คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 17 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิในการจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ เอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยดำเนินการในเรื่องคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธคำฟ้องที่ว่าจำเลยตั้ง ป.เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจในเรื่องนี้ จึงต้องฟังดังที่โจทก์ฟ้อง
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยโดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทน ตามที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป.ตัวแทนของจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 ดังนั้น โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป.ตัวแทนของจำเลยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
กรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เช่นเดียวกันถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์แล้วว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 17 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ ดังนั้นเอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยมีสิทธิเด็ดขาดในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้แนบมาท้ายฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่ในคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องดังกล่าวจึงต้องฟังดัง ที่โจทก์ฟ้อง จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจทำการแทนจำเลยในเหตุแห่งคดีนี้ โดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป. ตัวแทนจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะ การเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 49 ดังนั้นโจทก์สามารถส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป. ตัวแทนของจำเลย ณ ภูมิลำเนาของ ป.ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) หาใช่กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(3)ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย การที่ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์ก็เนื่องจากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตน ต่อศาลได้ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 17 วรรคแรกประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยสิทธิแม้ยังมิได้จดทะเบียน
การโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้นหาจำต้องมีกฎหมายรับรองสิทธินั้นไว้โดยตรงเสียก่อนอย่างใดไม่ เมื่อผู้ใดโต้แย้งผู้นั้นก็อาจมาขอความคุ้มครองจากศาลได้เสมอเช่นในกรณีขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อมีข้อโต้แย้งว่าใครจะมีสิทธิดีกว่าในการที่จะจดทะเบียนก่อน ดังนี้ศาลก็ต้องรับวินิจฉัยให้ อย่าว่าแต่ในระหว่างผู้ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วยกันเลย เจ้าของเครื่องหมายการค้าอันแท้จริงแม้จะยังมิได้จดทะเบียน จะยกขึ้นต่อสู้กับผู้ที่จดทะเบียนแล้วในศาลก็ยังได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า
ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน (อ้างฎีกาที่ 277/2496)