คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 992

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดวันสั่งจ่ายเช็คหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต และความรับผิดของผู้รับอาวัล
การจดวันสั่งจ่าย 'ตามที่ถูกต้องแท้จริง' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบด้วยมาตรา 989หมายถึงวันที่ผู้ทรงเช็คเห็นสมควรที่จะจดหรือกรอกลงในเช็คซึ่งผู้ทรงมีสิทธิกระทำได้โดยพลการ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ใดแจ้งให้จด ส่วนคำว่า'ทำการโดยสุจริต' นั้น กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนทำการโดยสุจริตตาม นัยมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากจำเลยหรือผู้ใดอ้างว่าการจดหรือกรอกวันสั่งจ่ายโดยไม่สุจริตผู้กล่าวอ้างต้องระบุให้ชัดแจ้งถึงเหตุที่ไม่สุจริต และมีหน้าที่นำสืบด้วย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจดวันสั่งจ่ายลงในเช็คภายหลังจากทราบว่าผู้สั่งจ่ายถึงแก่ความตายถือได้ว่าโจทก์ทำการโดยสุจริต
ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังถึงแก่ความตายบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินหรือเช็คยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วเงินหรือเช็คนั้น
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คถึงแก่ความตาย ผู้ทรงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้ 2 วิธีคือ1. นำเช็คไปยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามเช็คถ้าธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตายก็จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามมาตรา 992(2) เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกตลอดจนมีสิทธิฟ้องผู้สลักหลังเช็คด้วย หรือ 2. ผู้ทรงมีสิทธิทวงถามให้ชำระเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกและผู้สลักหลังได้เลยถ้าผู้ถูกทวงถามไม่ชำระเงินตามเช็ค ผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้โดยไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปยื่นหรือเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามมาตรา 990 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1003/2524)
แม้จำเลยจะได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแต่จำเลยมิได้ขอให้ศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อวินิจฉัยถือว่าจำเลยสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้อนี้แล้วและศาลก็ไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ทรงเช็คเมื่อผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต และการโต้แย้งหนี้โดยผู้จัดการมรดก
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 992 ได้บัญญัติถึงหน้าที่และอำนาจของธนาคารซึ่งจะใช้เงินตามเช็คอันเบิกแก่ตนนั้นว่าเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย เมื่อ ส. ผู้สั่งจ่ายตายโจทก์ในฐานะผู้ทรงซึ่งทราบอำนาจหน้าที่ของธนาคารตามข้อกฎหมายดังกล่าว จึงไม่จำต้องนำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารเสียก่อนกรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 990เมื่อ ส. ตายบรรดาทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ย่อมตกได้แก่ทายาทตามมาตรา1599,1600 จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ได้รับการบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินตามเช็คที่ ส. เป็นผู้สั่งจ่ายให้แก่โจทก์แล้วเพิกเฉยถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้เงินดังกล่าวได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวัลตั๋วแลกเงิน: ผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้, สิทธิสั่งห้ามการจ่ายเงินไม่มีผล
โจทก์ออกตั๋วแลกเงินสั่งสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 หรือตามคำสั่ง โดยสาขาธนาคารของจำเลยที่ 3 ผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วแลกเงินใต้ข้อความว่า "เป็นอาวัลค้ำประกันผู้สั่งจ่าย" ต้องถือว่าการลงลายมือชื่อของสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นอาวัล และผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 938 วรรคสองตอนสุดท้าย
มาตรา 939 วรรคสามที่บัญญัติว่า "อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือสั่งจ่าย" นั้นหมายความว่า ถ้าผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วเงินอย่างเดียวโดยไม่มีถ้อยสำนวนตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง กฎหมายจึงไม่ให้ถือว่าเป็นคำรับอาวัล เพราะการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นการรับรองการจ่ายเงินตามมาตรา 931 อยู่แล้ว หากมาตรา 939 วรรคสามไม่ยกเว้นไว้ก็จะเป็นทั้งคำรับรองการจ่ายเงินและคำรับอาวัลซ้ำกัน ไม่อาจทราบได้ว่าลงลายมือชื่อในฐานะใด
สาขาธนาคารจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับอาวัลต้องบังคับตามมาตรา 9401คือจำเลยที่ 3 มีความผูกพันอย่าเดียวกับโจทก์ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามตั๋วเงินซึ่งสาขาของตนรับอาวัลจึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมาย โจทก์ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจสั่งห้ามจำเลยที่ 3 จ่ายเงิน
อำนาจสั่งห้ามตามมาตรา 992 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเช็คโดยเฉพาะจะนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวัลตั๋วแลกเงิน: การระบุสถานะผู้รับอาวัลและขอบเขตอำนาจของผู้สั่งจ่าย
โจทก์ออกตั๋วแลกเงินสั่งสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 หรือตามคำสั่ง โดยสาขาธนาคารของจำเลยที่ 3 ผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วแลกเงินใต้ข้อความว่า 'เป็นอาวัลค้ำประกันผู้สั่งจ่าย' ต้องถือว่าการลงลายมือชื่อของสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นอาวัล และผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 938 วรรคสองตอนสุดท้าย
มาตรา 939 วรรคสามที่บัญญัติว่า 'อนึ่งเพียงแต่ลงลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย' นั้นหมายความว่า ถ้าผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วเงินอย่างเดียวโดยไม่มีถ้อยคำสำนวนตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง กฎหมายจึงไม่ให้ถือว่าเป็นคำรับอาวัล เพราะการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นการรับรองการจ่ายเงินตามมาตรา 931 อยู่แล้ว หากมาตรา939 วรรคสามไม่ยกเว้นไว้ก็จะเป็นทั้งคำรับรองการจ่ายเงินและคำรับอาวัลซ้ำกัน ไม่อาจทราบได้ว่าลงลายมือชื่อในฐานะใด
สาขาธนาคารจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับอาวัลต้องบังคับตามมาตรา 940 คือจำเลยที่ 3 มีความผูกพันอย่างเดียวกับโจทก์ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินซึ่งสาขาของตนรับอาวัลจึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมาย โจทก์ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจสั่งห้ามจำเลยที่ 3 จ่ายเงิน
อำนาจสั่งห้ามตามมาตรา 992 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเช็คโดยเฉพาะจะนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำจำนองก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และมูลหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกัน
ลูกหนี้ (จำเลย) ได้มอบอำนาจให้เจ้าหนี้นำที่ดิน 6 โฉนดไปทำสัญญาจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้นำที่ดินทั้ง 6 โฉนดไปทำจำนองในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ โดยได้จดทะเบียนจำนองเสร็จเรียบร้อยในเดียวกันทั้ง 6 โฉนดก่อนสิ้นเวลาราชการในวันนั้น เมื่อไม่มีพยานฝ่ายเจ้าหนี้ปากใดยืนยันว่าได้ทำจำนองเสร็จก่อนเที่ยงวันหรือก่อนเวลา 13.30 น. อันเป็นเวลาที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ กรณีฟังไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ได้ทำจำนองเสร็จก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงจะถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน มีสิทธิจำนองเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 95 ไม่ได้
ลูกหนี้ออกเช็คสั่งให้ธนาคารเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จ่ายเงินให้แก่บริษัท อ. โดยลงวันที่ในเช็ควันที่ 12 ธันวาคม 2517 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ธนาคารเจ้าหนี้จ่ายเงินตามเช็คนั้นให้แก่บริษัท อ.ไปในวันดังกล่าว ดังนี้ มูลแห่งหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระจึงเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกหนี้ได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แม้เจ้าหนี้จะจ่ายเงินตามเช็คไปโดยสุจริตและไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เจ้าหนี้ก็จะขอรับชำระหนี้ในเงินจำนวนดังกล่าวไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำจำนองก่อน/หลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการจ่ายเช็คหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการขอรับชำระหนี้
ลูกหนี้ (จำเลย) ได้มอบอำนาจให้เจ้าหนี้นำที่ดิน 6 โฉนดไปทำสัญญาจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้นำที่ดินทั้ง 6 โฉนดไปทำจำนองในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ โดยได้จดทะเบียนจำนองเสร็จเรียบร้อยในเดียวกันทั้ง 6 โฉนดก่อนสิ้นเวลาราชการในวันนั้น เมื่อไม่มีพยานฝ่ายเจ้าหนี้ปากใดยื่นยันว่าได้ทำจำนองเสร็จก่อนเที่ยงวันหรือก่อนเวลา 13.30 น. อันเป็นเวลาที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้กรณีฟังไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ได้ทำจำนองเสร็จก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงจะถือว่า เป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิจำนองเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 95 ไม่ได้
ลูกหนี้ออกเช็คสั่งให้ธนาคารเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จ่ายเงินให้แก่บริษัท อ. โดยลงวันที่ในเช็ควันที่ 12 ธันวาคม 2517 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ธนาคารเจ้าหนี้จ่ายเงินตามเช็คนั้นให้แก่บริษัท อ.ไปในวันดังกล่าว ดังนี้ มูลแห่งหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระจึงเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกหนี้ได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วแม้เจ้าหนี้จะจ่ายเงินตามเช็คไปโดยสุจริตและไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เจ้าหนี้ก็จะขอรับชำระหนี้ในเงินจำนวนดังกล่าวไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีผลเสมือนเงินฝาก ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากธนาคารไม่จ่ายเงินตามคำสั่งห้าม
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคาร แม้ภายหลังจำเลยไม่มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีเลยก็ตาม แต่จำเลยก็ยังออกเช็คสั่งจ่ายเงินไม่เกินสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงเท่ากับเงินที่จำเลยฝากไว้ในบัญชีของจำเลยนั่นเอง การที่ธนาคารไม่จ่ายเงินตามเช็คของจำเลยเพราะจำเลยสั่งห้ามธนาคารไม่ให้จ่าย กรณีจึงไม่ใช่เรื่องจำเลยออกเช็คโดยในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชี หรือออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในเวลาที่ออกเช็คนั้นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารจ่ายเช็คที่ถูกแก้ไข สุจริต-ประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องรับผิด
เช็คที่ไม่ปรากฎว่ามีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไยเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่น ถ้าธนาคารใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากการประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็ค+ลงวันที่ ๆ ออกเช็คแต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ม.991,992, ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารจ่ายเช็คที่มีการแก้ไข หากสุจริตและไม่มีประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องรับผิด
เช็คที่ไม่ปรากฏว่ามีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่น ถ้าธนาคารใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากการประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่าย เช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็คต้องลงวันที่ ที่ออกเช็ค แต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 991,992 ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ
of 2