเลย ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 เป็นเรื่องที่ธนาคารยังมิได้มีการใช้เงินตามเช็คหรือหักโอนบัญชีตามเช็คจึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้ ทั้งกรณีตามคดีนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 991 ด้วย และเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คหมาย จ.3 แม้ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คหมาย จ.19 ให้โจทก์อีกแต่ก็ปรากฏว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คหมาย จ.19 ไม่ได้ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดกรณีตามเช็คหมาย จ.3 ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายแลกเปลี่ยนเช็คจากเช็คหมายจ.3 มาเป็นเช็คหมาย จ.19 แล้ว
โจทก์ทราบดีว่าได้จ่ายเงินเกินยอดเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีของโจทก์ไม่มีเงินพอจ่ายแล้วแต่โจทก์ก็ยังสั่งจ่ายเช็คอีก เมื่อธนาคารจำเลยที่ 2 ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะยอดเงินตามบัญชีของโจทก์สูงเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารงดจ่ายเช็คแล้วจ่ายภายหลัง: ความรับผิดในความเสียหาย
จำเลยมีหนังสือแจ้งธนาคารโจทก์สาขาให้งดจ่ายเงินตามเช็ค13 ฉบับ ธนาคารฯ ได้ปฏิบัติตามคำสั่งงดจ่ายเงิน แต่ต่อมาได้จ่ายเงินตามเช็คไป 3 ฉบับ โดยฝ่าฝืนคำสั่งขอให้งดจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ ธนาคารโจทก์ต้องชดใช้เงินจำนวนนี้ให้จำเลยพร้อมค่าเสียหายนับแต่วันจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดวันสั่งจ่ายเช็คหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต และความรับผิดของผู้รับอาวัล
การจดวันสั่งจ่าย "ตามที่ถูกต้องแท้จริง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบด้วยมาตรา 989 หมายถึงวันที่ผู้ทรงเช็คเห็นสมควรที่จะจดหรือกรอกลงในเช็คซึ่งผู้ทรงมีสิทธิกระทำได้โดยพลการ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ใดแจ้งให้จด ส่วนคำว่า'ทำการโดยสุจริต' นั้นกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนทำการโดยสุจริตตามนัยมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากจำเลยหรือผู้ใดอ้างว่าการจดหรือกรอกวันสั่งจ่ายโดยไม่สุจริต ผู้กล่าวอ้างต้องระบุให้ชัดแจ้งถึงเหตุที่ไม่สุจริตและมีหน้าที่นำสืบด้วย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจดวันสั่งจ่ายลงในเช็คภายหลังจากทราบว่าผู้สั่งจ่ายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าโจทก์ทำการโดยสุจริต
ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังถึงแก่ความตาย บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินหรือเช็คยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วเงินหรือเช็คนั้น
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คถึงแก่ความตาย ผู้ทรงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้ 2 วิธีคือ 1. นำเช็คไปยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามเช็คถ้าธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตายก็จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามมาตรา 992(2) เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกตลอดจนมีสิทธิฟ้องผู้สลักหลังเช็คด้วย หรือ 2. ผู้ทรงมีสิทธิทวงถามให้ชำระเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกและผู้สลักหลังได้เลย ถ้าผู้ถูกทวงถามไม่ชำระเงินตามเช็ค ผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้โดยไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปยื่นหรือเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามมาตรา 990(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1003/2524)
แม้จำเลยจะได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่จำเลยมิได้ขอให้ศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อวินิจฉัย ถือว่าจำเลยสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้อนี้แล้ว และศาลก็ไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจดวันสั่งจ่ายลงในเช็คภายหลังจากทราบว่าผู้สั่งจ่ายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าโจทก์ทำการโดยสุจริต
ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังถึงแก่ความตาย บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินหรือเช็คยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วเงินหรือเช็คนั้น
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คถึงแก่ความตาย ผู้ทรงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้ 2 วิธีคือ 1. นำเช็คไปยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามเช็คถ้าธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตายก็จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามมาตรา 992(2) เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกตลอดจนมีสิทธิฟ้องผู้สลักหลังเช็คด้วย หรือ 2. ผู้ทรงมีสิทธิทวงถามให้ชำระเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกและผู้สลักหลังได้เลย ถ้าผู้ถูกทวงถามไม่ชำระเงินตามเช็ค ผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้โดยไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปยื่นหรือเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามมาตรา 990(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1003/2524)
แม้จำเลยจะได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่จำเลยมิได้ขอให้ศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อวินิจฉัย ถือว่าจำเลยสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้อนี้แล้ว และศาลก็ไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย